ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ กรณีศึกษา สระเก็บน้ำห้วยเกษียร จังหวัดปราจีนบุรี

dc.contributor.advisorวิสาขา ภู่จินดาth
dc.contributor.authorปิยรัฐ กล่ำทองth
dc.date.accessioned2018-07-18T09:38:30Z
dc.date.available2018-07-18T09:38:30Z
dc.date.issued2017th
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ กรณีศึกษา สระเก็บน้ำห้วยเกษียร จังหวัดปราจีนบุรีโดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ทำการศึกษาคือ ประชาชน และคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ ของตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี การวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโดยการเก็บข้อมูลภาคสนาม และการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการโดยศึกษาพารามิเตอร์ อุณหภูมิ ความขุ่น ความเป็นกรด – เบส ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด การนำไฟฟ้า ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ(DO) ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการย่อยสลายอินทรีย์สารในน้ำ(BOD) ปริมาณไนเตรต และปริมาณคอลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด โดยทำการเก็บตัวอย่างในเดือนธันวาคม 2559 และมีนาคม 2560 และการวิเคราะห์ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ โดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์คือ มูลค่าปัจจุบันเงินกำไรสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ระยะเวลาคืนทุน และทางสังคมคือผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI)  และ การวิเคราะห์ SWOT สำหรับการพิจารณาในผลกระทบด้านสังคม ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม ได้ค่าเฉลี่ยของการตรวจวัดในเดือนธันวาคม ดังนี้ อุณหภูมิ 27.8 oC ความขุ่น 26.57 เซนติเมตร ความเป็นกรด – เบส 8.06 ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด 14.1 ppm การนำไฟฟ้า 21.31 µS/cm  DO 5.03 มิลลิกรัมต่อลิตร BOD 5.77 มิลลิกรัมต่อลิตร  ปริมาณไนเตรต 0.881 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร และปริมาณคอลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด 1449 MPN/100 มิลลิลิตร และค่าเฉลี่ยของการตรวจวัดในเดือนมีนาคม ดังนี้ อุณหภูมิ 30.9 oC ความขุ่น 32.57 เซนติเมตร ความเป็นกรด – เบส 7.32 ปริมาณของแข็งละลายทั้งหมด 8.88 ppm การนำไฟฟ้า 18.51 µS/cm  DO 5.55 มิลลิกรัมต่อลิตร BOD 5.74 มิลลิกรัมต่อลิตร  ปริมาณไนเตรต 1.02 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร และปริมาณคอลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด 758.57 MPN/100 มิลลิลิตร ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่าการผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อคุณภาพน้ำในช่วงเดือนธันวาคม 2559 ถึงมีนาคม 2560 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์จากการคำนวณมูลค่าปัจจุบันเงินกำไรสุทธิ (NPV) มีค่า 149,617.47 บาท, 109,290.89 บาท และ 109,290.89 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ได้ร้อยละ 21 ระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 8.51 ปี, 8.99 ปี และ 10.83 ปี และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) มีค่าเป็น 1:1.82, 1:1.62 และ 1:1.45 ที่อัตราคิดลดร้อยละ 8, 10 และ12 ตามลำดับ พบว่าโครงการระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำมีความคุ้มค่าแก่การลงทุน และผลการวิเคราะห์ทางสังคมโดยใช้การวิเคราะห์ SWOT พบว่าประชาชนเห็นความสำคัญของโครงการ มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ของชุมชุน สามารถเป็นต้นแบบในการจัดการทรัพยากรน้ำในชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง โดยเน้นการจัดการไปยังสังคมและชุมชนเพื่อให้โครงการผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำเกิดความยั่งยืน สำหรับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าขนาดของโครงการซึ่งมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของสระเก็บน้ำจึงเป็นข้อจำกัดซึ่งยังไม่สามารถบ่งชี้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ จึงต้องมีการดูแลโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อไปth
dc.description.abstractThe purpose of this study was to study impacts of the Environmental, Economic and Social of solar floating photovoltaic electricity generation: a case study of Huai Kasian reservoir, Prachinburi province. The target groups were local people and the Water Management Committee of Dong Khilek Mueang Prachinburi district: Prachinburi province. For the environmental impact analysis, a field study to collected water in the reservoir was employed. The parameter studies are temperature, turbidity, pH, conductivity, total dissolve solid, Dissolve Oxygen (DO), Biochemical Oxygen Demand (BOD), nitrate and total coliform bacteria were collected on December 2016 and March 2017. Economic impact analysis was carried out using Net Present Value (NPV), Internal Rate of Return (IRR) and Payback Period. Social impact analysis was undertaken by using SWOT analysis and Social Return on Investment. The results showed that environmental impact measured by using water quality in December 2016 were temperature (27.8 oC), turbidity (26.57 cm)., pH (8.06), conductivity (21.31 µS/cm), total dissolve solid (14.1 ppm), DO (5.03 mg/l), BOD (5.77 mg/l), nitrate (0.881 mg-N/l) and total coliform bacteria (1449 MPN/100 ml) and those in March 2017 were temperature (30.9 oC), turbidity (32.57 cm)., pH (7.32), conductivity (18.51 µS/cm)., total dissolve solid (8.88 ppm), DO (5.55 mg/l), BOD (5.74 mg/l), nitrate (1.02 mg-N/l) and total coliform bacteria (758.57) MPN/100 ml. Economic impact analysis when calculated by using discount rate at 8% 10% and 12% respectively have Net Present Value (149,617.47 Bath, 109,290.89 Bath and 109,290.89 Bath), Internal Rate of Return is 21%, Payback Period (8.51 years, 8.99 years and 10.83 years) and Social Return of Investment (1:1.82, 1:1.62 and 1:1.45) shows that every case is worth invest, and SWOT analysis found that people are aware of the importance of this project. Establishment of Community Learning Center can be a model for dealing with a strong community. The management should focus on social and community for the sustainability and success of solar floating photovoltaic electricity generation project. For environmental management, the limit of this study is the size of this project, which is small compared to the size of the reservoir, which couldn’t indicate the effects occured. It must be an ongoing project to prevent impacts that will be occurred.th
dc.format.extent179 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb197528th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3787th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectแผงเซลล์แสงอาทิตย์th
dc.subjectผลกระทบสิ่งแวดล้อมth
dc.subject.otherเซลล์แสงอาทิตย์th
dc.titleผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ของระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ กรณีศึกษา สระเก็บน้ำห้วยเกษียร จังหวัดปราจีนบุรีth
dc.title.alternativeEnvironmental, economic and social impacts of solar floating photovoltaic electricity generation : A case study of Huai Kasian reservoir, Prachinburith
dc.typetext--thesis--master thesisen
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b197528e.pdf
Size:
6.05 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections