การศึกษาเพื่อวิเคราะห์ปัญหาการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ เปรียบเทียบกับร่างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

dc.contributor.advisorพลภัทร บุราคม, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorภาวดี เกิดทุ่งยั้งth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:17:21Z
dc.date.available2014-05-05T09:17:21Z
dc.date.issued2012th
dc.date.issuedBE2555th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012th
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาเพื่อวิเคราะห์ปัญหาการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษี บำรุงท้องที่ เปรียบเทียบกับร่างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อ ศึกษาถึงลักษณะสำคัญของภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ ว่ามีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร 2) เพื่อศึกษาถึงลักษณะสำคัญของร่างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเป็นร่างภาษีทรัพย์สินฉบับใหม่ ที่จะนำมาใช้แทนภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ ว่ามีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร และ 3) เพื่อสรุปหาแนวทางการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยใช้การ วิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสาร ผลจากการวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ภาษีที่ดี อันประกอบด้วย หลักความแน่นอน หลักความ เป็นธรรม หลักการอำนวยรายได้ และหลักความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ พบว่า ภาษีโรงเรือนและ ที่ดินที่จัดเก็บตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475และภาษีบำรุงท้องที่ที่จัดเก็บ ตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มีลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ภาษีที่ดี และ จากการวิเคราะห์ภายใต้หลักแกณฑ์ดียวกัน พบว่า ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... มีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ภาษีที่ดี ที่สามารถแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีภายใต้ พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508ได้ ทั้งนี้ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... ยังมีข้อสังเกตบางประการที่ นำไปสู่การเสนอแนวทางในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีข้อสรุปว่า ฐานภาษีและ ทรัพย์สินที่จัดเก็บ คือ ฐานภาษีและทรัพย์สินตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 21และมาตรา 6 แห่งร่าง พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพ.ศ. .... (ฉบับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553) ในส่วนอัตรา ภาษี มีข้อเสนอ 3 ประการคือ 1) ควรเพิ่มอัตราภาษีส าหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประกอบการ เชิงพาณิชย์ ให้มีอัตราสูงขึ้น 2) ควรกำหนดอัตราภาษีในแต่ละลักษณะการใช้ประโยชน์ให้เป็น อัตราภาษีก้าวหน้าตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และ 3) ยกเลิกเพดานภาษีส าหรับที่ดินที่ทิ้ง ไว้ว่างเปล่าและกำหนดอัตราภาษีก้าวหน้าตามขนาดการถือครองที่ดิน และในส่วนข้อยกเว้นข้อ ลดหย่อนภาษี ควรมีการยกเว้นภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้อยู่อาศัย ที่มีมูลค่าของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยเกณฑ์มูลค่าทรัพย์สินที่กำหนดต้องมีความ แตกต่างกันตามความเจริญของแต่ละท้องที่th
dc.format.extent12, 217 แผ่น ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2012.24
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1100th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccHJ 4165 ภ27 2012th
dc.subject.otherภาษีโรงเรือนและที่ดินth
dc.subject.otherภาษีบำรุงท้องที่th
dc.titleการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ปัญหาการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ เปรียบเทียบกับร่างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างth
dc.title.alternativeStudy analysis of the problem about building and land tax and local development tax compare with draft land and building taxth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b176601.pdf
Size:
3.32 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections