การโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่น

dc.contributor.advisorบรรเจิด สิงคะเนติ
dc.contributor.authorสิริมา นองมณี
dc.date.accessioned2023-01-12T07:58:08Z
dc.date.available2023-01-12T07:58:08Z
dc.date.issued2016
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงภารกิจอำนาจหน้าที่ของตำรวจตามหลักสากล 2) เพื่อศึกษาถึงการจัดองค์การในการบริหารงานและการจัดภารกิจสอบสวนของตำรวจใน ต่างประเทศ 3) เพื่อศึกษาถึงการจัดองค์การในการบริหารงานและการจัดภารกิจสอบสวนของตำรวจ ในประเทศไทย และ 4) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจ หลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่น วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ด้วยการศึกษาค้นคว้าจาก ตำรา เอกสารทางวิชาการ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ.2547 พระราช กฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ กฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างส่วนราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ บทความ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาทำให้ทราบ ว่าอำนาจหน้าที่ของตำรวจตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มีอยู่อย่าง กว้างขวางไม่ชัดเจน มีภารกิจมากมายที่ต้องปฏิบัติ มีทั้งหน้าที่หลักในการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม และยังเข้าไปมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับกิจกรรม หลักที่สำคัญของรัฐแทบทุกด้านนับตั้งแต่ การจัดเก็บภาษี การศุลกากร การทหาร การสื่อสาร การบิน การศึกษา การพัฒนาชุมชน การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์ และการมหรสพ เป็นต้น อันเป็นผลพวง มาจากพัฒนาการของตำรวจในอดีตที่รับการฝากงานจากหน่วยงานราชการอื่นให้ปฏิบัติหน้าที่แทน ดังนั้นลักษณะงานที่มีการกำหนดโทษและเป็นการกระทำความผิดทางอาญาทุกประเภทที่เชื่อมโยงกับ เรื่องการสอบสวนจึงได้กลายมาเป็นงานของตำรวจในการดำเนินการเนื่องจากความไม่พร้อมของ หน่วยงานราชการเจ้าของเรื่อง จึงก่อให้เกิดปัญหางานล้นมือและเกิดวิกฤตความล่าช้าของงาน สอบสวนที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นจึงควรทำการปรับปรุงขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจหลักของตำรวจตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจ แห่งชาติ พ.ศ.2547 ให้มีความชัดเจน และพิจารณาดำเนินการถ่ายโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจ หลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่นกลับไปดำเนินการแทน แต่ไม่ตัดอำนาจ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ อย่างตรงจุด เพราะจะเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของตำรวจ และเป็นการสร้างความ เชี่ยวชาญเฉพาะในการบังคับใช้กฎหมาย อันเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมได้ อย่างเป็นระบบอีกด้วยth
dc.format.extent303 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2016.165
dc.identifier.otherb198260th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6143
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการบริหารงานตำรวจth
dc.subject.otherสำนักงานตำรวจแห่งชาติ -- การจัดการth
dc.titleการโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่นth
dc.title.alternativeTransfer of authority of investigations other than the principal mission of the Royal Thai Police to other government agenciesth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b198260.pdf
Size:
6.18 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections