กำลังขวัญในการปฏิบัติงานของครูเทศบาลนครกรุงเทพ

dc.contributor.advisorชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorบุญสิน จตุรพฤกษth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:17:23Z
dc.date.available2014-05-05T09:17:23Z
dc.date.issued1966th
dc.date.issuedBE2509th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.th
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการศึกษากำลังขวัญในการปฏิบัติงานของครูเทศบาลนครกรุงเทพที่โอนมาจากกระทรวงศึกษาธิการครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะสามารถทราบว่าในการเปลี่ยนแปลงสังกัดตัวครูที่โอนมาจากกระทรวงศึกษาธิการ มาขึ้นกับเทศบาล มีกำลังขวัญในการปฏิบัติงานอย่างไร เพื่อที่เทศบาลนครกรุงเทพจะได้นำผลการวิจัยครั้งนี้มาพิจารณาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ถ้ามี และในขณะเดียวกัน เมื่อรัฐบาลจะดำเนินการโอนโรงเรียนประชาบาลไปให้องค์การบริหารส่วนเทศบาลดำเนินการก็จะได้เป็นแนวทางแก้ปัญหาในทำนองเดียวกันที่อาจเกิดขึ้นth
dc.description.abstractการโอนการศึกษาระดับประถมศึกษาในเขตเทศบาลต่าง ๆ จากกระทรวงศึกษาธิการให้เทศบาลดำเนินงาน ก็เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่นและส่งเสริมให้ประชาชนรู้สึกรับผิดชอบในกิจการของท้องถิ่น จากการศึกษาในด้านต่าง ๆ ปรากฏว่ากำลังขวัญในการปฏิบัติงานของครูเทศบาลนครกรุงเทพที่โอนมาจากกระทรวงศึกษาธิการไม่ได้ถูกกระทบกระเทือน ดังจะเห็นได้ว่าในด้านความผูกพันของครูที่มีต่อเทศบาลนครกรุงเทพนั้น ครูส่วนใหญ่รู้สึกว่าฐานะศักดิ์ศรีของการเป็นครูและรายได้เหมือนเดิม ครูส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับนโยบายโอนการศึกษาอยู่แล้ว ส่วนความรู้สึกของครูที่มีต่อการปกครองบังคับบัญชาของเทศบาลนครกรุงเทพส่วนใหญ่ก็เป็นที่พอใจ ต่างรู้สึกว่าผู้บังคับบัญชามีวิธีการทำงานตามแบบประชานิยมอยู่แล้ว ในเรื่องความรู้สึกของครู ที่มีต่อความมั่นคงในหน้าที่การงานก็เช่นกัน ส่วนใหญ่มีความเห็นว่ามีความมั่นคงเช่นเดียวกับเมื่อขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับความก้าวหน้า การทำงานกับเทศบาลนครกรุงเทพก็เหมือนกับทำงานกับกระทรวงศึกษาธิการ.th
dc.description.abstractอย่างไรก็ดีแม้ครูส่วนใหญ่จะไม่รู้สึกกระทบกระเทือนเนื่องจากการโอนสังกัด แต่ยังมีอีกบางส่วนที่มีความเห็นแตกต่าง ฉะนั้นผู้เขียนจึงได้เสนอว่าควรจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงในเรื่องระเบียบและวิธีปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ ของเทศบาลนครกรุงเทพบ้าง และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายต่าง ๆ ก็ควรจะมีการแก้ไข เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ครูเมื่อไปติดต่อในเรื่องต่าง ๆ นอกจากนี้ควรจะได้ปรับปรุงเกี่ยวกับสวัสดิการ โดยเพิ่มให้มากขึ้นและรวมสวัสดิการต่าง ๆ มาอยู่ในหน่วยเดียวกัน ส่วนในเรื่องการปกครองบังคับบัญชา ควรจะได้มีการนำเอาหลักมนุษยสัมพันธ์มาปรับปรุงใช้ให้มากขึ้น สิ่งที่ควรปรับปรุงอีกประการหนึ่งก็คือ ในคณะกรรมการหรือหน่วยงานในระดับต่าง ๆ ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาควรให้ผู้แทนของหน่วยบริหารงานท้องถิ่นและผู้แทนกระทรวงมหาดไทยเข้ามีส่วนร่วมพิจารณาปัญหาด้วย.th
dc.format.extent142 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1106th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectโรงเรียนเทศบาลth
dc.subject.lccLB 2835 บ43th
dc.subject.otherครูth
dc.subject.otherขวัญในการทำงานth
dc.titleกำลังขวัญในการปฏิบัติงานของครูเทศบาลนครกรุงเทพth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b11204.pdf
Size:
4.38 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections