การคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนของประเทศไทย

dc.contributor.advisorอุดม ทุมโฆสิต, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorนิลเนตร วีระสมบัติth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:15:44Z
dc.date.available2014-05-05T09:15:44Z
dc.date.issued2009th
dc.date.issuedBE2552th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (รป.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009th
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) อธิบายปรากฏการณ์การย้ายออกและการคงอยู่ของ แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน (2) ค้นหาปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาล ชุมชนและ (3) พัฒนาตัวแบบหรือโมเดลการคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนของประเทศไทย วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน (1) ทบทวนปรากฏการณ์การคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ร่วมกับทบทวนวรรณกรรม นํามาพัฒนาเป็นโมเดลเชิงทฤษฎีการคงอยู่ของ แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนของประเทศไทย (2) วิจัยเชิงคุณภาพ มี 2 ส่วน ส่วนแรก วิเคราะห์ ข้อมูลทั่วไปของแพทย์ใช้ทุนครบ จากงานการเจ้าหน้าที่ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 65 คน ส่วนที่ 2 ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก แพทย์ใช้ทุนครบที่คงอยู่ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา 39 คน ในเดือนเมษายน 2551 นําสิ่งที่ค้นพบมาปรับโมเดลเชิงทฤษฎี (3) วิจัย เชิงปริมาณ ทดสอบโมเดลโดยการสํารวจข้อมูลจากแพทย์ประจําที่คงอยู่ในโรงพยาบาลชมชน หลัง ใช้ทุนครบ 2 ปีทั่วประเทศไทยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น ช่วงมีนาคม - พฤษภาคม 2552 ได้รับตอบกลับจากแพทย์ใช้ทุนครบ 613 คน จากโรงพยาบาลชุมชน 461 แห่ง (ร้อยละ 62.89) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใชเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทางและการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบปกติ ผลการศึกษา ขั้นตอน (1) พบว่า ในภาพกว้าง การย้ายออกและคงอยู่ของแพทย์ใน โรงพยาบาลชุมชนเป็นไปตามช่วงขึ้นลงของภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ช่วงที่เศรษฐกิจหดตัวและ วิกฤตเศรษฐกิจ สถานการณ์การคงอยู่ของแพทย์จะค่อนข้างดี ในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่และ เศรษฐกิจฟื้นตัว แพทย์จะไหลออกสู่ภาคเอกชน ในภาพแคบ เกี่ยวข้องกับปัจจัยหลัก 3 กลุ่มปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านความต้องการส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความต้องการของโรงพยาบาลชุมชน และ ปัจจัยด้านความต้องการของชุมชนในเขตชนบท ขั้นตอน (2) พบว่าการคงอยู่ของแพทย์ผันแปรไป ตาม อายุ สถานภาพสมรส ภูมิลําเนาบ้านเกิดหรือการตั้งถิ่นฐานที่อยู่ ตําแหน่ง และรูปแบบการศึกษา การสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของแพทย์มี 3 กลุ่ม 1) ปัจจัย ด้านบุคคล ได้แก่ ทัศนคติที่ดีต่อชนบท ภาระงานที่เหมาะสม และค่าตอบแทนจูงใจที่เหมาะสม 2) ปัจจัยด้านโรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ขนาดโรงพยาบาลชุมชน ระบบบริหารในการดูแลผู้ป่วยทาง คลินิก และความสัมพันธ์กับผู้บริหารและทีมงาน 3) ปัจจัยด้านชุมชนในเขตชนบท ได้แก่ ความ เจริญของชุมชน การยกย่องเชิงสังคม และความรับผิดชอบต่อครอบครัว ผู้วิจัยได้ปรับโมเดลการ คงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน เป็นตัวแปรระดับปัจเจกบุคคล 16 ตัว เพื่อทําการทดสอบ เชิงปริมาณในขั้นตอนสุดท้าย ได้ผลลัพธ์เป็นโมเดลการคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนของ ประเทศไทยระยะต้น (อายุ≤ 35 ปี) และระยะปลาย (อายุ> 35 ปี) ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลทางตรง ต่อการคงอยู่ของแพทย์ระยะต้นมี 4 ตัวแปร 1) สถานภาพสมรส 2) ความพึงพอใจของแพทย์ 3) ลักษณะของงาน และ 4) บริบทของชุมชน โดยตัวแปรทั้ง 4 ตัวร่วมกันอธิบายการคงอยู่ของ แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 13.3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมมี 6 ตัวแปร 1) วิชาชีพทั่วไป 2) ลักษณะของรายได้ 3) บริบทของงาน 4) บริบทของชุมชน 5) การจัดการปฏิบัติการทางแพทย์ และ 6) เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเขตปกติ / กันดาร ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการคงอยู่ของแพทย์ ระยะปลาย มี 6 ตัวแปร 1) เพศ 2) สถานภาพสมรส 3) วิชาชีพทั่วไป 4) รูปแบบการศึกษา 5) ลักษณะของรายได้และ 6) บริบทของงาน โดยตัวแปรทั้ง 6 ตัว ร่วมกันอธิบายการคงอยู่ของ แพทย์ร้อยละ 38.8 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมมี 2 ตัวแปร 1) การจัดการปฏิบัติการทางการแพทย์ และ 2) เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเขตปกติ / กันดาร การศึกษานี้ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ด้านกลยุทธ์การคงอยู่ของแพทยในโรงพยาบาล ชุมชนในการจัดการปฏิบัติการทางการแพทยให้เกิดภาระงานที่เหมาะสม ค่าตอบแทนจูงใจที่เหมาะ สมในการปฏิบัตงานในโรงพยาบาลชุมชน สนับสนุนนโยบายการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล เพื่อ สร้างบริบทของงานที่ดี เสนองานให้กับคู่ชีวิตของแพทย์ในพื้นที่เดียวกับโรงพยาบาลชุมชน และ บุตรของแพทย์ได้เข้าเรียนในโรงเรียนพื้นที่เดียวกนั เพื่อสร้างความสมดุลของชีวิตกับงาน กลยุทธ์ ด้านอุปทานของแพทย์ เสนอรูปแบบการศึกษาในการอบรมรวมกับศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้น คลินิก เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อโรงพยาบาลชุมชน กลยุทธ์ด้านอุปสงค์ของแพทย์ เสนอให้มีการ ติดตามประเมินผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา และสํารวจการคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนเป็น ประจําทุกปี เพื่อประเมินปัญหาและประสิทธิผลของมาตรการที่กําหนดไว้ โมเดลการคงอยู่ของ แพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน สามารถนํามาใช้ในการทํานายการคงอยู่ของแพทย์ได้ เพียงช่วงเวลาสั้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การศึกษาต่อไปในอนาคต เสนอให้มีการศึกษาปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของแพทย์แต่ละประเภทแยกจากกัน เพื่อ ความชัดเจนในการพัฒนากลยุทธ์และนโยบายการคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน.th
dc.format.extent360 แผ่น : ; 30 ซม.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2009.147
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/937th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccHF 5549.5 .J63 น37 2009th
dc.subject.otherแพทย์ -- ความพอใจในการทำงาน -- ไทยth
dc.subject.otherความมั่นคงในการทำงาน -- ไทยth
dc.subject.otherคุณภาพชีวิตการทำงาน -- ไทยth
dc.titleการคงอยู่ของแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนของประเทศไทยth
dc.title.alternativePhysician retention in community hospitals of Thailandth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-diss-b166478.pdf
Size:
10.13 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text