การศึกษาผลกระทบของข้อมูลป้อนกลับที่มีต่อการรับรู้การปรับปรุง ผลการปฏิบัติงานและความพึงพอใจของตัวแทนประกันชีวิต ที่มีประสบการณ์ต่างกัน

dc.contributor.advisorจิรประภา อัครบวรth
dc.contributor.authorรุ่งอรุณ สมัญญาth
dc.date.accessioned2016-06-29T06:01:51Z
dc.date.available2016-06-29T06:01:51Z
dc.date.issued2013th
dc.date.issuedBE2556th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556th
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าข้อมูลป้อนกลับทางบวกและข้อมูลป้อนกลับทางลบ มีผลต่อการรับรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงผลปฏิบัติงานและความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากร ที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกัน (Expert, Novice) และมีผลการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน (Good Performer, Poor Performer) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ ตัวแทนประกันชีวิต (Agent) บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) จำนวนทั้งสิ้น 270 คน ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล โดยลักษณะคำถาม เป็นแบบตรวจรายการ (Check List) จำนวน 4 ข้อ และแบบสอบถามอีก 3 ฉบับใช้มาตรวัดแบบ Likert’s Scale ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลป้อนกลับ แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับการ ปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจในการทำงานวิเคราะห์ข้อมูลใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวน จำแนกทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Pearson’s product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษาในประเด็นที่สำคัญพบว่า ข้อมูลป้อนกลับทางบวก (Positive Feedback) ทำให้เกิดความแตกต่าง ในทุกกลุ่มตัวอย่าง ทั้งผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน (Expert) ผู้ปฏิบัติงานใหม่ (Novice) ผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดี (Good Performer) และผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานไม่ดี (Poor Performer) ทั้งในประเด็นของการรับรู้ เกี่ยวกับการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานและความพึงพอใจในการทำงาน โดยที่กลุ่มที่ได้รับข้อมูล ป้อนกลับทางบวกสูง (High Positive) มีการรับรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานและมีความพึงพอใจในการทำงานมากกว่ากลุ่มที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับทางบวกต่ำ (Low Positive) โดยมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อมูลป้อนกลับทางลบ (Negative Feedback) ทำให้เกิดความแตกต่าง ในกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน (Expert) ในประเด็นของการรับรู้เกี่ยวกับการปรับปรุง ผลการปฏิบัติงาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจในการทำงาน นัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานไม่ดี (Poor Performer) ทำให้เกิดความ แตกต่างในประเด็นของการรับรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 และความพึงพอใจในการทำงาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่กลุ่มของผู้มี ประสบการณ์ในการทำงาน (Expert) และผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานไม่ดี (Poor Performer) ที่ได้รับ ข้อมูลป้อนกลับทางลบสูง (High Negative) มีการรับรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน และมีความพึงพอใจในการทำงานมากกว่ากลุ่มที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับทางลบต่ำ (Low Negative) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดี (Good Performer) มีความแตกต่างในประเด็น ของการรับรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานเท่านั้น มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ ไม่มีความแตกต่างในประเด็นของความพึงพอใจในการทำงาน โดยที่กลุ่มผู้มีผลการปฏิบัติงานดี (Good Performer) ที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับทางลบสูง (High Negative) มีการรับรู้เกี่ยวกับการ ปรับปรุงผลการปฏิบัติงานสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับทางลบต่ำ (Low Negative) แต่ไม่มี ความแตกต่างในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปฏิบัติงานใหม่ (Novice) ทั้งในประเด็นของการรับรู้เกี่ยวกับ การปรับปรุงผลการปฏิบัติงานและความพึงพอใจในการทำงาน การรับรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานบุคลากรมีความสัมพันธ์ในทิศทาง เดียวกันกับความพึงพอใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .312th
dc.format.extent142 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2013.32
dc.identifier.otherb185265th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3105th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectการปรับปรุงผลปฏิบัติงานth
dc.subjectความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรth
dc.subjectการประเมินผลงานth
dc.subject.otherความพอใจในการทำงานth
dc.titleการศึกษาผลกระทบของข้อมูลป้อนกลับที่มีต่อการรับรู้การปรับปรุง ผลการปฏิบัติงานและความพึงพอใจของตัวแทนประกันชีวิต ที่มีประสบการณ์ต่างกันth
dc.title.alternativeThe effects of feedback on perceived performance improvement and satisfaction of the agent who have different experienceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์th
thesis.degree.disciplineการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b185265.pdf
Size:
1.85 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections