การดำเนินนโยบายสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายกับปัญหาชาวโรฮีนจา : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลาและระนอง

dc.contributor.advisorณัฐฐา วินิจนัยภาคth
dc.contributor.authorนวิยา ยศวิไลth
dc.date.accessioned2021-09-29T03:08:28Z
dc.date.available2021-09-29T03:08:28Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและเข้าใจถึงการดำเนินการตามนโยบายของ รัฐบาลไทยที่มีต่อการแก้ปัญหาเกี่ยวกับชาวโรฮีนจาภายใต้กรอบข้อตกลงระหว่างรัฐบาลอาเซียน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 2) เพื่อศึกษาและเข้าใจถึงปัญหาของการนำนโยบายไปปฏิบัติในการแก้ไข ปัญหาชาวโรฮีนจาเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย ตามปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิง ปฏิบัติการที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไข และพัฒนาการบริหารจัดการและการดำเนินการต่างๆ ให้มี ประสิทธิผลและความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อยในพื้นที่จังหวัดสงขลาและระนอง ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะการปฏิบัติงานจำแนกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีแรก ผู้ เดินทางทั้งหมดยังไม่ถึงฝั่ง เจ้าหน้าที่รัฐจะทำหน้าที่สกัดกั้นไม่ให้ชาวโรฮีนจารุกล้ำน่านน้ำไทย แต่ละขั้นตอนเป็นไปในลักษณะให้การช่วยเหลือเบื้องต้นตามหลักสิทธิมนุษยชนและพันธกรณี ระหว่างประเทศ กรณีที่สอง หากผู้เดินทางเหล่านั้นขึ้นฝั่งแล้ว เจ้าหน้าที่รัฐจะดำเนินการภายใต้ กฎหมายไทย โดยการจับกุม พร้อมกับให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเบื้องต้น การวิเคราะห์ปัญหาของการนำนโยบายไปปฏิบัติในครั้งนี้อาศัยตัวแบบสหการของ Donald Van Meter และ Carl Van Horn ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ อันได้ แก่ 1) มาตรฐาน นโยบาย เจ้าหน้าที่รัฐต่างมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์และเป้าหมายของนโยบายเป็นอย่างดี ขณะที่แนวทางการดำเนินการขาดความชัดเจนและขัดแย้งกับสภาพความเป็นจริงในระยะสั้น เพราะความไม่เข้าใจในพันธกรณีระหว่างประเทศ แต่ความจริงจังของเจ้าหน้าที่รัฐในการแก้ปัญหา จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาชาติในระยะยาวได้ โดยทั้งหมดนี้ต่างส่งผลกระทบต่อการสื่อข้อความและการบังคับใช้กฎหมายตามมา 2) ทรัพยากรนโยบาย ซึ่งงบประมาณและสถานที่ของ องค์การภาครัฐไม่เพียงพอที่จะรองรับชาวโรฮีนจาที่ถูกจับกุมทั้งหมด ขณะที่องค์การภาครัฐขาด บุคลากรที่มีทักษะภาษาในการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตาม ทุกฝ่ายพยายามปรับปรุงการใช้ ทรัพยากรให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของนโยบายให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน แต่ทั้งหมดนี้ส่งผล กระทบต่อการบังคับใช้กฎหมายและทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน 3) การสื่อข้อความ ปัญหาชาวโรฮีน จาเป็นที่สนใจของสื่อมวลชน การเผยแพร่ข่าวสารส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนการประสานงานฝ่ายต่างๆ และองค์การร่วมรับผิดชอบเป็นไปอย่างถูกต้องตามภารกิจ ความสามารถในการประสานงานระหว่างฝ่ ายต่างๆ นี้ย่อมมีอิทธิพลต่อความยินดีหรือเต็มใจใน การปฏิบัติงาน 4) การบังคับใช้ กฎหมาย สะท้อนถึงปัญหาที่เกิดจากเงื่อนไขทางการเมือง คุณลักษณะของหน่วยปฏิบัติ มาตรฐานและทรัพยากรของนโยบาย เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐบางส่วน ขาดความเคร่งครัดในการบังคับใช้กฎหมาย กอปรกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่มีการปรับปรุงให้เท่า ทันกับการเปลี่ยนแปลงของยุคปัจจุบัน ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานและ คุณลักษณะของหน่วยปฏิบัติ 5) คุณลักษณะของหน่วยปฏิบัติ องค์การภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีขนาด ใหญ่และซับซ้อนสูง การปฏิบัติงานเป็นไปตามขั้นตอน แบ่งงานตามความเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ทุกองค์การภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ใช้ระบบคณะกรรมการในการปฏิบัติงานร่วมกันและดำเนินการใน ลักษณะขององค์การเครือข่าย ซึ่งแต่ละองค์การกลับปกปิ ดข้อมูลหรือข้อผิดพลาดของตนเอง ส่งผลต่อการบังคับใช้กฎหมาย 6) เงื่อนไขทางการเมือง การเมืองทั้งเมียนมา มาเลเซีย และไทย กำลังประสบกับการเปลี่ยนผ่านและการเคลื่อนไหวจากภาคประชาชน โดยที่รัฐบาลแต่ละประเทศ ต่างพยายามแก้ปัญหาชาวโรฮีนจานี้ภายใต้การจับตามองจากทั่วโลก ซึ่งเงื่อนไขทางการเมืองมี ความเชื่อมโยงกับเงื่อนไขทางสังคมและเศรษฐกิจ ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานและผลการนำนโยบายนี้ไปปฏิบัติ7) เงื่อนไขทางสังคมและเศรษฐกิจ สภาพความยากจนทางเศรษฐกิจและกระแสการต่อต้านของเมียมากลายเป็นแรงผลักดันให้ชาวโรฮีนจาหลบหนีออกนอกประเทศ ผ่านมายังไทยที่มี ลักษณะสังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อไปยังมาเลเซียที่มีความเชื่อทางศาสนาเหมือนกันและสภาพ เศรษฐกิจดีกว่าประเทศตนเอง กล่าวได้ว่า เงื่อนไขทางสังคมและเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับ เงื่อนไขทางการเมือง และมีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ 8) ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน เป็นผล สะท้อนจากการสื่อข้อความ การบังคับใช้กฎหมาย คุณลักษณะของหน่วยปฏิบัติ และเงื่อนไข ทางการเมือง ขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่ยอมรับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของนโยบาย แต่เจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่บางส่วนไม่เต็มใจปฏิบัติงาน และด้วยข้อจำกัดด้านทรัพยากร จึงทำให้ เจ้าหน้าที่รัฐส่วนกลางและในพื้นที่ต่างมีแนวคิดในการแก้ปัญหาแตกต่างกันในการปฏิบัติตาม กฎหมายที่กำหนดไว้th
dc.format.extent305 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2016.156
dc.identifier.otherb195878th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5273th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherสิทธิมนุษยชนth
dc.subject.otherโรฮีนจาth
dc.titleการดำเนินนโยบายสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกายกับปัญหาชาวโรฮีนจา : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลาและระนองth
dc.title.alternativeImplementation to life liberty and human rights policy and the problem of Rohingya : case study of Songkhla and Ranong in Thailandth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b195878.pdf
Size:
4.28 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections