ความพึงพอใจของผู้ประกันตนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการบริการทางการแพทย์ ภายในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 : กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

dc.contributor.advisorดารารัตน์ อานันทนะสุวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorสมพร ตั้งสะสมth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:16Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:16Z
dc.date.issued1994th
dc.date.issuedBE2537th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.th
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ประกันตน ต่อบริการทางการแพทย์ 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทั่วไปของผู้ประกันตนกับระดับความพึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์ 3. เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคของผู้ประกันตนต่อการขอรับบริการทางการแพทย์th
dc.description.abstractผู้วิจัย ได้เก็บรวบรวมจากผู้ประกันตนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เคยมีประสบการณ์ ขอรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลสังกัดประกันสังคม จำนวน 340 คน ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยได้ใช้ปัจจัยในการชี้วัด ความพึงพอใจจากการศึกษาของอเดย์ และ แอนเดอร์เซน เป็นหลักตัวชี้วัดความพึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์ ประกอบไปด้วย 6 ด้าน คือ 1. ด้านความสะดวกที่ได้รับจากสถานพยาบาล 2. ความหลากหลายของการบริการ 3. อัธยาศัยความสนใจของเจ้าหน้าที่ 4. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย จากเจ้าหน้าที่ 5. การยอมรับคุณภาพของการบริการ 6. ความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายในการประกันตนth
dc.description.abstractผลการวิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้ประกันตนที่มีต่อบริการทางการแพทย์ โดยส่วนรวม อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับความพึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์แต่ละด้าน ได้แก่ ความหลากหลายของการบริการ อัธยาศัยความสนใจของเจ้าหน้าที่ และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยจากเจ้าหน้าที่ อยู่ในระดับสูง ส่วนความสะดวกที่ได้รับจากสถานพยาบาล การยอมรับคุณภาพของการบริการ และความคุ้มค่าของค่าใช้จ่ายในการประกันตน กับ ระดับความพึงพอใจต่อบริการทางแพทย์ พบว่า ระดับการศึกษา การได้รับข้อมูลข่าวสารด้านบริการทางการแทพย์ และประเภทสถานประกอบการ มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ส่วน เพศ อายุ รายได้ ประสบการณ์ที่เคยใช้บริการจากสถานพยาบาลอื่น ๆ และประเภทสถานพยาบาล ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับด้านปัญหาอุปสรรคต่อการขอรับบริการทางการแพทย์ พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับความไม่สะดวกจากสถานพยาบาล เนื่องจาก สถานที่ตั้งของสถานพยาบาลอยู่ไกลจากที่ทำงานและที่พักอาศัย การใช้เวลารอคอยในสถานพยาบาลเสียเวลานานth
dc.description.abstractจากผลการศึกษา มีข้อเสนอแนะว่า สำนักงานประกันสังคม ควรเร่งรัดแก้ไขระเบียบการให้ผู้ประกันตนเป็นผู้เลือกสถานพยาบาลเองโดยเร็ว และควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารอย่างต่อเนื่อง โดยแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ควรให้ความสำคัญ คือ สถานประกอบการของผู้ประกันตนth
dc.format.extent132 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1994.56
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1763th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccHD 7096 .T52B3 ส16th
dc.subject.otherประกันสังคม -- ไทย -- กรุงเทพฯth
dc.titleความพึงพอใจของผู้ประกันตนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการบริการทางการแพทย์ ภายในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 : กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงานth
dc.title.alternativeThe satisfaction of insured persons in Bangkok Metropolitan area on medical services under social security act BC 2533 : the case of non-occupational injury or sicknessth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการวิเคราะห์และวางแผนทางสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b9859.pdf
Size:
2.21 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections