ทัศนคติของประชาชนต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดแม่ฮ่องสอน

dc.contributor.advisorประเสริฐ รักไทยดี, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorวิจิตรา ชัยศรีth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:16Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:16Z
dc.date.issued1994th
dc.date.issuedBE2537th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.th
dc.description.abstractเป็นการศึกษาถึงปัจจัยด้านอายุ อาชีพ การเป็นสมาชิกกลุ่ม/ชมรม และภูมิลำเนาเดิมที่แตกต่างกันว่า จะมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นในผลกระทบมิติต่าง ๆ คือ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามประเพณี การศึกษาในเรื่องนี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 162 ครัวเรือน ในเขตอำเภอเมือง จำนวน 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน ที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนั้นยังได้ทำการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้นำท้องถิ่น เพื่อที่จะทราบถึงผลกระทบของการพัฒนาการท่องเที่ยว.th
dc.description.abstractผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านอายุ อาชีพ การเป็นสมาชิกกลุ่ม/ชมรมและภูมิลำเนาเดิมที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อความคิดเห็นในผลกระทบของการพัฒนาการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ประชาชนส่วนใหญ่มีความไม่แน่ใจว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจมากขึ้น ถึงแม้จะมีการสร้างงาน สร้างอาชีพ แต่ประชาชนในแหล่งท่องเที่ยวมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจท่องเที่ยวน้อยมาก ผลทางด้านสังคมประชาชนเห็นว่ามีแนวโน้มของปัญหาการเพิ่มขึ้นของหญิงบริการ สถานเริงรมย์ และปัญหาการลักเล็กขโมยน้อย น่าจะเป็นผลโดยตรงส่วนหนึ่งจากการพัฒนาการท่องเที่ยว สำหรับผลทางด้านวัฒนธรรมนั้นประชาชนไม่แน่ใจว่า การฟื้นฟูและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี เป็นผลมาจากการพัฒนาการท่องเที่ยว การเข้าร่วมกิจกรรมตามประเพณีของประชาชนยังเป็นไปตามประเพณีที่มีมาแต่ดั้งเดิม โดยประชาชนส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญในกิจกรรมดังกล่าวอยู่th
dc.description.abstractข้อเสนอแนะth
dc.description.abstract1. เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และการมีงานทำของประชาชนในแหล่งท่องเที่ยวภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ควรร่วมกันพิจารณาหาแนวทางการเตรียมความพร้อมของประชาชนในท้องถิ่นเข้าสู่งานบริการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ด้วยการฝึกอบรมหรือฝึกฝนความชำนาญบางสาขาที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว.th
dc.description.abstract2. ส่งเสริมให้มีศูนย์ศิลปหัตถกรรมของจังหวัด เพื่อจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าและควรมีการค้นหาและพัฒนารูปแบบของที่ระลึกที่มีเอกลักษณ์แบบไทยใหญ่ นำไปส่งเสริมให้ชาวบ้านในแหล่งท่องเที่ยวผลิต อาจจะเป็นการประยุกต์ระหว่างศิลปท้องถิ่นกับศิลปแนวใหม่ทำการพัฒนาคุณภาพให้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ น่าจะเป็นทางหนึ่งในการสร้างงานอาชีพ.th
dc.description.abstract3. นำเสนอเทศกาลและงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ยังคงเดิมให้นักท่องเที่ยวได้ชมความงดงาม โดยจัดในรูปแบบของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม (cultural tourism) หรือการท่องเที่ยวในรูปแบบของการศึกษาประสบการณ์ทางด้านวิชาการ เช่น ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา ศิลปวัฒนธรรม ผสมผสานกับการเที่ยวชมความงามทางธรรมชาติ จัดเป็นเส้นทางไปตามตำบลและหมู่บ้านต่าง ๆ โดยให้ประชาชนในแหล่งท่องเที่ยวได้รับประโยชน์จากการนำชมหมู่บ้าน จากการจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม หรือจากการจัดชุดการแสดงประจำท้องถิ่นให้นักท่องเที่ยวได้ชมth
dc.description.abstract4. เพื่อจะให้การพัฒนาการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอย่างแท้จริง ในระดับนโยบาย รัฐควรให้ความสำคัญแก่ประชาชนในท้องถิ่นผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยรัฐจะต้องพยายามเชื่อมโยงประชาชนในท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการร่วมพิจารณาตัดสินใจในการใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชน ซึ่งถ้าหากรัฐได้มีนโยบายที่เด่นชัดและเข้าใจถึงคุณค่าของทรัพยากรการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ จะทำให้เกิดความสอดคล้อง ทั้งนี้ โดยความร่วมมืออันดีระหว่างฝ่ายการเมือง ราชการ ธุรกิจเอกชนและประชากรในท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่สังคมโดยส่วนรวมth
dc.format.extent5, 172 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1994.44
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1765th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccBF 327 ว32th
dc.subject.otherการท่องเที่ยว -- ไทย -- แม่ฮ่องสอนth
dc.titleทัศนคติของประชาชนต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว : ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดแม่ฮ่องสอนth
dc.title.alternativeThe attitude of citizen toward tour industry development : a case study of Mae Hongson Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการวิเคราะห์และวางแผนทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b11697.pdf
Size:
2.62 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections