ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการพึ่งตนเองในผู้สูงวัย

dc.contributor.advisorดุจเดือน พันธุมนาวินth
dc.contributor.authorวรนุช สิปิยารักษ์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:27:21Z
dc.date.available2014-05-05T09:27:21Z
dc.date.issued2009th
dc.date.issuedBE2552th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าจิตลักษณะและสถานการณ์มีความเกี่ยวข้องและมีอิทธพล ทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมการพุ่งตนเองและความพอใจในชีวิตของผู้สูงวัยมากน้อยเพียงใด ในกลุ่มผู้สูงวัย แต่ละประเภทและเพราะเหตุใด และเพื่อบ่งชี้กลุ่มผู้สูงวัยที่มีพฤตกรรมเหล่านี้น้อยและมีความพอใจในชีวิตน้อย รวมทั้งปัจจัยปกป้องกรอบแนวคิดในการิจัยมีพื้นฐานมาจากรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพนธ์นิยม ตลอดจนทฤษฎี และหลักการที่สําคัญทางจิตวิทยาทั้งในประเทศเช่นทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมและต่างประเทศเช่นแนวคิดการ สนับสนุนทางสังคม แนวคิดการเปรียบเทียบทางสังคม เป็นต้นกลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุจํานวน 441 แบ่งเป็นผู้สูงอายุชาย 110 คน (24.9%) และผู้สูงอายุหญิง 330 คน (74.8%) อายุเฉลี่ย 63 จากในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งขั้นกำหนดโควต้า ตัวแปรในงานวิจยนี้ประกอบด้วย 1) กลุ่มพฤติกรรมการการพึ่งตนเอง 3 ตัวแปรคือพฤติกรรมการ พึ่งตนเองด้านสุขภาพ พฤติกรรมการพึ่งตนเองด้านสังคมและพฤติกรรมการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ 2) กลุ่มจิต ลักษณะตามสถานการณ์ 3 ตัวแปรได้แก่การรับรู้คุณความดีของแผ่นดินการเปรียบเทียบทางสังคมและความรู้สึก สูญเสีย 3)กลุ่มจิตลักษณะและพฤกรรมเดิม 4 ตัวแปรได้แก่ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน แรงจูงใจใฝ๋สัมฤทธ์ ความชื่อทางพุทธศาสนาและวิถีปฏิบัติทางพุทธศาสนา 4) กลุ่มตัวแปรสถานการณ์ 3 ตัวแปรได้แก่ การ สนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว การสนับสนุนจากภาครัฐและประสบการณ์สูญเสีย และ 5) กลุ่มตัวแปรสังคมภูมิหลัง แบบวัดส่วนใหญ่เป็นแบบวัดชนิดมาตรประเมินรวมค่ามีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .68 ถึง ..92 ผลการวิจยที่สําคัญ 5 ประการได้แก่ประการแรก ตัวทำนายกลุ่มจิตลักษณะและพฤตกรรมเดิมและ สถานการณ์ร่วม 7 ตัวแปรสามารถทำนาย 1) การรับรู้คุณความดีของแผ่นดินในกลุ่มรวมได้ 44.5 % โดยมีตัวทำนาย ที่สําคัญคือวิถีปฏิบัติทางพุทธศาสนา แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ความเชื่อทางพุทธศาสนา และทำนายได้สูงสดในกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีคู่สมรส 56.2 % 2) การเปรียบเทียบทางสังคมในกลุ่มร่วมทำนาย ได้ 40.5 % มีตัวทำนายที่สําคัญคือแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ประสบการณ์สูญเสีย ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตนและทำนายได้สูงสุด 49.2 % ใน 2 กลุ่มย่อยคือกลุ่มผู้สูงอายุชายและกลุ่ม ผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ประจําและ 3) ความรู้สึกสุญเสียในกลุ่มร่วมทำนายได้ 9.9% โดยมีตัวทานายที่สําคัญคือ ประสบการณ์สูญเสียและทำนายได้สูงสุดในกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ประจําได้ 21.1 % ประการที่สอง จิตลักษณะและพฤตกรรมเดิมและสถานการณ์ร่วมกับตัวทำนายกลุ่มจิตลักษณะตาม สถานการณ์ร่วม 10 ตัวแปรสามารถทำนาย 1) พฤติกรรมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพในกลุ่มร่วมทำนายได้ 27.3% ตัวทำนายที่สําคัญคือลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมต้นการเปรียบเทียบทางสังคม การรับรู้คุณความดีของแผ่นดิน การสนับสนุนจากภาครัฐและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและทำนายได้สูงสุดในกลุ่มผู้สูงอายุที่ทํางาน ได้ 42.4% 2) พฤติกรรมการพึ่งตนเองด้านสังคมในกลุ่มร่วมทำนายได้ 30.5% มีตัวทำนายที่สําคัญคือ การรับรู้คุณ ความดีของแผ่นดิน การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน การเปรียบเทียบทาง สังคม การสนับสนุนจากภาครัฐและทำนายสูงสุดในกลุ่มผู้สูงอายุชาย 46.7% 3) พฤติกรรมการพึ่งตนเองด้าน เศรษฐกิจในกลุ่มร่วมทำนายได้ 37.3% มีตัวทำนายที่สําคัญคือการเปรียบเทียบทางสังคม แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การสนับสนุนจากภาครัฐ และทำนายสุงสุด 46.0% ใน 2 กลุ่มย่อยคือกลุ่มผู้สูงอายุพื้นที่ปริมณฑลและกลุ่ม ผู้สูงอายุที่มีลูกชายน้อย ประการที่สาม จิตลักษณะและพฤติกรรมเดิม สถานการณ์ จิตลักษณะตามสถานการณ์ร่วมกับ พฤติกรรมร่วม 13ตัวแปรสามารถทำนายความพอใจในชีวตในกลุ่มรวมได้ 55.7% มีตัวทำนายที่สําคัญคือ พฤติกรรมการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจ การเปรียบเทียบทางสังคม ความรู้สึกสูญเสีย การรับรู้คุณความดีของแผ่นดินและการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและทำนายได้สูงสุดในกลุ่มผู้สูงอายุที่ทํางาน 71.3 % ประการ ผลการจากวิเคราะห์อิทธพลเชิงเส้นปรากฏว่า ความพอใจในชีวิตได้รับอิทธพลทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) พฤติกรรมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ 2) วิถีปฏิบัติทางพุทธศาสนาและ 3) การ เปรียบเทียบทางสังคมโดยตัวแปรเชิงเหตุในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความพอใจในชีวิตได้ 46 % ประการสุดท้าย ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเร่งด่วนที่ควรพัฒนาคือผู้ที่มีพฤติกรรมการพึ่งตนเอง 3 ด้าน น้อยได้แก่ผู้สูงอายุที่มีอาชีพไม่มีเงินเดือนประจําและผู้สูงอายุที่มีการศึกษาน้อย โดยกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ควรได้รับ การพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้คุณความดีแผ่นดินและการเปรียบเทียบทางสังคม งานวิจัยในอนาคตควร เพิ่มตัวแปรอื่นๆ อาจเกี่ยวข้องกับการพึ่งตนเองของผู้สูงวัยเช่นตัวแปรจิตพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง และตัวแปรจากทฤษฎีของ Erikson เป็นต้นth
dc.format.extent391 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.2009.18th
dc.identifier.otherb162511th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2120th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherผู้สูงอายุ -- จิตวิทยาth
dc.subject.otherผู้สูงอายุ -- พฤติกรรมth
dc.subject.otherการพึ่งตนเองth
dc.titleปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการพึ่งตนเองในผู้สูงวัยth
dc.title.alternativePsycho-social correlates of self-independent behavior of older adultsth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมth
thesis.degree.disciplineพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b162511.pdf
Size:
17.85 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections