ความสัมพันธ์ระหว่างกรมศุลกากรและการท่าเรือแห่งประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการนำสินค้าเข้า ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ

dc.contributor.advisorประทาน คงฤทธิศึกษากร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorกริช อัมโภชน์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:17:25Z
dc.date.available2014-05-05T09:17:25Z
dc.date.issued1968th
dc.date.issuedBE2511th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.th
dc.description.abstractเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกรมศุลกากรและการท่าเรือแห่งประเทศเกี่ยวกับการนำสินค้าเข้า ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ ศึกษาหลักการและวิธีปฏิบัติรวมทั้งการประสานงานเกี่ยวกับการนำสินค้าเข้า ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐ ซึ่งหน่วยงานทั้งสองมีหน้าที่รับผิดชอบประการหนึ่ง และผลประโยชน์ทางด้านเอกชนผู้เกี่ยวข้องในการนำสินค้าเข้า ที่จะได้รับจากหน่วยงานทั้งสองฝ่ายในลักษณะของความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และความเป็นธรรม เป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการพิจารณาอีกประการหนึ่ง.th
dc.description.abstractจากผลการศึกษาปรากฏว่าความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานหรือการบริหารงานเกี่ยวกับการนำสินค้าเข้า ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ ระหว่างกรมศุลกากรและการท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นความสัมพันธ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละองค์การ หรือรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ดังนั้นเพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยกรรมวิธีในการประสานงานให้ถูกต้อง ซึ่งผู้เขียนก็ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ คือth
dc.description.abstract1. ในการปฏิบัติงานในสายที่หน่วยงานทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกันอยู่เสมอ แต่ละหน่วยงานต้องไม่เพ่งเล็งถึงผลของการปฏิบัติงานภายในสายงานของตนแต่ประการเดียว ควรคำนึงถึงผลกระทบกระเทือนอันอาจเกิดขึ้นกับการปฏิบัติงานของอีกหน่วยหนึ่งด้วย.th
dc.description.abstract2. ทั้งกรมศุลกากรและการท่าเรือแห่งประเทศไทย ควรกำหนดวัตถุประสงค์หรือแนวนโยบายในการบริหารงานเกี่ยวกับการนำสินค้าเข้าในส่วนหน่วยงานทั้งสองร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป.th
dc.description.abstract3. ทั้งกรมศุลกากรและการท่าเรือฯ ควรจะดำเนินการให้พนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันขององค์การทั้งสอง ได้มีความรู้ความเข้าใจวิธีการปฏิบัติงานของอีกองค์การหนึ่งนอกเหนือจากวิธีปฏิบัติงานในองค์การของตนth
dc.description.abstract4. ควรสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานของทั้งสององค์การ โดยอาจประชุมซ้อมความเข้าใจในการปฏิบัติงานร่วมกัน หรือโดยการพบปะสังสรรค์กันเป็นการส่วนตัว ฯลฯ.th
dc.description.abstract5. ปัญหาอันเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ควรจะร่วมมือกันแก้ไขโดยเร็ว.th
dc.description.abstract6. บรรดาเอกสารที่หน่วยงานทั้งสองจะต้องใช้ร่วมกัน ควรร่วมกันพิจารณาและกำหนดให้มีขึ้นในลักษณะที่จะอำนวยความสะดวกรวดเร็วแก่การปปฏิบัติงานของทั้งสองฝ่าย.th
dc.description.abstract7. คำสั่ง ระเบียบ หรือข้อบังคับ ซึ่งออกโดยแต่ละฝ่ายนอกจากจะแจ้งให้หน่วยงานภายในทราบแล้ว ควรแจ้งไปยังหน่วยงานของอีกฝ่ายหนึ่งทราบด้วย.th
dc.description.abstract8. ควรจัดทำหนังสือคู่มือพิธีการทางศุลกากร และพิธีการของการท่าเรือฯ เกี่ยวกับการนำสินค้าเข้าทางเรือ ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ ขึ้นth
dc.description.abstract9. เจ้าหน้าที่ประสานงานระหว่างกรมศุลกากรและการท่าเรือฯ และคณะกรรมการอื่น ๆ เกี่ยวกับการนำสินค้าเข้า ควรจะมีอำนาจหน้าที่กว้างขวางพอที่จะดำเนินการหรือแก้ปัญหาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องได้th
dc.description.abstract10. องค์การทั้งสองควรมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับเรือสินค้าต่างประเทศ ตัวแทนบริษัท เจ้าของสินค้าและผู้ออกของ.th
dc.format.extent285 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1114th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectกรมศุลกากรth
dc.subjectการท่าเรือแห่งประเทศไทยth
dc.subject.lccHJ 7287 ก17th
dc.subject.otherการควบคุมสินค้าขาเข้า -- ไทยth
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างกรมศุลกากรและการท่าเรือแห่งประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการนำสินค้าเข้า ณ ท่าเรือกรุงเทพฯth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b8383.pdf
Size:
6.91 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections