ปัญหาการตรวจสอบการจับกุมเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553

dc.contributor.advisorวราภรณ์ วนาพิทักษ์th
dc.contributor.authorพิชญ์สินี วงศ์ปราโมทย์th
dc.date.accessioned2016-10-07T04:20:51Z
dc.date.available2016-10-07T04:20:51Z
dc.date.issued2014th
dc.date.issuedBE2557th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการตรวจสอบการ จับกุมตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 โดยศึกษาแนวทางปฏิบัติของกระบวนการจับกุมเด็กหรือเยาวชนตามกฎหมายทั้งของ ประเทศไทยและของต่างประเทศ รวมถึงวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการ ตรวจสอบการจับกุมตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว พ.ศ. 2553 เนื่องจากพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว พ.ศ. 2553 ได้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและ ครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 ในหลายกรณี รวมทั้งกรณีเกี่ยวกับ กระบวนการตรวจสอบการจับกุมเด็กและเยาวชนซึ่งแตกต่างไปจากเดิม เช่น การสอบสวนคดีอาญา ตามมาตรา 72 ได้กาหนดให้พนักงานสอบสวนนาตัวเด็กหรือเยาวชนซึ่งถูกจับไปศาลเพื่อให้ตรวจสอบ การจับกุมภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนไปถึงที่ทาการของพนักงานสอบสวน (ไม่ นับเวลาเดินทาง) เพื่อให้ศาลตรวจสอบว่าการจับกุมและปฏิบัติต่อเด็กหรือเยาวชนว่าเป็นไปโดยชอบ ด้วยกฎหมายหรือไม่ เว้นแต่เป็นคดีที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าอาจเปรียบเทียบปรับได้ ซึ่งหากการ จับกุมเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ศาลต้องสั่งให้ปล่อยตัวเด็กหรือเยาวชนไป ถือเป็นหลักการที่มี การบัญญัติเพิ่มเติมขึ้นใหม่โดยศาลจะมีบทบาทสาคัญในการตรวจสอบเพื่อถ่วงดุลการใช้อานาจและ ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนในการจับกุมและสอบสวนเด็กหรือเยาวชน เป็นต้น ผู้ศึกษาได้ศึกษาบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 แล้วพบว่า บทบัญญัติในส่วนของการตรวจสอบการจับกุมมี ข้อบกพร่องและปัญหาในการปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายโดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกที่ผ่านมา ซึ่งผู้พิพากษาในศาลเยาวชนและครอบครัวแต่ละแห่งรวมทั้งบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมที่ เกี่ยวข้องมีความเห็นในการตีความและการบังคับใช้กฎหมายแตกต่างกัน เป็นเหตุให้มีผลกระทบต่อ สิทธิและสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนค่อนข้างมาก ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงเห็นสมควรให้มีการแก้ไขปัญหาการตรวจสอบการจับกุมเด็ก และเยาวชน โดยปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 72 และมาตรา 73 วรรคสาม ในส่วนบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการตรวจสอบการจับกุม เพื่อแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่เกิดจากช่องว่างทางกฎหมาย หรือ การตีความกฎหมายที่มีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ควรให้มีการแก้ไขปัญหาในด้านการบริหาร ควบคู่กันไปด้วย เช่น ในระหว่างการควบคุมตัวเด็กและเยาวชนนั้น พนักงานสอบสวนต้องจัดสถานที่ พานักให้เป็นสัดส่วนที่ชัดเจน พร้อมจัดให้มีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ หรือที่ปรึกษา กฎหมายให้มาประจาการเพื่อช่วยเหลือดูแล และอานวยความยุติธรรมให้แก่เด็กและเยาวชนตลอด ช่วงระยะเวลาก่อนส่งตัวไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุม หรือจัดให้มีเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยเหลือดูแลและ อานวยความยุติธรรมทานองเดียวกับเจ้าหน้าที่อินเทค (Intake Officer) ในประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ควรให้มีการประชุมสัมมนาหรือการอบรม ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ผู้พิพากษา ทนายความ หรือที่ปรึกษากฎหมาย เพื่อให้การ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันโดยปราศจากข้อสงสัยหรือข้อกังขาจากบิดา มารดา หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง เพื่อให้เด็กหรือเยาวชนได้รับความเป็นธรรมและได้รับความ คุ้มครองสวัสดิภาพตามสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากลแห่งสหประชาชาติth
dc.format.extent183 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb185246th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3204th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนth
dc.subject.otherพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553.th
dc.subject.otherกระบวนการยุติธรรมสำหรับเยาวชนth
dc.titleปัญหาการตรวจสอบการจับกุมเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553th
dc.title.alternativeThe problems of the juvenile arrest inspection in accordance with the juvenile and family court and its procedures act, B.E. 2553th
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b185246.pdf
Size:
2.28 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections