แนวทางการจัดการอาคารคลังสินค้าสีเขียว กรณีศึกษา บริษัทผู้ให้บริการด้านการขยายตลาด

dc.contributor.advisorวิสาขา ภู่จินดาth
dc.contributor.authorประไพรศรี บุตรวงค์th
dc.date.accessioned2021-12-13T07:04:25Z
dc.date.available2021-12-13T07:04:25Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเกณฑ์การประเมินอาคารคลังสินค้าสีเขียว และนำเกณฑ์ การประเมินฯ ไปทดลองกับอาคารคลังสินค้าบริษัทผู้ให้บริการด้านการขยายตลาด ซึ่งมีคลังสินค้า ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และพระนครศรีอยุธยา โดยใช้เกณฑ์อาคารเขียว ภาครัฐ (กรณีอาคารเดิม) ของกรมควบคุมมลพิษ เกณฑ์สำนักงานสีเขียว ของกรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม เกณฑ์ความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย สำหรับอาคารระหว่างใช้งาน ของ สถาบันอาคารเขียวไทย และเกณฑ์ LEED 2009 for Existing Buildings: Operations & Maintenance ของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นฐานข้อมูลในการสร้างเกณฑ์อาคารคลังสินค้าสีเขียว และพิจารณา ความเหมาะของเกณฑ์การประเมินฯ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน โดยส่งให้พิจารณา 3 รอบ ตาม เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) รวมทั้งผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ดูแลด้านสิ่งแวดล้อม/ ผู้ดูแลอาคารคลังสินค้าของบริษัทผู้ให้บริการด้านการขยายตลาด ผู้เชี่ยวชาญด้านอาคารคลังสินค้า ของบริษัทเอกชน และผู้เชี่ยวชาญด้านอาคารเขียว/สำนักงานสีเขียว เกี่ยวกับการจัดการอาคาร คลังสินค้า และเกณฑ์การประเมินอาคารคลังสินค้าสีเขียว ซึ่งได้เกณฑ์การประเมินอาคารคลังสินค้า สีเขียวประกอบด้วย 7 หมวด ได้แก่ หมวด 1 การบริหารจัดการให้เป็นอาคารคลังสินค้าสีเขียว หมวด 2 ผังบริเวณและภูมิสถาปัตยกรรม หมวด 3 การใช้น้ำ หมวด 4 พลังงาน หมวด 5 สภาวะ แวดล้อมภายในอาคาร หมวด 6 การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก และหมวด 7 นวัตกรรมเมื่อนำเกณฑ์การประเมินอาคารคลังสินค้าสีเขียวไปประเมินอาคารคลังสินค้าในเครือ บริษัทผู้ให้บริการด้านการขยายตลาด พบว่า อาคารคลังสินค้าทั้ง 10 แห่ง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน อาคารคลังสินค้าสีเขียวเนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์บังคับ ที่ต้องผ่าน (Prerequisite) ที่กำหนดไว้5 ข้อ แนวทางในการจัดการอาคารคลังสินค้าสีเขียว สำหรับบริษัทผู้ให้บริการด้านการขยาย ตลาด ต้องทำการปรับปรุงระบบแสงสว่าง และเสียงในพื้นที่การทำงานให้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดใน กฎกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2549 ทุกจุด และทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงอาหาร หรือห้องน้า ก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก หากผล การตรวจวัดเกินค่าที่กำหนดต้องทำการปรับปรุงแก้ไขให้ผ่านเกณฑ์ก่อนปล่อยออกสู่ภายนอกth
dc.format.extent171 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2016.71
dc.identifier.otherb194275th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5341th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectอาคารสีเขียวth
dc.subject.otherอาคารth
dc.subject.otherคลังสินค้า -- ไทย -- แง่สิ่งแวดล้อมth
dc.titleแนวทางการจัดการอาคารคลังสินค้าสีเขียว กรณีศึกษา บริษัทผู้ให้บริการด้านการขยายตลาดth
dc.title.alternativeGuideline of green warehouse management: the leading market expansion service company case studyth
dc.typetext--thesis--master thesisen
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b194275.pdf
Size:
3.54 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections