การเมืองภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของชุมชนตลาดบ่อบัวอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

dc.contributor.advisorสุวิชา เป้าอารีย์th
dc.contributor.authorกฤศ์ติญญาดา ผาสุขth
dc.date.accessioned2019-06-23T05:22:34Z
dc.date.available2019-06-23T05:22:34Z
dc.date.issued2018th
dc.date.issuedBE2561th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาในประเด็น “การเมืองภาคประชาชน” ของชุมชนตลาดบ่อบัวอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยวัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เพื่อศึกษาปัญหาความทับซ้อนที่เกิดขึ้น การเมืองภาคประชาชน รวมไปถึงการศึกษาถึงผลลัพธ์จากการเมืองภาคประชาชนในพื้นที่ชุมชนตลาดบ่อบัวอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2554 เมื่อบริษัทบ่อบัวพัฒนา ได้ทำการนำคดีกลับมาฟ้องร้องเพื่อการไล่ที่อยู่อาศัยของชาวบ้านในพื้นที่ จนถึงปี พ.ศ. 2560 การศึกษาในครั้งนี้ได้ใช้ “วิธีระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ” ในการศึกษา ผ่านการรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร และการศึกษาภาคสนามอันเป็นข้อมูลได้จากการศึกษาผ่านการสัมภาษณ์ แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ผู้นำชุมชน รวมไปถึงกลุ่มประชากรตัวอย่างในชุมชนตลาดบ่อบัว อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา จากการศึกษาพบว่า ในมุมมองของภาคประชาชนปัญหาการทับซ้อนของพื้นที่ชุมชนบ่อบัวเกิดจากการรถไฟแห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ ความช่วยเหลือ หรือแก้ปัญหาในพื้นที่ชุมชนบ่อบัว ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เกิดปัญหาการสูญเสียกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยของประชาชนในพื้นที่ให้กับกลุ่มนายทุน ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเพิกเฉยในปัญหาดังกล่าวของหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชนเชื่อว่าเป็นผลพวงมาจากปัจจัยด้านความทับซ้อน เชิงอำนาจระหว่างหน่วยงานภาครัฐ รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนายทุนกับการทางรถไฟ แห่งประเทศไทย จากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เกิด “การเมืองภาคประชาชน” ในชุมชนตลาดบ่อบัวผ่านการรวมตัวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมต่อหน่วยงานภาครัฐหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การดำเนินกิจกรรม ทางการเมืองของกลุ่มในช่วงแรกนั้นไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คาดหวังไว้ ส่งผลให้ความเชื่อมั่น ในการรวมตัวกันเพื่อสร้างความสามารถในการต่อรองทางการเมืองของกลุ่มถูกลดทอนลง อย่างไรก็ตามแล้วก็ยังมีประชาชนบางกลุ่มที่ยังคงรวมตัวกันเพื่อเคลื่อนไหวในลักษณะเดิมอยู่ หากพิจารณาแล้วนั้น การเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมในพื้นที่ชุมชนบ่อบัวมีรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบประชาสังคมขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่หรือ New Social Movement เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการสร้างความสามารถในการต้านอำนาจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มนายทุน หาพิจารณาถึงผลลัพธ์ของ “การเมืองภาคประชาชน” ในชุมชนตลาดบ่อบัว เราจะเห็นได้ว่า ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อให้สามารถบรรลุผลตามที่คาดหวังได้ โดยปัจจัยสำคัญ ที่ก่อให้เกิดความไม่สำเร็จดังกล่าวสืบเนื่องมาจากความแตกต่างเชิงอุดมการณ์ของสมาชิกกลุ่ม ส่งผลให้เกิดการแบ่งกลุ่มต่าง ๆ ทั้งนี้กลุ่มที่ยอมจำนนต่อสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นปัจจัยกำหนดศักยภาพการรวมตัวของกลุ่ม ความสามารถในการต่อรองจากภาครัฐลดลง ประชาชนในพื้นที่ยังคงต้องเผชิญกับสภาพปัญหาภายในพื้นที่ และการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของภาคประชาชนตลาดบ่อบัวยังคงดำเนินต่อไป ด้านข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องภายในพื้นที่ควรรับผิดชอบ และให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชนในฐานะผู้เสียหาย รวมถึงแจ้งให้ทราบถึงอำนาจหน้าที่ และขอบข่าย ในการให้บริการแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง นอกจากนี้กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ควรมีการประนีประนอมและตกลงผลประโยชน์เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย ตามขอบข่ายอำนาจหน้าที่ และสิทธิของรัฐ และประชาชนth
dc.description.abstract          This research reviews “civil politics” for a resolution of an overlapping area, in Tarad Bo Bua community (Bo Bua Market community) of Muang district in Chachoengsao province, in which Bo Bua Pattana limited company brought a case into a court for evicting people in 2001. The main purpose of this study were (1) to delve into the resolution of superimposed zone by means of civil politics, and (2) to examine its consequences between 2001 and 2017.           This paper was a qualitative research which collected data from documents (on desk research), followed by carrying out informal and in-depth interview from municipal officials, community leaders as well as a sample of people in that area.           The results of the study indicated that people’s opinions have an overriding concern about conflict area emanating from the State Railway of Thailand and other competent authorities which have neglected to tackle the problems conspicuously, bringing about loss of people’s property right to reside to a group of investors. The dilemma over the boundary together with intimate relationship between the investors and the competent officer were the main determinants of quiescence. The mentioned problem brought about “Civil Politics” in the Bo Bua community in which people assembled to outcry against the state agency, including the competent authorities. In the first place, it was not successful as expected which undermined confidence among the group in deprecation. Nonetheless, some people have kept movement, which is known as “new social movement” that the movement base on identity of group for politics, profits or culture, in order to safeguard their interest and come to bargaining power against the state as well as the investors. The research found that the major causes of failure in the light of civil politics in Tarad Bo Bua community (Bo Bua Market community) were that they had diverse believes and ideologies which resulted in going separate ways, whilst some of them agreed to surrender their claim to the conflict area voluntarily. These discouraged group integration, leading to cutting off the power of bargain. The people have therefore faced the problem and continued their absorptive activities difficultly. The research suggested that the competent authorities must be serviceable and administer justice to Bo Bua people as a victim, and should declare duties and responsibilities to people virtually. Furthermore, the stakeholders, namely the people and the investors in problematic area ought to compromise and concur mutual benefits justly, along with understanding rights and duties of each other.th
dc.format.extent93 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2018.179
dc.identifier.otherb204531th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4476th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectการเมืองภาคประชาชนth
dc.subjectการเคลื่อนไหวภาคประชาชนth
dc.subjectพื้นที่ทับซ้อนth
dc.subject.otherการมีส่วนร่วมทางการเมือง -- ไทยth
dc.subject.otherการเมือง -- ไทยth
dc.titleการเมืองภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของชุมชนตลาดบ่อบัวอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราth
dc.title.alternativeCivil politics for the resolution of overlapping area in Bo Bua Market Community of Muang District in Chachoengsao Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนาth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b204531.pdf
Size:
2.68 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections