การศึกษาคุณลักษณะของสื่อประเพณีจองพารา และการนำไปใช้ในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน

dc.contributor.advisorกุลทิพย์ ศาสตระรุจิ
dc.contributor.authorกรกนก สนิทการ
dc.date.accessioned2023-01-17T08:03:12Z
dc.date.available2023-01-17T08:03:12Z
dc.date.issued2017
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง “การศึกษาคุณลักษณะของสื่อประเพณีจองพารา และการนําไปใช้ใน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดแม่ฮ่องสอน” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล (Keys Informent) สําคัญจํานวน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน และผู้นํากลุ่มชาวบ้านในการ จัดงานจํานวน 5 คน 2) กลุ่มหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานคือสภาวัฒนธรรมบ้านเมืองปอน อําเภอขุนยวม และ นักวิชาการผู้ดูแลในส่วนงานด้านวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วน ตําบลบ้านเมืองปอน จํานวน 2 คน และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม จํานวน 1 ครั้ง ในช่วงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 15 พฤษภาคม 2559 ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของประเพณีจองพาราจากอดีตจนถึงปจจุบันนั้น มีความแตกต่างกันอยู่ในส่วนรูปแบบโดยในอดีตจะเป็นการทําเองของแต่ละบ้าน แต่ในปจจุบันนั้น มีการจัดทําเป็น “โครงการอบรมและร่วมอนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีจองพารา” และมีการ เดินขบวนแห่จองพาราเพิ่มขึ้นมา ในด้านเนื้อหา คือในอดีตประเพณีจองพาราเป็นประเพณีที่ แสดงออกถึงความศรัทธาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสุขให้ครอบครัวและตนเอง แต่ใน ปัจจุบันเป็นประเพณีที่มีวัตถุประสงค์ไว้เพื่อสืบสานวัฒนธรรมและใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งในส่วนของการนําไปใช้ในการท่องเที่ยวนั้น ประเพณีจองพารามีหน้าที่เป็น สื่อ และ สาร โดยที่มีการปรับตัวใน ด้านรูปแบบและเนื้อหา แต่ยังคงคุณค่าและความหมาย ซึ่งเป็นรากที่สําคัญของประเพณีไว้อยู่โดยเจ้าของวัฒนธรรมคือคนในชุมชนบ้านเมืองปอนเองโดยมีการ ยินยอมและเห็นด้วยในการนําไปประเพณีจองพาราไปเป็นสื่อในการส่งเสริมการท่องเที่ยว แต่ ถึงแม้กระนั้นก็ยังคงความหวงแหนในวัฒนธรรมของตนและคอยเฝ้าระวังอยู่เสมอ และจากการนําเอาสื่อประเพณีไปใช้ในการท่องเที่ยวครั้งนี้นั้น ก็ได้สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านเมือง ปอนทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ได้มีการให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ข้อเสนอแนะในงานวิจัยชิ้นนี้ คือ จากการที่นักท่องเที่ยวซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเป้าหมายนั้นยังไม่มีการตอบรับกลับ หรือ สนใจอยากมาเยี่ยมชมงานประเพณีจองพาราแบบเจาะจงลงไปนั้น ส่วนหนึ่งผู้วิจัยคาดว่ามาจากการขาดใช้สื่ออื่นๆ ในการโปรโมทงานประเพณีจองพารา โดย ในงานวิจัยชิ้นนี้ยังคงไม่มีผลออกมาให้เห็นในเรื่องของการใช้สื่ออื่นth
dc.format.extent140 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.105
dc.identifier.otherb199265th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6219
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมth
dc.titleการศึกษาคุณลักษณะของสื่อประเพณีจองพารา และการนำไปใช้ในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดแม่ฮ่องสอนth
dc.title.alternativeA study on characteristics of the traditional media “Jong Pa Ra Festival” and its use in cultural tourism in Mae Hong Son Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการth
thesis.degree.disciplineนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b199265.pdf
Size:
4.19 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections