การกำหนดและการนำแผนสามเขตยุทธศาสตร์การรณรงค์เลือกตั้งไปปฏิบัติ : กรณีวิจัยปฏิบัติการในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราช

dc.contributor.advisorแสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorไกรสร แจ่มหอมth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:19Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:19Z
dc.date.issued1993th
dc.date.issuedBE2536th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.th
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องการกำหนดและการนำแผนสามเขตยุทธศาสตร์การรณรงค์เลือกตั้งไปปฏิบัตินี้ ผู้วิจัยได้นำกรอบแนวคิดทฤษฎีซึ่งถูกกำหนดเป็นตัวแบบการรณรงค์แล้ว เข้าร่วมปฏิบัติการในศูนย์ปฏิบัติการรณรงค์เลือกตั้งของพรรค ข. ในเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัดนครศรีธรรมราช ช่วงระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม 2535 ถึงวันที่ 12 กันยายน 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจถึงจุดอ่อนและข้อด้อยของการรณรงค์เลือกตั้งในอดีตทั้งในแง่หลักคิดและวิธีการ และนำมาสร้างตัวแบบแผนปฏิบัติการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง รวมทั้งการนำตัวแบบดังกล่าวมาทดลองใช้ปฏิบัติจริง เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขและข้อจำกัดในการนำไปปฏิบัติth
dc.description.abstractการเลือกตั้งซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 13 กันยายน 2535 สำหรับเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผู้สนใจสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 9 คน 3 ทีม คือ ทีมพรรค ก. ทีมพรรค ข. และทีมพรรค ค. โดยคู่แข่งขันที่แท้จริงนั้นคือผู้สมัครทีม ก. กับผู้สมัครทีม ข. และผู้สมัครทีม ค. ถือว่าเป็นผู้ที่อยู่นอกลู่การแข่งขัน เพราะเมื่อพิจารณาจากการทำกิจกรรมของผู้สมัครในช่วงระยะเวลาของการรณรงค์แล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นผู้สมัครเพื่อให้พรรคมีจำนวนผู้สมัครครบจำนวนตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งผู้สมัครพรรค ก. และผู้สมัครพรรค ข. ต่างก็เคยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งสำหรับพื้นที่เขตเลือกตั้ง ค. นี้มาแล้วทั้งสิ้น ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ผู้สมัครพรรค ก. ได้คะแนนเรียงตามลำดับคือ ลำดับ 1, 2, และ 4 และผู้สมัครพรรค ข. ได้คะแนนเรียงตามลำดับ คือ ลำดับที่ 3, 5, และ6 โดยแต่ละลำดับได้รับคะแนนจำนวนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ผู้สมัครพรรค ข. มีความสนใจที่จะใช้งานวิชาการทำการกำกับ ตรวจสอบและชี้นำปฏิบัติการทางการเมืองให้มีความเป็นระบบมากยิ่งขึ้น จึงได้อนุญาตให้ผู้วิจัยและคณะเข้าร่วมดำเนินการวิจัยในครั้งนี้th
dc.description.abstractกรอบแนวคิดของสามเขตยุทธศาสตร์การรณรงค์นี้ ให้ความสำคัญกับการจำแนกประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่มีความตื่นตัวทางการเมือง (Active) ซึ่งมีจำนวนน้อย และส่วนที่เฉื่อยชา หรือเฉยเมยทางการเมือง (Passive) ซึ่งมีจำนวนมาก โดยส่วนที่เฉยเมยนี้ยังสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ เฉยเมยปัญญา (Intellectual Passive) และเฉยเมยไร้เดียงสา (Ignorance Passive) เนื่องจากพื้นฐานพรรคการเมืองของประเทศไทย ยังมิได้มีลักษณะเป็นพรรคมวลชน (Mass Party) อย่างแท้จริง ดังนั้นยุทธศาสตร์ของการรณรงค์ จึงอยู่ที่การพยายามช่วงชิงประชาชนส่วนที่เฉยเมย ให้มาใช้สิทธิเลือกพรรคและนักการเมืองฝ่ายตน แม้ว่าประชาชนกลุ่มเฉยเมยนี้จะไม่มีความตื่นตัวทางการเมือง แต่กรอบคิดดังกล่าวก็แสดงให้เห็นว่า การที่จะให้ประชาชนกลุ่มเฉยเมย 2 กลุ่มนี้ ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น ต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มเฉยเมยปัญญาจะให้ความสำคัญกับประเด็นทางการเมืองที่ขัดแย้งกัน จนทำให้ตนเองต้องออกมาชี้ประเด็นในเรื่องความถูก ผิด ส่วนกลุ่มเฉยเมยไร้เดียงสานั้นจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่น ๆ ทางโครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมเป็นหลัก จึงจะกำหนดวิธีการที่จะให้ประชาชนกลุ่มนี้ออกมาใช้สิทธิได้th
dc.description.abstractผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการร่วมปฏิบัติงาน จดบันทึกข้อมูล สังเกตอย่างมีส่วนร่วม สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวมทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างด้วย ข้อสรุปจากการรวบรวมข้อมูลและประเมินผลหลังจากที่ได้นำตัวแบบดังกล่าวไปทดลองใช้แล้ว มีดังนี้th
dc.description.abstract1. ตัวแบบสามเขตยุทธศาสตร์การรณรงค์ มีความแจ่มชัดในการจำแนกกลุ่มเป้าหมายและวิธีการที่จะใช้กับแต่ละกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผลth
dc.description.abstract2. เนื่องจากสังคมไทยส่วนใหญ่ยังมีลักษณะปะปนกันสองส่วน คือ สังคมดั้งเดิม และสังคมที่อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นตัวแบบสามเขตยุทธศาสตร์จึงมีความเหมาะสมกว่าในการรับใช้แนวทางทุจริต-น้ำเน่า มากกว่าแนวทางสุจริต-น้ำดีth
dc.description.abstract3. รูปแบบการจัดองค์กรการบริหารศูนย์อำนวยการเลือกตั้ง มีข้อจำกัดหลายประการโดยเฉพาะงานด้านปิด ผู้วิจัยมีความเห็นว่า โดยหลักการแล้วสามารถนำตัวแบบสามเขตยุทธศาสตร์มาใช้ในการวิเคราะห์กลุ่มและพื้นที่เป้าหมายได้ แต่ในแง่เชิงปฏิบัติการแล้ว อาจจะต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดองค์กรการบริหารต่อไป.th
dc.description.abstract4. แม้ว่าทีมงานผู้ปฏิบัติงานรณรงค์เลือกตั้งทั้งหลายจะทราบ และเข้าใจถึงเหตุผลและความจำเป็นของการทำงานอย่างเป็นระบบ แต่ในทางปฏิบัติก็ยังมีหลายคนที่ปฏิบัติงานในลักษณะยึดตัวบุคคลมากกว่ายึดระบบ ซึ่งจะต้องพยายามทำความเข้าใจและแก้ไขจุดอ่อนในเรื่องเหล่านี้ต่อไป.th
dc.description.abstract5. ทีมวิจัยเป็นผู้มีประสบการณ์ทางการเมืองเกี่ยวกับการเลือกตั้งน้อยมาก ดังนั้นในการวิจัยเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ งานที่ปฏิบัติส่วนใหญ่ยังคงเป็นงานทางวิชาการ ซึ่งสามารถรองรับระบบและปฏิบัติได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ในขณะเดียวกันผู้วิจัยก็ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนรวมทั้งพรรคและนักการเมืองฝ่ายคู่แข่งขันได้สร้างเสริมประสบการณ์ให้th
dc.description.abstract6. พรรคการเมืองส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองในระดับท้องถิ่น ผู้วิจัยเห็นว่า หากมีการนำตัวแบบสามเขตยุทธศาสตร์มาปฏิบัติในหลาย ๆ พื้นที่ เพื่อเดินในแนวทางสุจริต-น้ำดี มากกว่าแนวทางทุจริต-น้ำเน่าแล้ว ในระยะยาวพรรคและนักการเมืองก็จะให้ความสำคัญกับการจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองระดับท้องถิ่นth
dc.format.extentก-ญ, 134 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1993.40
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1785th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccJQ 1749 .A53N35 ก97th
dc.subject.otherสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -- ไทย -- การเลือกตั้งth
dc.subject.otherการเลือกตั้ง -- ไทยth
dc.titleการกำหนดและการนำแผนสามเขตยุทธศาสตร์การรณรงค์เลือกตั้งไปปฏิบัติ : กรณีวิจัยปฏิบัติการในเขตเลือกตั้ง ค จังหวัดนครศรีธรรมราชth
dc.title.alternativeFormulation and implementation of three strategic areas of election campaign plan : a case of action research in constituency C of Nakhonsrithammarat Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineนโยบายและการวางแผนทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b9812.pdf
Size:
3.4 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections