ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในชั้นพนักงานสอบสวน

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorปัณฑ์ณัฐ ขันเขตth
dc.date.accessioned2020-06-17T03:19:26Z
dc.date.available2020-06-17T03:19:26Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวม พยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในชั้นพนักงานสอบสวน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอํานาจหน้าที่ของ พนักงานสอบสวนรวมถึงค้นหาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานในชั้นพนักงาน สอบสวนของประเทศไทยนํามาเปรียบเทียบกับอํานาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในต่างประเทศที่ใช้ ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ การวิจัยได้เปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และ ประเทศอังกฤษ นอกจากนั้น ยังได้เปรียบเทียบกับอํานาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในต่างประเทศ ที่ใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี จากนั้นจึง นํามาวิเคราะห์ถึงปัญหากฎหมายในแต่ระบบกฎหมาย หาแนวทางและหามาตรการทางกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว เพื่อนําเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ ของเจ้าพนักงานสอบสวนคดีทั่วไปของประเทศไทยให้มีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อให้สามารถ รวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็อยู่ภายใต้กรอบ ของกฎหมายที่บัญญัติชัดเจนและเหมาะสมกับประเทศไทยth
dc.description.abstractจากการศึกษา พบว่า ในปัจจุบันการใช้อํานาจของพนักงานสอบสวนคดีอาญาทั่วไป ในการ แสวงหาพยานหลักฐานตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งไม่ใช่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และ ไม่ใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 18 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่มีอํานาจในการเข้าถึงพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า อีกทั้ง ยังมีกฎหมายให้อํานาจไว้ชัดเจนth
dc.description.abstractพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล หรืออยู่ในความครอบครอง ของผู้ให้บริการ เช่น ผู้ประกอบการด้านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ประกอบการด้านการเงินการธนาคาร การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตาม รัฐธรรมนูญ การตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสารหรือ ข้อมูลอันเกิดจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยบุคคลนั้นๆ หากไม่มีกฎหมายบัญญัติอํานาจไว้ อย่างชัดเจนจึงจะกระทําไม่ได้ การการรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์โดยอาศัยกฎหมายวิธี ความอาญาจึงยังไม่เพียงพอสําหรับการรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้ศึกษากฎหมาย ต่างประเทศเพื่อทราบถึงอํานาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในการรวบรวมพยานหลักฐาน อิเล็กทรอนิกส์ เปรียบเทียบกับอํานาจของพนักงานสอบสวนของประเทศไทยต่อไปth
dc.description.abstractแนวทางในการแก้ไขปัญหามีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทย จะต้องบัญญัติกฎหมายใน การใช้อํานาจของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอํานาจในการ แสวงหาพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ชัดเจน เพื่อให้การแสวงหาพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์มี ประสิทธิภาพ ในเรื่องของการยึดและค้นพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ควรเป็นความผิด ซึ่งหน้าการยึดการค้นเพื่อตรวจสอบไม่จําต้องขอหมายค้น เพียงอาศัยเหตุอันควรสงสัยว่ามีส่วน เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดก็เพียงพอแล้ว และกรณีที่ผู้ครอบครองให้ความยินยอมแก่เจ้าหน้าที่ สามารถทําการค้นและยึดข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลในเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ได้ การใช้อํานาจต้อง ไม่เกินขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้กฎหมายมีความชัดเจนส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นth
dc.format.extent98 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb194170th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5042th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์th
dc.subjectพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์th
dc.subject.otherข้อมูล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับth
dc.subject.otherพยานหลักฐาน -- คดีอาญาth
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรวบรวมพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ในชั้นพนักงานสอบสวนth
dc.title.alternativeLegal problems on electronic evidence collecting in the investigatorth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b194170.pdf
Size:
2.55 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections