การทดสอบประสิทธิผลของสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ 3 ชนิด : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ใช้แรงงานสตรีในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ

dc.contributor.advisorพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorปราณี ฤกษ์ปาณีth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:10Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:10Z
dc.date.issued1993th
dc.date.issuedBE2536th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.th
dc.description.abstractโรคเอดส์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ เพราะเป็นโรคที่เมื่อปรากฏอาการแล้วผู้ป่วยจะต้องเสียชีวิตทุกราย ไม่มียาใดรักษาให้หายได้ แต่สามารถป้องกันได้โดยการให้ความรู้เพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเอดส์ สื่อจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญเพราะสื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดความรู้จากผู้ส่งไปยังผู้รับโดยกระบวนการสื่อความหมาย ซึ่งมีสื่อหลายประเภทที่ใช้ในการเผยแพร่ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสื่อให้ความรู้ 3 ชนิด : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ใช้แรงงานสตรีในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้แรงงานสตรี จำนวน 150 คน จาก 3 โรงงาน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 50 คน ต่อ 1 โรงงาน แต่ละกลุ่มจะได้รับการทดลองใช้สื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ต่างกัน ได้แก่ วีดีโอวิชาการ บุคลากรทางแพทย์ และวีดีโอบันเทิง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง คือ ก่อนการทดลองใช้สื่อและหลังการทดลอง โดยใช้เวลาเก็บข้อมูลแต่ละกลุ่มภายใน 1 วัน ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานไว้สองประการ คือ ประการแรก หลังการทดลองใช้สื่อแล้ว กลุ่มตัวอย่างทั้งสามกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิดีโอวิชาการ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และกลุ่มวิดีโอบันเทิงจะมีความรู้เพิ่มขึ้น ประการที่สอง สื่อวีดีโอบันเทิงจะเป็นสื่อที่มีประสิทธิผลมากที่สุด สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ Chi-Square, One-Way ANOVA, Multiple Classification Analysis และ T-Test Pair และ Means Tables.th
dc.description.abstractผลการวิจัย พบว่า.th
dc.description.abstract1. ภายหลังการทดลองใช้สื่อ กลุ่มตัวอย่างทั้งสามมีความรู้เพิ่มขึ้นth
dc.description.abstract2. บุคลากรทางการแพทย์เป็นสื่อที่มีประสิทธิผลมากที่สุดth
dc.description.abstractข้อเสนอแนะth
dc.description.abstract1. ควรใช้สื่อบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น เพื่อรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์th
dc.description.abstract2. ควรเพิ่มข้อคำถามในการวัดระดับความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์มากขึ้นในการศึกษาครั้งต่อไป.th
dc.format.extent101 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1993.41
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1726th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccRA 644 .A25 ป17th
dc.subject.otherโรคเอดส์ -- การป้องกันและควบคุมth
dc.subject.otherสื่อมวลชนในสุขศึกษาth
dc.titleการทดสอบประสิทธิผลของสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ 3 ชนิด : ศึกษาเฉพาะกรณีผู้ใช้แรงงานสตรีในโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการth
dc.title.alternativeThe tests of effectiveness of three AIDS educational media : a study of female factory workers in Samutprakan Provinceth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการวิเคราะห์ทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b5107.pdf
Size:
1.44 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections