อิทธิพลของพฤติกรรมการแสวงหาข่าวสารธรรมะพุทธศาสนาต่อการลดความเครียดและการเพิ่มความสุขของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.advisorประทุม ฤกษ์กลาง
dc.contributor.authorประพิมพันธ์ เป็นสุขพร้อม
dc.date.accessioned2023-01-23T03:20:06Z
dc.date.available2023-01-23T03:20:06Z
dc.date.issued2017
dc.date.issuedBE2560th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลธรรมะ ช่องทางของ สื่อสังคมออนไลน์ ประเภทของเนื้อหาธรรมะ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะ ที่มีผลต่อการลด ความเครียดและการเพิ่มความสุข โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจด้วยแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลกลุ่ม ตัวอย่างวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุเฉลี่ยอยู่ในช่วง 36-45 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 บาท สถานภาพโสด ตำแหน่งงานอยู่ในระดับปฎิบัติการ มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการแสวงหา ข้อมูลธรรมะเป็นประจำทุกวัน โดยใช้งานจากที่บ้านในช่วงเวลา 18.01-22.00 น.และใช้เวลา ประมาณ 1 ชั่วโมงขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีพฤติกรรมด้านประโยชน์ของข้อมูลข่าวสารธรรมะมากที่สุด รองลงมา คือด้านการยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในชีวิต และด้านการนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ตามลำดับ ในด้านช่องทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์แสวงหาข้อมูลธรรมะอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดย มีการใช้ช่องทางผ่านแอปพลิเคชันไลน์ มากที่สุด รองลงมา คือเฟซบุ๊ก ว.วชิรเมธี และกูเกิล กรุ๊ปส์ กลุ่มตัวอย่างมีการค้นหาประเภทเนื้อหาธรรมะอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการค้นหาข้อมูลธรรมะ ประเภทเนื้อหาด้านข้อคิดเกี่ยวกับธรรมะมากที่สุด รองลงมา คือ เนื้อหาประเภทกฎแห่งกรรม และ เนื้อหาเกี่ยวกับความสุขที่แท้จริงจากศาสนา ในส่วนของการใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะอยู่ใน ระดับปานกลางโดยใช้เพื่อเป็ นแนวทางในการดำเนินชีวิตมากที่สุด รองลงมาคือเพื่อเป็นที่ยึด เหนี่ยวจิตใจ และเพื่อหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต กลุ่มตัวอย่างมีการลดความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยในเรื่องธรรมะช่วยลดความวุ่นวายใจมากที่สุด รองลงมาคือ ธรรมะช่วยลด ความโกรธ และธรรมะช่วยลดความยึดมั่นถือมั่นในตนเอง และมีการเพิ่มความสุขอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยในเรื่องธรรมะทำให้ข้าพเจ้ามีสุขภาพจิตที่ดี ธรรมะทำให้สมองของข้าพเจ้ า ปลอดโปร่ง และธรรมะทำให้ข้าพเจ้ามีความสุข มากที่สุด รองลงมา คือ ธรรมะทำให้ชีวิตของข้าพเจ้า มีคุณค่า ธรรมะทำให้ข้าพเจ้านอนหลับสนิท และธรรมะทำให้ชีวิตของข้าพเจ้าดีขึ้น ตามลำดับ ผลการทดสสอบสมมุติฐานพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ตำแหน่งงานต่างกัน มีพฤติกรรมในการแสวงหาข้อมูลธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีกลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ต่างกัน มีการเปิดรับช่องทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่อแสวงหาข้อมูลธรรมะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิง อายุ 46-60 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้ระหว่าง 40,000-50,000 บาท สถานภาพหย่า มีการเปิดรับช่องทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่อแสวงหาข้อมูล ธรรมะมากที่สุด ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะประชากรด้าน อาชีพ และ ตำแหน่งงาน แตกต่างกันมี การเปิดรับช่องทางสื่อสังคมออนไลน์เพื่อแสวงหาข้อมูลธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน 3) กลุ่มตัวอย่างที่มีตำแหน่งงานต่างกัน มีการเปิดรับประเภทเนื้อหาธรรมะผ่านสื่อสังคม ออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่าผู้บริหารระดับกลางมีการเปิดรับประเภท เนื้อหาธรรมะแตกต่างกัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะประชากรด้าน เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานภาพสมรสแตกต่างกันมีการเปิ ดรับประเภทเนื้อหาธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน 4) กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ตำแหน่งงานต่างกัน มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะที่ได้มาจากการแสวงหาข้อมูลธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ไม่แตกต่างกัน 5) กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ตำแหน่งงานต่างกัน มีการลดความเครียดจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์แสวงหาข้อมูลธรรมะไม่แตกต่างกัน 6) กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ การศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส ตำแหน่งงานต่างกัน มีการเพิ่มความสุขจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการแสวงหาข้อมูลธรรมะไม่แตกต่างกัน 7) ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามพบว่า พฤติกรรมการแสวงหา ข้อมูลธรรมะมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ในระดับปานกลางและมี ความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับประเภทเนื้อหาธรรมะ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะ การลดความเครียด แต่กลับมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการเพิ่มความสุข ในด้านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ พบว่ามีความสัมพันธ์ เชิงบวกในระ ดับปานกลางกับประเภทเนื้อหาธรรมะ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะและการลดความเครียด แต่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการเพิ่ม ความสุข ในด้านประเภทเนื้อหาธรรมะ มีความสัมพันธ์ เชิงบวกกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูล ธรรมะและการลดความเครียดในระดับสูง แต่การเพิ่มความสุขมีกลับมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ ด้านการใช้ประโยชน์จากข้อมูลธรรมะ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับการลดความเครียด แต่มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับการเพิ่มความสุข ด้านการลดความเครียด มีความสัมพันธ์ เชิงบวกในระดับต่ำกับการเพิ่มความสุขth
dc.format.extent148 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2017.111
dc.identifier.otherb199271th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6226
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherธรรมะth
dc.subject.otherความเครียด (จิตวิทยา)th
dc.titleอิทธิพลของพฤติกรรมการแสวงหาข่าวสารธรรมะพุทธศาสนาต่อการลดความเครียดและการเพิ่มความสุขของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครth
dc.title.alternativeThe effects of dharma information seeking behavior through social media on stress reduction and increasing happiness of working age population in Bangkokth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการth
thesis.degree.disciplineนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b199271.pdf
Size:
1.54 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections