ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไมโครพลาสติกปนเปื้อนและพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกในชีวิตประจำวัน

dc.contributor.advisorวิสาขา ภู่จินดาth
dc.contributor.authorภารดี พันธุ์ศรีวรพงษ์th
dc.date.accessioned2022-11-15T04:52:38Z
dc.date.available2022-11-15T04:52:38Z
dc.date.issued2021th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2564th
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร ไมโครพลาสติกปนเปื้อน ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความเชื่อ ความกลัวเรื่องไมโครพลาสติกปนเปื้อน การเปิดรับข้อมูลข่าวสารไมโครพลาสติกปนเปื้อน กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกในชีวิตประจำวัน และเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหา ไมโครพลาสติกปนเปื้อนตามบริบทของประเทศไทย รวมถึงพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกในชีวิตประจำวันที่ช่วยลดปัญหาจากขยะพลาสติก ซึ่งใช้วิธีการวิจัย 2 ส่วน คือ 1) การวิจัยเอกสาร ประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และ 2) การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามผ่านระบบออนไลน์ Google Form เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เคยทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไมโครพลาสติก จำนวน 678 ตัวอย่าง จากการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของ W.G. Cochran แล้วสุ่มตัวอย่างด้วยการโควตาเป็นสัดส่วน และแบบบังเอิญ จากนั้นประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS โดยใช้สถิติ t-Test/ One-way ANOVA/ Multiple Response/ Pearson’s Correlation Coefficient และMultiple Linear Regression Analysis      ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกันจะมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไมโครพลาสติกปนเปื้อนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านความเชื่อ ความกลัว และทัศนคติเรื่องไมโครพลาสติกปนเปื้อนกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไมโครพลาสติกปนเปื้อนมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง ส่วนความรู้เรื่องไมโครพลาสติกมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ ในส่วนความสัมพันธ์ของความรู้ ความเชื่อ ความกลัวเรื่อง ไมโครพลาสติกปนเปื้อน การเปิดรับข้อมูลข่าวสารไมโครพลาสติกปนเปื้อน กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกในชีวิตประจำวันมีความสัมพันธ์กันโดยสามารถทำนายพฤติกรรมฯ ของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลได้ในระดับต่ำที่ร้อยละ 27.3 ทั้งนี้ แนวทางการบริหารจัดการเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาไมโครพลาสติกปนเปื้อนในเชิงรุกให้ความสำคัญกับการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์พลาสติก มีความชัดเจนในการมอบหมายงาน และจัดสรรงบประมาณ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการใช้งานเจ้าหน้าที่หรืองบประมาณที่ผิดประเภทไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ซึ่งส่งผลให้การดำเนินงานเรื่องที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เชิงแก้ไขให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้าใจเรื่องผลกระทบด้านลบจากไมโครพลาสติกปนเปื้อน เพื่อให้ประชาชนเห็นผลกระทบทางลบที่ตนจะได้รับจากการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีบนคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี รวมถึงให้มีสิทธิ์ตรวจสอบการทำงานได้ทุกขั้นตอน เชิงป้องกันให้ความสำคัญกับการจัดทำระบบโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการจัดการขยะพลาสติก เพื่อให้มีโครงข่ายการจัดการขยะพลาสติกที่มีประสิทธิภาพ และสร้างวินัยให้ประชาชนปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดด้วยความเต็มใจ และเชิงรับให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้ สร้างความร่วมมือ และความพร้อมในการปฏิบัติงาน เพื่อให้ทุกภาคส่วนรับรู้ถึงปัญหามลพิษจากพลาติก นำไปสู่ความเต็มใจในการร่วมมือกัน ประกอบกับมีความพร้อมในการปฏิบัติงานต่อไป ทั้งนี้การดำเนินงานทุกอย่างจะต้องเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ในส่วนของพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกในชีวิตประจำวันพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยโดยรวมของพฤติกรรมที่ช่วยลดการเกิดขยะพลาสติกในระดับที่ทำบ่อยครั้งโดยเป็นการใช้ถุงผ้า เป้ กระเป๋าหรือตะกร้า เพื่อลดการรับถุงพลาสติกหูหิ้วให้ได้มากที่สุดth
dc.description.abstractThe purpose of this study is to investigate factors affecting the contaminated microplastics Information exposure and behavior of using plastic in daily life among people in the Bangkok Metropolitan Region, to search for the relationship between knowledge, belief and fear about microplastics contamination with exposure to information on microplastics contaminated and behavior of using plastic products in daily life and then to propose appropriate guidelines for preventive management on problems of microplastics contamination including the behavior of using plastic products in daily life that helps reduce problems of plastic waste. The 2 parts of the research methods: 1) Documentary research together with the interview guide to key informants, policy analysts, and practitioners 2) Survey research by the Google Form online questionnaire collecting data from people are living or working in Bangkok Metropolitan Region had known about microplastics. The sample size calculation using the formula of W.G. Cochran was carried out to obtain 678 samples then proportional and random quota sampling was deployed. Then process the data with SPSS t-Test/ One-way ANOVA/ Multiple Response/ Pearson's Correlation Coefficient and Multiple Linear Regression Analysis.      The results of the study showed that personal factors involving different gender and educational level had different information exposure to microplastics contamination statistically significantly at 0.05 level. Factors of belief, fear and attitude about microplastics contamination with information exposure microplastics contamination showed a high level of positive correlation. There was a low positive correlation between knowledge of microplastics and information exposure about microplastics contamination. The knowledge, belief and fear of microplastics contamination with information exposure on microplastics contaminated and the behavior of using plastic products in daily life were related by explaining the variation of the behavior of people in Bangkok Metropolitan Region at a low level of 27.3 percent, therefore propose guidelines for management to prevent and correct the problem of microplastics contamination. The S-O approach focus on the life cycle assessment of all plastic products that originate from microplastics. Assign workers clearly and appropriate budget allocation in order to avoid problems with the use of staff or the wrong type of budget that does not meet the purpose. This results in inefficient operations on related matters. The W-O approach focus on creating an understanding of the negative impacts of microplastics contamination to let people see the negative impact they can have from microplastics contamination on the environment and having a good quality of life based on good environmental quality including having the right to inspect the work at every step. The S-T approach focus on establishing an infrastructure system that supports plastic waste management to have an effective plastic waste management network and create discipline for people to follow the prescribed guidelines willingly and the W-T approach focus on creating awareness cooperation and ready to work for make all sectors aware of the problems of plastic pollution lead to a willingness to cooperate as well as being ready to continue working. However, all operations must be appropriate for the context of each area. As for the behavior of using plastic products in daily life, it was found that the sample group had average of the behaviors that reduce plastic waste by using cloth bags, backpacks, bags, or baskets in order to reduce the receipt of plastic bags as much as possibleth
dc.format.extent235 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb214301th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6067th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectไมโครพลาสติกth
dc.subjectการวิเคราะห์นโยบายth
dc.subjectMicroplasticsth
dc.subjectExposureth
dc.subjectPolicy analysisth
dc.subjecte-Thesisth
dc.subject.otherพลาสติกth
dc.subject.otherการเปิดรับข่าวสารth
dc.subject.otherPlasticth
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารไมโครพลาสติกปนเปื้อนและพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกในชีวิตประจำวันth
dc.title.alternativeFactor affecting the contaminated microplastics information exposure and behavior of using plastic in daily lifeth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineการจัดการสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b214301.pdf
Size:
6.33 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
202 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections