การฝึกอบรมข้าราชการในกระทรวงทบวงกรมฝ่ายพลเรือน : ศึกษาจากทัศนะของผู้รับผิดชอบโดยตรงในการบริหารงานฝึกอบรม

dc.contributor.advisorอมร รักษาสัตย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorประสิทธิ์ ดำรงชัยth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:17:12Z
dc.date.available2014-05-05T09:17:12Z
dc.date.issued1968th
dc.date.issuedBE2511th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.th
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาให้ทราบลักษณะปัญหาต่าง ๆ ในการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือนของไทยในส่วนรวม ในระดับกรม โดยตั้งวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้ 5 ประการ คือ.- 1. เพื่อทราบความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน 2. ทราบจำนวนหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารงานฝึกอบรมโดยตรง 3. ต้องการทราบชนิด หลักสูตร วิธีการ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม 4.ทราบความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วมรับผิดชอบหรือมีส่วนร่วมในงานฝึกอบรม 5. เพื่อทราบอุปสรรคในการบริหารงานฝึกอบรมth
dc.description.abstractจากผลการศึกษาปรากฏว่า การกำหนดให้การฝึกอบรมเป็นงานประจำส่วนหนึ่งของหน่วยราชการพลเรือนทุกกรม ย่อมให้ผลดีกว่าจะปล่อยให้แต่ละกรมจัดขึ้นตามความจำเป็นเฉพาะหน้าเป็นครั้งคราว การวางแผน การกำหนดหลักสูตร ตลอดจนการดำเนินงานในการฝึกอบรมให้เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องย่อมช่วยให้การฝึกอบรมได้รับผลดียิ่ง และความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างงานด้านการเจ้าหน้าที่และงานฝึกอบรมช่วยให้การฝึกอบรมบรรลุผลง่ายขึ้น นอกจากนี้ถ้าการการฝึกอบรมเป็นการฝึกอบรมงานบริหารราชการทั่วๆ ไป ควบคู่กันไปในสัดส่วนที่เหมาะสมกับการฝึกอบรมด้านเทคนิคเฉพาะอย่างย่อมจะให้ผลดีกว่าที่จะทำการฝึกอบรมด้านหนึ่งด้านใดโดยเฉพาะ อนึ่งความสำเร็จในการฝึกอบรมข้าราชการพลเรือนทุกระดับชั้นย่อมต้องอาศัยความสนับสนุนจากกลุ่มผู้นำทุกระดับชั้นภายในกรม เช่น การศึกษาครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดความคิดแก่ผู้เขียนเกี่ยวกับการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารงานฝึกอบรมและแนวทางที่จะส่งเสริมให้งานฝึกอบรมข้าราชการดำเนินไปได้ผลดียิ่งขึ้น คือ.-th
dc.description.abstract1. ควรให้มีการสำรวจความจำเป็นที่มีต่อการฝึกอบรม และมีการติดตามและประเมินผลth
dc.description.abstract2. การจัดหลักสูตรหรือโครงการฝึกอบรมควรจะกำหนดเป็นแผนระยะยาวโดยวางหลักสูตรที่จะทำการฝึกอบรมแยกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทวิชาที่มีลักษณะถาวร และวิชาที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอth
dc.description.abstract3. การจัดตัวผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยถือเอาระดับชั้นเป็นเกณฑ์ นับว่าเหมาะสมสำหรับข้าราชการไทย พื้นความรู้ของผู้เข้ารับกากรฝึกอบรมก็ควรให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกันth
dc.description.abstract4. สำนักฝึกอบรมควรเชิญผู้รับผิดชอบโดยตรงในการบริหารงานฝึกอบรมตั้งแต่ระดับหัวหน้าแผนกฝึกอบรมและผู้รับผิดชอบในด้านการบริหารงานบุคคลของทุกกรมมาเข้ารับการฝึกอบรมให้หมดth
dc.description.abstract5. ควรเชิญข้าราชการระดับอธิบดีและหัวหน้ากองให้เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรผู้อำนวยการฝึกอบรมth
dc.description.abstract6. ควรให้อาจารย์ผู้บรรยายซึ่งเชิญมาจากที่อื่นทราบพื้นฐานและลักษณะงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยส่วนรวมอย่างละเอียดพอสมควร.th
dc.description.abstract7. ควรมีศูนย์กลางการบริหารงานฝึกอบรมในส่วนรวมของประเทศขึ้นนอกเหนือจากที่แต่ละกรมจัดขึ้นเอง.th
dc.format.extent205 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1065th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccHF 5549.5 .T7 ป178th
dc.subject.otherการฝึกอบรมth
dc.subject.otherข้าราชการ -- การฝึกอบรมth
dc.titleการฝึกอบรมข้าราชการในกระทรวงทบวงกรมฝ่ายพลเรือน : ศึกษาจากทัศนะของผู้รับผิดชอบโดยตรงในการบริหารงานฝึกอบรมth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b9067.pdf
Size:
4.23 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections