ความเป็นไปได้ด้านการชดเชยทรัพย์สินของโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเชียงใหม่

dc.contributor.advisorวิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorถาวร ทันใจth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:04Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:04Z
dc.date.issued1996th
dc.date.issuedBE2539th
dc.descriptionMethodology: Chi-square testth
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2539.th
dc.description.abstractการศึกษาความเป็นไปได้ด้านการชดเชยทรัพย์สินของโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์คือ / 1. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ด้านการชดเชยทรัพย์สินของโครงการ / 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในแนวเวนคืนต่อโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเชียงใหม่ / 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเป็นไปได้ด้านโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเชียงใหม่ ขอบเขตการศึกษาครอบคลุมแหล่งข้อมูล 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ประเภทที่สองเป็นข้อมูลสนามได้แก่ ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในแนวเส้นทางที่คาดว่าโครงการจะพาดผ่าน จำนวน 1,719 ครัวเรือนโดยกำหนดตัวอย่างจำนวน 430 ครัวเรือน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลได้ดำเนินการทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ผลการศึกษาเป็นดังนี้ / 1. ด้านผู้รับผลกระทบหรือประชาชนที่ถูกเวนคืน มีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อยทั้งนี้เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ตามแนวแส้นทางโครงการเป็นกังวลในเรื่องการชดเชยทรัยพ์สินและปัญหาที่กระทบต่อตนเองในทางลบทั้งในด้านความไม่คุ้มค่าหรือความเป็นธรรมและด้านความลำบากที่จะหาแหล่งที่อยู่ใหม่ ดังนั้นโอกาสที่จะให้ความร่วมมือต่อโครงการจึงต่ำ / 2. ด้านความคต้องการของหน่วยงานรับผิดชอบได้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพบว่า มีความเป็นไปได้ค่อนข้างน้อยเช่นกันทั้งนี้ เนื่องจากระยะเวลาการคืนทุนที่ยาวนานจึงไม่ดึงดูดให้มีการลงทุนประกอบกับเงินลงทุนค่าก่อสร้างโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าชดเชยทรัพย์สินมีมูลค่าที่สูง ดังนั้นผลตอบแทนการลงทุนในภาพรวมจึงต่ำเมื่อเทียบกับโครงการอื่นที่การทางพิเศษตัดสินใจดำเนินการ.th
dc.description.abstract3. ด้านประชาชนชาวเชียงใหม่ พบว่า มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีความสนใจอยากเห็นโครงการเกิดขึ้นเพื่อการแก้ปัญาหาจราจรในเมืองซึ่งมีแนวโน้วรุนแรงขึ้นโดยมีเงื่อนไขว่า โครงการจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของเมือง / 4. ด้านนโยบาย พบว่า มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากเนื่องจากผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทุกระดับเห็นด้วยกับการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนขนาดกลางซึ่งมีผลดีกว่าการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลดังนั้น จึงมีโอกาสได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อการก่อสร้างและการชดเชยทรัยพ์สินตลอดจนผลักดันให้โครงการสำเร็จแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารไปก็ตาม / ดังนั้น จึงอาจกล่าาวได้ว่าระดับความเป็นไปได้ของโครงการด้านการชดเชยทรัพย์สินโดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง / สำหรับ ความเป็นไปได้ด้านผู้รับผลกระทบจากการเวนคืนทรัพย์สินของโครงการได้ทำการทดสอบความสัมพันธ์กับปัจจัยเหตุพบว่า ปัจจัยเหตุที่มีความสำคัญได้แก่ / 1. ความคิดเห็นต่อผลกระทบด้านวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของเมือง / 2. ปัญหาการชดเชยทรัพย์สินได้แก่ การเวนคืนทั้งกรณีที่ดิน อาคารที่พักอาศัยและทรัพย์สินบนที่ดินนั้น / ผลการศึกษาข้างต้น จึงมีข้อเสนอแนะว่า หากต้องการให้โครงการนี้มีความเป็นไปได้ จำเป็นต้อง 1) มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ถูกเวนคืนรับรู้และเข้าใจประโยชน์ของโครงการต่อสาธารณะ 2) ให้ความสำคัญแก่การเวนคืนทรัยพ์สินของผู้ได้รับผลกระทบโดยจ่ายค่าชดเชยในอัตราที่จูงใจ และดำเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อลดผลกระทบให้น้อยที่สุด 3) รัฐบาลโดยกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกำกับดูแลการทางพิเศษแห่งประเทศไทยต้องกำหนดนโยบายเชิงรุกเพื่อให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยเห็นความจำเป็นของการลงทุน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาของเมืองท่องเที่ยวแม้จะได้ผลตอบแทนต่ำ 4) สนับสนุนให้หน่วยงานท้องถิ่นและภาคเอกชนมีส่วนร่วมดำเนินการโดยการร่วมหุ้นในการลงทุน ทั้งนี้เพื่อกระจายความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยให้ประชาชนและองค์กรประชาชนในท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมมากขึ้น อันจะช่วยให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพมากกว่าการดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจส่วนกลางเพียงผู้เดียว.th
dc.description.abstractThe study was conducted to find out (1) The feasibility of the mass transit system project to compensate for the expropriation, (2) The Opinions of the people who lived in the area to be expropriated in Chiang Mai, and (3) Factors related to the feasibility of the project. The data were derived from two sources--related documents and field data. The field data were collected by using a questionnaire. The multi-sampling was employed to get the sample group. Which consisted of 430 households out of 1,719 living in the area to be expropriated. The data were then analyzed both qualitatively and quantitatively. The findings were as follows: / 1. Those effected by the project. It was very unlikely for the people to yield good cooperation. They were worried about the unfairness of the compensation and the negative impact on their lives as they had difficulty finding a new place for settlement. / 2. The agency concerned. The expressway Authority of Thailand considered it very unlikely to set up the mass transit system in Chiang Mai, as it took a long time before the project could make a profit and the returns were also low when compared to other projects. / 3. Chiang Mai People. The majority of people in Chiang Mai wanted the project to be materialized in order to alleviate the increasing traffic problem, but the project must not adversely affect the environment. / 4. Policy makers. The administrators at all levels supported the project on the ground that the medium-sized mass transit system was better than personal cars. Therefore, it was very likely to have a financial support for both the construction and the compensation, even though there was some change in the administrative members. / It could thus be said that the possiblity to have enough budget for compensation for expropriation was moderate. / Some important factors related to the feasibility of the project as cited by the people to be affeted by the project were / 1. They thought the project would affect the culture and the city's identity. / 2. There would be problems of compensation for land and the buildings on it. For the project to be carried out, the following were recommended: 1. Creating an understanding of the importance of the project among those to be affected 2. Providing fair compensation so as to reduce the negative impacts among those affected. 3. The Ministry of Interior, must set up an aggressive policy for the Expressway Authority of Thailand to see the importance of investment in such a project in solving the traffic problems in a tourist city like Chiang Mai in spite of low returns. 4. Local agencies and private enterprises should be encouraged to participate in the project through investment. This would help lesson the burden of the Expressway Authority of Thailand and would make the project management more effective than have the state enterprise responsible for it alone.th
dc.format.extent[13], 131 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนที่ ; 30 ซมth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1996.40
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1691th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccHE 5544.55 .C5 ถ27th
dc.subject.otherรถไฟฟ้า -- ไทย -- เชียงใหม่th
dc.titleความเป็นไปได้ด้านการชดเชยทรัพย์สินของโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเชียงใหม่th
dc.title.alternativeThe compensation feasibility study of the Chiang-Mai Mass Transit System Projectth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการจัดการการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b76628.pdf
Size:
2.28 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections