ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ กรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล

dc.contributor.advisorบรรเจิด สิงคะเนติ
dc.contributor.authorปิ่นวดี เกสรินทร์
dc.date.accessioned2023-01-13T06:39:39Z
dc.date.available2023-01-13T06:39:39Z
dc.date.issued2017
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องเกี่ยวกับการบริการสาธารณสุข คือ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอ ภาคกันในการรับบริการด้านสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน โดยผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการ รักษาพยาบาลจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขจากรัฐต้องเป็นไปอย่าง ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 มี เจตนารมณ์ให้ทุกคนได้รับสิทธิบริการด้านสาธารณสุขที่มีมาตรฐานเดียวกันอย่างทั่วถึงและครอบคลุม ทุกคน พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการด้านสาธารณสุขได้อย่างรวดเร็ว เป็นธรรมและสะดวก โดยไม่ ต้องรอการพิสูจน์ความถูกผิดของแพทย์หรือบุคลากรด้านสาธารณสุข ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาความ เดือดร้อนและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้มีการบังคับใช้ มานานแล้วและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเบื้องต้นไม่ครอบคลุมความเสียหายประชาชนชาวไทย ทุกคนและการชดเชยดังกล่าว จึงไม่สอดคล้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง จากการศึกษา พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 มาตรา 41 พบว่า การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น มุ่งคุ้มครองผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น ไม่คุ้มครอง สิทธิอื่น เช่น สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ สิทธิประกันสังคม ทําให้เกิดปัญหา ความไม่เสมอภาคในการได้รับเงินช่วยเหลือกรณีที่เกิดความเสียหายจากการเข้ารับบริการด้าน สาธารณสุข ทั้งหลักเกณฑ์การพิจารณาเงินช่วยเหลือเบื้องต้นยังไม่ครอบคลุมถึงความเสียหายทุก ประเภทที่เกิดจากการรับบริการในหน่วยบริการสาธารณสุข และมีจํานวนเงินที่ไม่เหมาะสมกับ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง เพราะเงินช่วยเหลือเป็นเพียงเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเท่านั้น จึง จําเป็นต้องแก้ปัญหาระหว่างผู้รับบริการสาธารณสุขและผู้ให้บริการสาธารณสุข ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับ ความเสียหายดําเนินคดีฟ้องร้องต่อแพทย์บุคลากรด้านสาธารณสุขหรือหน่วยงาน ในการฟ้องทํา ให้ผู้ที่ได้รับความเสียหายต้องเสียเวลา ค่าใช้จ่าย ความไม่สะดวกในการดําเนินคดีต่างๆ และเกิด ความไม่ธรรมต่อผู้ให้บริการสาธารณสุข ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงศึกษากฎหมายไทยเพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ความ คุ้มครองผู้เสียหายที่ได้รับบริการสาธารณสุขจากการรับบริการและความคุ้มครองผู้ให้บริการ สาธารณสุขที่ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ โดยที่คนไทยทุกคนได้รับบริการสาธารณสุขอย่าง เท่าเทียมกัน และได้รับความช่วยเหลือเยียวยาเมื่อเกิดความเสียหายอย่างเท่าเทียม ทุกอาชีพth
dc.format.extent117 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.97
dc.identifier.otherb198264th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6147
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherสิทธิการรักษาพยาบาลth
dc.subject.otherการรักษาโรค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิ กรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลth
dc.title.alternativeLegal issues on consumer right protection regarding loss or damage from medical servicesth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b198264.pdf
Size:
1.23 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections