การบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมสามัญศึกษา

dc.contributor.advisorวิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorกรองทอง เขียนทองth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:13Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:13Z
dc.date.issued1994th
dc.date.issuedBE2537th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการบริหารงานบุคคล ของหน่วยงานสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และเสนอแนะมาตรการเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการบริหารงานบุคคลth
dc.description.abstractการรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งมีผู้บริหาร 12 คน ข้าราชการและลูกจ้าง 291 คน รวม 303 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ศึกษาใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษามีข้อสรุปดังนี้th
dc.description.abstract1. การสรรหา คัดเลือก บรรจุแต่งตั้งและโยกย้าย.th
dc.description.abstractผู้บริหาร ส่วนใหญ่ เห็นว่าบุคลากรไม่พอเพียง ได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขคือ มอบหมายหน้าที่ให้รับผิดชอบงานเพิ่มขึ้น ส่วนคุณสมบัติตามมติ ครม. มีความเห็นว่า เหมาะสมด้านความประพฤติ บุคลิกลักษณะดี ประวัติการทำงานดี มีความสามารถในการปฏิบัติงาน และเข้ากับประชาชนได้ และระบุว่าไม่มีผลดีในการใช้ระบบอุปถัมภ์th
dc.description.abstractข้าราชการและลูกจ้าง ส่วนใหญ่ ระบุว่า บุคลากรไม่เพียงพอ ในตำแหน่งครูผู้สอนและระบุว่า มีผลเสียในการใช้ระบบอุปถัมภ์ คือ ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานth
dc.description.abstract2. การเลื่อนตำแหน่ง.th
dc.description.abstractผู้บริหาร ส่วนใหญ่ ระบุว่า ควรมีการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งให้ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก่อน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ และเห็นด้วยกับการใช้วิธีการเสนอผลงานในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งแทนการสอบแข่งขันth
dc.description.abstractข้าราชการและลูกจ้าง เกือบทั้งหมด ไม่เคยติดขั้นเงินเดือน และเห็นว่าควรใช้วิธีการสอบแข่งขันในการเลื่อนตำแหน่งหรือเสนอผลงานth
dc.description.abstract3. รางวัล และการลงโทษth
dc.description.abstractผู้บริหาร ส่วนใหญ่ มีอำนาจโดยตรง ในการพิจารณาความดีความชอบโดยใช้ผลงานดีเด่นเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา 2 ขั้น ปกติth
dc.description.abstractข้าราชการและลูกจ้าง ส่วนใหญ่ ระบุว่า มีการกำหนดเกณฑ์การพิจารณา 2 ขั้นปกติth
dc.description.abstract4. การพัฒนาบุคลากร.th
dc.description.abstractผู้บริหาร สองในสาม ระบุว่า มีแผนพัฒนาของหน่วยงาน ส่วนการประเมินผลการฝึกอบรม หลักสูตร ศอ.บต. พบว่า ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ "ค่อนข้างมาก" คือ การปรับตัวเข้ากับประชาชน เข้ากับผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานth
dc.description.abstractข้าราชการและลูกจ้าง สองในสาม ระบุว่า ไม่ได้รับการฝึกอบรม ดูงาน ศึกษาต่อ ส่วนการประเมินผล ศอ.บต. ระบุว่า ได้รับประโยชน์ "มาก" จากการปฐมนิเทศ ในเรื่องทัศนคติต่องาน และเห็นว่า ส่วนกลางเป็นหน่วยงานที่พัฒนาบุคลากรได้ดีที่สุด โดยให้เหตุผลว่า วิทยากรมีความรู้ ความสามารถดีth
dc.description.abstract5. สวัสดิการ.th
dc.description.abstractข้าราชการและลูกจ้าง ส่วนใหญ่ ระบุว่า มีเกณฑ์การจัดบ้านพัก และเป็นไปตามเกณฑ์ ปัญหาที่ประสบ คือ ด้านความสะดวกในการเดินทาง ส่วนใหญ่ ตอบว่า ได้รับสวัสดิการไม่เพียงพอ ได้เสนอความคิดเห็นว่าควรเพิ่มเติมค่าเบี้ยงเสี่ยงภัยในพื้นที่ และส่วนใหญ่ ระบุว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ สามารถช่วยแก้ปัญหาสวัสดิการได้มากth
dc.description.abstractข้อเสนอแนะ นอกจากจะใช้ระบบคุณธรรมในการคัดเลือกข้าราชการแล้วควรให้สิทธิพิเศษแก่คนในพื้นที่ กรมควรบรรจุอัตรากำลังให้เพียงพอกับปริมาณงาน ควรมีการกระจายโควต้า 2 ขั้นพิเศษให้ทั่วถึง และควรกำหนดเกณฑ์ให้ชัดเจน ศอ.บต. ควรเร่งดำเนินการ ปฐมนิเทศข้าราชการที่บรรจุใหม่ และผู้ย้ายโดยมาจากภาคอื่น ๆ ควรจัดสวัสดิการให้เพียงพอ และเป็นธรรม ในเรื่องเบี้ยงเสี่ยงภัย.th
dc.format.extent10, 242 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1994.41
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1747th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectไทยth
dc.subject.lccHF 5549.2 .T5 ก17กth
dc.subject.otherการบริหารงานบุคคล -- ไทย (ภาคใต้)th
dc.subject.otherข้าราชการพลเรือน -- ไทย (ภาคใต้)th
dc.titleการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของกรมสามัญศึกษาth
dc.title.alternativePersonnel administration in southern border area of Department of General Educationth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการวิเคราะห์และวางแผนทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b9839.pdf
Size:
4.02 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections