หลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และปัญหาเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล: ศึกษาพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ...

dc.contributor.advisorบรรเจิด สิงคะเนติ
dc.contributor.authorเสริมพงษ์ รัตนะ
dc.date.accessioned2023-01-12T03:14:23Z
dc.date.available2023-01-12T03:14:23Z
dc.date.issued2016
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ในระบบกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของรัฐในระบบ กฎหมายของเยอรมันและฝรั่งเศส และศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเขตอํานาจศาลของพระราชบัญญัติความ รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. ... อันจะนําไปสู่การเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องเขตอํานาจศาลในการ พิจารณาคดีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นการศึกษาเปรียบเทียบหลักกฎหมายว่าด้วยความ รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในระบบกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิด ของรัฐในระบบกฎหมายของเยอรมันและฝรั่งเศส และส่วนที่สอง เป็นการศึกษาปัญหาเขตอํานาจ ศาลของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และร่างพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. … พบว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบันพ.ศ. 2559 ประเทศไทยมีหลักกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานละเมิดทางแพ่งในระบบกฎหมายเอกชนที่บัญญัติไว้ เป็นลายลักษณ์อักษรเพียงหลักกฎหมายเดียวในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และได้นําหลัก กฎหมายเรื่องละเมิดทางแพ่งมาใช้กับละเมิดทางปกครองในระบบกฎหมายมหาชนในฐานะบท กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และประเทศไทยใช้ระบบศาลคู่ โดยให้ศาลยุติธรรมมีอํานาจพิจารณาคดี ละเมิดทางแพ่งของเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทําละเมิดนอกการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ได้ ใช้อํานาจตามกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกอบกับพระราชบัญญัติความ รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และศาลปกครองมีอํานาจพิจารณาคดีละเมิดทางปกครอง ของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้อํานาจตามกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ประกอบกับ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับเขต อํานาจศาลในคดีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่มีองค์กรหนึ่ง คือ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลใช้อํานาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่าง ศาล พ.ศ. 2542 ทําหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดว่าคดีพิพาทจากการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่อยู่ในเขต อํานาจของศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง และปัจจุบันมีการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทาง ละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ... เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้มาตรการบังคับทางปกครองที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ซึ่งทําหน้าที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีความเห็นว่า ในระบบกฎหมายไทยไม่มีการกําหนดเรื่องละเมิดทางปกครองไว้โดยเฉพาะ จึงมีเรื่องละเมิดทางแพ่ง และมูลหนี้ทางแพ่งของเจ้าหน้าที่เท่านั้น ซึ่งมีผลกระทบต่อพัฒนาการของหลักกฎหมายว่าด้วยความ รับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และก่อให้เกิดปัญหาเขตอํานาจศาล ดังนั้น ควรดําเนินการดังนี้ 1) แก้ไขพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 โดยนําบรรทัดฐานจากแนว คําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลไปกําหนดความรับผิดของ เจ้าหน้าที่ในคดีละเมิดทางแพ่งซึ่งอยู่ในอํานาจของศาลยุติธรรมและคดีละเมิดทางปกครองซึ่งอยู่ใน อํานาจของศาลปกครอง 2) นําบรรทัดฐานจากคําพิพากษาของศาลยุติธรรมและศาลปกครองไป กําหนดแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐในการฟ้องไล่เบี้ยเจ้าหน้าที่ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 3) ทบทวนมาตรา 25 แห่งร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ... ในการกําหนดเขตอํานาจ ศาลเกี่ยวกับคดีที่เอกชนร่วมกระทําละเมิดกับเจ้าหน้าที่ให้สอดคล้องกับแนวคําวินิจฉัยของ คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอํานาจหน้าที่ระหว่างศาลซึ่งวางหลักเกณฑ์ไว้ว่า กรณีมูลความแห่งคดี เดียวกัน จึงชอบที่จะได้พิจารณาที่ศาลเดียวกัน โดยให้อํานาจศาลที่พิจารณาคดีหลักสามารถพิจารณา คดีรองได้ และ 4) ทบทวนมาตรา 21 และมาตรา 26 แห่งร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิด ของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ... ที่กําหนดว่าการที่หน่วยงานของรัฐใช้สิทธิไล่เบี้ยเจ้าหน้าที่ผู้กระทําละเมิดเป็น เพียงหนังสือเรียกให้ชําระหนี้โดยไม่ถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง และให้อยู่ในอํานาจศาลยุติธรรมยัง ไม่เหมาะสมและไม่ถูกต้อง เพราะโดยสภาพคําสั่งดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครอง ดังนั้น เจ้าหน้าที่ควร มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคําสั่งทางปกครองได้ ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองสิทธิของ เจ้าหน้าที่ควบคู่ไปกับการคุ้มครองสิทธิของหน่วยงานของรัฐth
dc.format.extent254 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2016.168
dc.identifier.otherb198229th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6138
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherความรับผิด (กฎหมาย)th
dc.subject.otherพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539th
dc.titleหลักกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และปัญหาเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล: ศึกษาพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ...th
dc.title.alternativeLegal principles on liability of the official for wrongful act and the jurisdictional problems : a study of the Act for Liability of the Official for Wrongful Act, B.E. 2539 and the Draft of the Act on Liability of the Official for Wrongful Act B.E …th
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b198229.pdf
Size:
10.62 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description: