ปัญหาการเลี้ยงดูเด็กและการจัดสวัสดิการชุมชนในเมือง: ศึกษากรณี 4 ชุมชนในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร

dc.contributor.advisorสมศักดิ์ สามัคคีธรรมth
dc.contributor.authorศรีหทัย วาดวารีth
dc.date.accessioned2022-06-27T03:17:11Z
dc.date.available2022-06-27T03:17:11Z
dc.date.issued2017th
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการเลี้ยงดูเด็กและการจัดสวัสดิการเด็กในชุมชนเมือง 4 ชุมชน 2) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงดูเด็กของบิดามารดาในชุมชนเมือง 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการเด็กที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของคนในชุมชนเมือง ด้วยวิธีวิจัยแบบผสมทั้งวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูลครอบครัวที่มีเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 4 ปี ในภาพรวมของทั้ง 4 ชุมชน และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเป็นวิธีหลัก โดยการสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญทั้ง 4 ชุมชน จำนวนทั้งสิ้น 26 คน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการเลี้ยงดูเด็กที่มีข้อจำกัดในอนาคต คือ บ้านรับเลี้ยงเด็กที่บางส่วนเริ่มปิดตัวลงไป เพราะค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กมีราคาสูง อีกทั้งอัตราการเกิดของเด็กในชุมชนที่ลดลง และการเลี้ยงดูเด็กโดยคนในครอบครัว ไม่สามารถตอบสนองข้อจำกัดของครอบครัวในชุมชนเมืองที่ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัวเป็นรูปแบบครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ส่วนรูปแบบการเลี้ยงดูเด็กที่มีความเหมาะสมกับครอบครัวในชุมชนเมือง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน มีอาคารสถานที่ที่มั่นคงเป็นสัดส่วนและค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กมีราคาถูก เพราะมีการดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการชุมชน ทำให้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ แต่มีข้อจำกัดด้านเวลาในการรับส่งเด็กยังไม่สอดคล้องกับการทำงานของผู้ปกครองในชุมชนเมืองและยังขาดบุคลากรที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยมาเป็นผู้นำการพัฒนา และบ้านร่วมพัฒนาเด็ก มีการเลี้ยงดูเด็กจำนวนมาก เพื่อให้มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กในราคาถูก ซึ่งรองรับต่อผู้ปกครองภายในชุมชนที่มีรายได้น้อย แต่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่คับแคบและไม่เป็นสัดส่วน ไม่สามารถจดทะเบียนสถานรับเลี้ยงเด็กอย่างเป็นทางการได้ อีกทั้งหน่วยงานและองค์กรที่มีความต้องการให้ความช่วยเหลือเข้าถึงได้ยาก การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะให้ส่งเสริมเนอร์สเซอรี่ชุมชนที่รวบรวมข้อดีและลดข้อจำกัดของรูปแบบการเลี้ยงดูเด็กในแต่ละชุมชน คือ เนอร์สเซอรี่ชุมชนที่มีการรับเลี้ยงเด็กเล็ก ดำเนินงานภายใต้การก ากับดูแลของคณะกรรมการชุมชน ร่วมประสาน ติดตามและสร้างมาตรฐานการดำเนินงานที่ดี ยืดหยุ่นระยะเวลาการดำเนินงานให้รองรับกับการทำงานของผู้ปกครองในชุมชนเมือง มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กในราคาถูก อีกทั้งการเข้ามามีส่วนร่วมของชมรมผู้สูงอายุที่สมัครใจเลี้ยงดูเด็กเพื่อหารายได้เสริม และเป็นการสร้างคุณค่าแก่ผู้สูงอายุในการเลี้ยงดูบุตรหลานภายในชุมชนให้เติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพth
dc.format.extent199 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.165
dc.identifier.otherb199277th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5929th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการเลี้ยงดูเด็กth
dc.titleปัญหาการเลี้ยงดูเด็กและการจัดสวัสดิการชุมชนในเมือง: ศึกษากรณี 4 ชุมชนในเขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeProblems of child rearing and community welfare management: case studies of four communities in Wangthonglang District, Bangkokth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b199277.pdf
Size:
5.85 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections