การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาสหวิทยาลัยอีสานใต้

dc.contributor.advisorวรเดช จันทรศร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorทองใบ สุดชารีth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:15:35Z
dc.date.available2014-05-05T09:15:35Z
dc.date.issued1993th
dc.date.issuedBE2536th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ด. (การบริหารการพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.th
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง "การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาสหวิทยาลัยอีสานใต้" เป็นการศึกษา การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2527 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติของวิทยาลัยครู (2) เพื่อศึกษาสภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติของวิทยาลัยครู (3) เพื่อนำผลที่ค้นพบจากการศึกษาวิจัย ไปพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะในการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และพัฒนาเป็นสมมติฐานในการทดสอบ 3 สมมติฐาน คือ สมมติฐานที่ 1 ตัวแปรลักษณะโครงสร้างของนโยบายทรัพยากร การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน การสนับสนุนจากการเมือง การติดต่อสื่อสาร และภาวะผู้นำมีความสัมพันธ์เชิงปฏิฐานสูง กับการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ สมมติฐานที่ 2 การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน และภาวะผู้นำ เป็นชุดตัวแปรเชิงนโยบายที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อความสำเร็จในการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ และสมมติฐานที่ 3 การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน และภาวะผู้นำเป็นชุดตัวแปรเชิงนโยบายที่มีอิทธิพลสูงสุด ต่อการพยากรณ์การจำแนกกลุ่มตามระดับความสำเร็จ ในการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติth
dc.description.abstractการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ออกแบบการวิจัยแบบตัดขวาง มีตัวแปรอิสระ 6 ตัวคือการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ภาวะผู้นำ ทรัพยากร การติดต่อสื่อสาร การสนับสนุนจากการเมือง และโครงสร้างของนโยบาย ตัวแปรตามคือ การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 5 ตัวแปร คือ การสอนนักศึกษาภาคปกติ การสอนนักศึกษาภาค กศ.บป. การวิจัย การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และการให้บริการทางวิชาการประชากรกลุ่มเป้าหมาย คืออาจารย์ที่ปฏิบัติงานใน สหวิทยาลัยอีสานใต้ ประกอบด้วยอาจารย์วิทยาลัยครูนครราชสีมา วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ วิทยาลัยครูสุรินทร์ และวิทยาลัยครูอุบลราชธานี เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 1-15 กรกฎาคม 2534 ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จากวิทยาลัยครูละ 105 ชุด ได้แบบสอบถามกลับคืนทั้งสิ้น 269 ชุด คือ จากวิทยาลัยครูสุรินทร์ 101 ชุด วิทยาลัยครูนครราชสีมา 62 ชุด วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ และวิทยาลัยครูอุบลราชธานีแห่งละ 53 ชุด คิดเป็นร้อยละ 64 ของแบบสอบถามทั้งหมด แบบสอบถามเป็นมาตรวัดแบบมาตราส่วนประมาณค่าของลิเคิร์ตส่วนผลการวิเคราะห์ความเที่ยงตรง และความเชื่อถือได้ของมาตรวัด อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC+ โดยใช้สถิติที่สำคัญ คือ อัตราส่วนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์อำนาจจำแนกth
dc.description.abstractการค้นพบ.th
dc.description.abstract1. ตัวแปรลักษณะโครงสร้างของนโยบาย ทรัพยากร การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน การสนับสนุนจากการเมือง การติดต่อสื่อสาร และภาวะผู้นำ มีความสัมพันธ์เชิงปฏิฐานสูง กับการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ ยืนยันตามสมมติฐานที่ 1 แสดงว่า ตัวแปรเชิงนโยบายทุกตัว มีความสัมพันธ์กับการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติสอดคล้องกับการศึกษาทางทฤษฎี และผลงานวิจัยด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติth
dc.description.abstract2. ตัวแปรการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน และภาวะผู้นำ เป็นชุดตัวแปรเชิงนโยบาย ที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อความสำเร็จการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ โดยที่การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน จะมีอำนาจในการพยากรณ์และการอธิบายความสำเร็จในการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติมากที่สุด รองลงมาคือ ภาวะผู้นำ ยืนยันตามสมมติฐานที่ 2 แสดงว่า ถ้าอาจารย์ของวิทยาลัยครูใด ๆ ให้ความร่วมมือกันในการปฏิบัติงานสูง ก็จะทำให้การปฏิบัติภารกิจของวิทยาลัยครูแห่งนั้นจะประสบผลสำเร็จมากขึ้น และถ้าผู้บริหารมีความสามารถในการใช้ภาวะผู้นำที่ดี ยิ่งจะทำให้การนำนโยบายไปปฏิบัติประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้นth
dc.description.abstract3. ตัวแปรการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานมีอำนาจจำแนกการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติตามระดับความสำเร็จได้ดีที่สุด ยืนยันตามสมมติฐานที่ 3 แสดงว่าวิทยาลัยครูที่ประสบความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติในเกณฑ์สูง ขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือในการทำงานของอาจารย์ในวิทยาลัยครูแห่งนั้นth
dc.description.abstract4. การนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติประสบผลสำเร็จในระดับปานกลาง ยกเว้นการวิจัย ที่ถือว่าไม่ประสบผลสำเร็จth
dc.description.abstract5. การดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัยครู และการหมุนเวียนให้ดำรงตำแหน่งอธิการจนเกษียณอายุราชการ เป็นอุปสรรคต่อการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติth
dc.description.abstractข้อเสนอแนะth
dc.description.abstractการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ จะประสบผลสำเร็จสูง หากได้ดำเนินการดังนี้th
dc.description.abstract1. ส่งเสริมให้อาจารย์ของวิทยาลัยครูเข้ามามีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน โดยเน้นกระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม ใช้ประโยชน์จากบุคลากรให้ตรงกับความรู้ความสามารถ บรรจุบุคลากรในสาขาที่ขาดแคลนและบุคลากรสายสนับสนุน พัฒนาศักยภาพของบุคลากร สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน โดยวิธีการให้ความเป็นธรรมth
dc.description.abstract2. สร้างภาวะผู้นำที่ดีให้เกิดขึ้นในวิทยาลัยครู ด้วยวิธีการสรรหาอธิการ และตำแหน่งทางการบริหารอื่น ๆ ของวิทยาลัยครูให้เป็นระบบเดียวกัน โดยเฉพาะตำแหน่งอธิการ ควรสรรหาและแต่งตั้งจากอาจารย์ของวิทยาลัยครูแห่งนั้น ๆ มีวาระ 4 ปี และอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน และไม่ควรแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งอธิการแห่งอื่น จัดหลักสูตรฝึกอบรมความรู้ทางการบริหาร ให้แก่ผู้บริหารของวิทยาลัยครูทุกระดับ.th
dc.description.abstract3. ปรับปรุงโครงสร้างของวิทยาลัยครูให้กระทัดรัด เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ลดตำแหน่งทางการบริหารและลดตำแหน่งการปฏิบัติงานในหน่วยงานฝ่ายอำนวยการที่ไม่จำเป็นออกไป ลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน และรวมหน่วยงานระดับภาควิชาในบางคณะวิชาเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้บุคลากรร่วมกันได้ในแต่ละโปรแกรมวิชาเอกth
dc.description.abstract4. จัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัย ให้แก่อาจารย์ให้เพียงพอที่จะพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพ แก้ไขระเบียบการจ่ายเงินอุดหนุนการวิจัยให้เกิดความคล่องตัว และจัดอบรมความรู้ด้านการวิจัยให้แก่อาจารย์ที่ขาดความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการวิจัย.th
dc.description.abstract5. ทบทวนการจัดการศึกษาตามโครงการ กศ.บป. โดยการพิจารณาด้านการพัฒนาหลักสูตร การรับนักศึกษา และการแก้ไขระเบียบการวัดผลth
dc.description.abstractการพัฒนานโยบายของวิทยาลัยครูนั้น ควรแก้ไขกฎหมายให้วิทยาลัยครูแต่ละแห่งเป็นนิติบุคคล ให้เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาได้ และให้สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และให้ยุบสหวิทยาลัย.th
dc.format.extent24, 410 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1993.38
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/903th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectสหวิทยาลัยอีสานใต้th
dc.subject.lccLB 2126 .T5 ท19th
dc.subject.otherวิทยาลัยครู -- การบริหารth
dc.subject.otherสหวิทยาลัยอีสานใต้th
dc.subject.otherการนำนโยบายไปปฏิบัติth
dc.titleการนำนโยบายของวิทยาลัยครูไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาสหวิทยาลัยอีสานใต้th
dc.title.alternativeThe teachers college policy implementation : a case study of the United College of Southern Isarnth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineการบริหารการพัฒนาth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-diss-b4846.pdf
Size:
7.16 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text