การบริหารงานของฝ่ายสาธารณสุข เทศบาลนครกรุงเทพ

dc.contributor.advisorชุบ กาญจนประกร, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorสนอง ยุตตานนท์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:17:01Z
dc.date.available2014-05-05T09:17:01Z
dc.date.issued1967th
dc.date.issuedBE2510th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ผู้เขียนมุ่งศึกษาเฉพาะกระบวนการบริหารงานของฝ่ายสาธารณสุข เทศบาลนครกรุงเทพ ในแง่ของการจัดบริการสาธารณสุขแก่ชุมชนโดยมุ่งศึกษาในสาระ 10 ประการ คือ.-th
dc.description.abstract1. ขอบเขตของงานสาธารณสุขหรือวัตถุประสงค์ขององค์การ.th
dc.description.abstract2. กระบวนการวางแผนth
dc.description.abstract3. การวางรูปงานและการจัดส่วนบริหาร.th
dc.description.abstract4. การแบ่งงานและการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ.th
dc.description.abstract5. การกำหนดสายการบังคับบัญชา.th
dc.description.abstract6. การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนth
dc.description.abstract7. การสรรหาและการคัดเลือกth
dc.description.abstract8. การพัฒนาเจ้าหน้าที่th
dc.description.abstract9. การควบคุมงาน และth
dc.description.abstract10. การประสานงานth
dc.description.abstractผู้เขียนได้สรุปว่า ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของเทศบาลนครกรุงเทพเพื่อสร้างสรรค์สังคมให้บรรลุถึงภาวะอันเพียบพร้อมด้วยความสบายในทางกาย ทางใจ และทางสังคม และการบริหารของเทศบาลนครกรุงเทพมุ่งหวังผลในการป้องกัน ซึ่งตรงกันข้ามกับทางการแพทย์อันมุ่งหวังในทางรักษา ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรจะได้มีการดำเนินงานทั้งในทางป้องกันและทางรักษาควบคู่กันไป และในการบริหารงานสาธารณสุขนั้นต้องมีการวางแผนไว้อย่างรอบคอบ งานระดับกอง การแบ่งงานและการกำหนดหน้าที่ส่วนใหญ่ไม่แน่นอนชัดแจ้ง ควรจะได้รับการแก้ไขปรับปรุง ในเรื่องตำแหน่ง การกำหนดตำแหน่งยังไม่เพียงพอควรมีตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นเพิ่ม ควรวางมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งขึ้นไว้เพื่อแสดงชื่อตำแหน่ง หน้าที่ และความรับผิดชอบ วุฒิ ชั้น ตำแหน่ง และคุณสมบัติอื่น ๆ และอัตราเงินเดือนสำหรับตำแหน่งต่าง ๆ ไว้ให้เป็นมาตรฐาน นอกจากนี้ควรจะได้ศึกษาวิจัยถึงภาวะค่าครองชีพของพนักงานเทศบาลเพื่อกำหนดมาตรฐานเงินเดือน ขั้นให้ได้สัดส่วนกับค่าครองชีพ ในด้านการสรรหาและการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานก็เป็นไปในวงแคบ เนื่องจากพนักงานเทศบาลมีเกียรติภูมิต่ำ ควรจะได้หาทางส่งเสริมเกียรติภูมิให้เป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อจูงใจให้ได้คนดีมาทำงาน และควรจะได้มีการฝึกอบรม วางแผนการฝึกอบรม ตลอดจนติดตามและประเมินผลการฝึกอบรมพนักงานเทศบาลเพื่อพัฒนาตัวบุคคล และเทศบาลนครกรุงเทพควรใช้วิธีการคุมงานตามแผน ควรใช้ศิลปของการเป็นหัวหน้างาน และใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการควบคุมงาน กำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน และสรรหาข้อคิด เป็นต้น สำหรับในด้านการประสานงานนั้นปรากฏว่ายังขาดเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อก่อให้เกิดการประสานงานที่ดีหลายประการ เช่น การกำหนดวัตถุประสงค์ที่แน่นอนชัดเจน การวางแผน การจัดรูปงาน การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานและตัวบุคคล ซึ่งอุปสรรคต่าง ๆ นี้เป็นผลให้เกิดอุปสรรคต่อการประสานงานที่ดี.th
dc.format.extent102 หน้า.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1020th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjectกรุงเทพมหานครth
dc.subject.lccRA 541 .T3 ส15th
dc.subject.otherการบริหารสาธารณสุขth
dc.titleการบริหารงานของฝ่ายสาธารณสุข เทศบาลนครกรุงเทพth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b10406.pdf
Size:
2.57 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections