การเจริญเติบโตและบทบาทของกองทุนรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

dc.contributor.advisorปริยดา สุขเจริญสินth
dc.contributor.authorบัญชา สีหะวงษ์th
dc.date.accessioned2019-04-25T07:57:53Z
dc.date.available2019-04-25T07:57:53Z
dc.date.issued2018th
dc.date.issuedBE2561th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์การเงิน))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561th
dc.description.abstractการศึกษาการเจริญเติบโตและบทบาทของกองทุนรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของกองทุนรวมและอุตสาหกรรมกองทุนรวม รวมไปถึงศึกษาความสัมพันธ์ของอุตสาหกรรมกองทุนรวมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของกองทุนรวมและอุตสาหกรรมกองทุนรวม ได้ทำการแบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วน โดยในส่วนแรกเป็นการศึกษาปัจจัยจุลภาคที่ส่งผลต่อการเติบโตของกองทุนรวมในแต่ละประเทศ โดยมีการเก็บข้อมูลแบบ Panel Data และใช้การประมาณสมการถดถอย (Regression Analysis) ระหว่างปี 2554 – 2558 โดยมีการศึกษาแบบภาพรวมและการศึกษาแยกรายประเทศ โดยใช้ข้อมูลของ 3 ประเทศนำร่อง ASEAN CIS ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย พบว่า สำหรับภาพรวมของทั้ง 3 ประเทศ ปัจจัยกลุ่มประสิทธิภาพของกองทุนรวมและกลุ่มคุณลักษณะของกองทุนรวมส่งผลต่อการเติบโตของกองทุนรวม โดยในปัจจัยกลุ่มประสิทธิภาพของกองทุนรวม อัตราผลตอบแทนปรับด้วยความเสี่ยง (Risk adjust return) ที่สูงขึ้น ทำให้การเติบโตของกองทุนรวมเพิ่มมากขึ้น ส่วนปัจจัยกลุ่มคุณลักษณะของกองทุนรวม กระแสเงินทุนหมุนเวียน (Net flows) ไหลเข้า และการขยายตัวของขนาดของกองทุนรวม (Size) เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเติบโตของกองทุนรวม ส่วนอายุของกองทุน (Age) ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีทำให้การเติบโตของกองทุนรวมลดลง โดยที่ หากเป็นกองทุนรวมตราสารทุน (Equity fund) จะทำให้การเติบโตของกองทุนรวมเปลี่ยนแปลงสูงกว่ากองทุนรวมประเภทอื่น แต่ถ้าหากมีการลงทุนในต่างประเทศ (Foreign investment fund) จะส่งผลให้การเติบโตของกองทุนเปลี่ยนแปลงต่ำกว่ากองทุนรวมประเภทอื่น และเมื่อทำการศึกษาแยกรายประเทศพบว่า ในประเทศไทย กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุน หรือมีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ จะทำให้กองทุนรวมมีการเปลี่ยนแปลงของการเติบโตสูงกว่ากองทุนรวมที่ไม่มีนโยบายดังกล่าว ส่วนประเทศสิงคโปร์ พบว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้จะทำให้กองทุนรวมดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงของการเติบโตที่สูงกว่ากองทุนรวมที่ไม่มีนโยบายดังกล่าว ในขณะที่การศึกษาในประเทศมาเลเซียพบว่า กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนหรือมีนโยบายการลงทุนแบบผสมจะทำให้กองทุนรวมดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงของการเติบโตต่ำกว่ากองทุนรวมที่ไม่มีนโยบายดังกล่าว การศึกษาในส่วนที่สอง เป็นการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวม ครั้งนี้ได้ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมในแต่ละประเทศ โดยมีการเก็บข้อมูลแบบอนุกรมเวลา และใช้วิธีการประมาณสมการถดถอย (Regression Analysis) ระหว่างปี 2554 – 2558 โดยมีการศึกษาทั้งในรูปแบบของภาพรวมทุกประเทศและรายประเทศ ซึ่งในภาพรวมของ 3 ประเทศพบว่า อัตราเงินเฟ้อ (Inflation Rate) มูลค่าตลาดหลักทรัพย์ (Stock Market Cap) และปริมาณเงินในระบบ (Money Supply) ที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยที่ทำให้การเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมเพิ่มมากขึ้น ส่วนอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate) เป็นปัจจัยที่ทำให้การเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมลดลง และเมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างในแต่ละประเทศแล้วพบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้อุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศสิงคโปร์เติบโตขึ้น และยังพบด้วยว่าราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ยังส่งผลต่อการเติบโตของกองทุนรวม โดยที่ราคาทองคำ (Gold Price) ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การเติบโตของกองทุนรวมในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียลดลง ส่วนราคาน้ำมันดิบ (Crude Oil Price) ส่งผลให้การเติบโตของกองทุนรวมในประเทศไทยลดลง แต่ทำให้อุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศมาเลเซียมีการเติบโตมากขึ้น จากความแตกต่างของประเทศที่นำเข้าและประเทศที่ส่งออกน้ำมัน ในส่วนของการศึกษาความสัมพันธ์ของอุตสาหกรรมกองทุนรวมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งได้ทำการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ระยะยาวรวมถึงการปรับตัวในระยะสั้น ระหว่างการเติบโตของอุตสาหรรมกองทุนรวมต่อกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุน รวมไปถึงศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล โดยการศึกษาครั้งนี้ ใช้ข้อมูลแบบอนุกรมเวลารายไตรมาส ของอุตสาหกรรมกองทุนรวม 5 ประเทศที่อยู่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระหว่างปี 2551 - 2558 ผลการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศไทยและฟิลิปปินส์มีความสัมพันธ์ในระยะยาวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยที่อุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศไทยส่งผลให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมของฟิลิปปินส์ แต่ในขณะเดียวกัน การปรับตัวทางเศรษฐกิจเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาวจากการเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศฟิลิปปินส์มีความรวดเร็วกว่าในประเทศไทย ส่วนในด้านความสัมพันธ์ระหว่างอุตสาหกรรมกองทุนรวมต่อการลงทุนพบว่า อุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย มีความสัมพันธ์ในระยะยาวกับการลงทุน โดยที่ อุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศไทยส่งผลให้เกิดการเติบโตของการลงทุนมากที่สุด แต่การปรับตัวเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพในระยะยาวของการลงทุนในประเทศฟิลิปปินส์มีความรวดเร็วที่สุด ในส่วนของความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างอุตสาหกรรมกองทุนรวมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจพบว่า อุตสาหกรรมกองทุนรวมของประเทศไทยและฟิลิปปินส์เป็นสาเหตุของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วนความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลระหว่างอุตสาหกรรมกองทุนรวมกับการลงทุน พบว่า อุตสาหกรรมกองทุนรวมและการลงทุนของประเทศไทยเป็นสาเหตุซึ่งกันและกัน ส่วนอุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เป็นสาเหตุของการเติบโตของการลงทุน จากผลของการศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของกองทุนรวมและอุตสาหกรรมกองทุนรวม รวมถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมกองทุนรวมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการลงทุน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนและภาครัฐ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุน ให้มีการเติบโตและยั่งยืน อีกทั้ง ช่วยส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมกองทุนรวมให้เติบโตมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าth
dc.description.abstractThe purpose of this research was to study the factors affecting the growth of mutual funds and mutual fund industry, as well as the role of mutual funds in the economic development of the ASEAN Economic Community. In studying the factors affecting the growth of mutual funds and mutual fund industry, the research was divided into two sections. The first section primarily emphasized on identifying microeconomic factors that affected the growth of mutual funds in each country. A regression analysis was conducted through the use of panel data collected from three ASEAN CIS countries, namely Thailand, Singapore, and Malaysia, during 2011 to 2015; whereby data were analyzed on an overall and country-by-country basis. According to the results, it was evident that the effectiveness and the characteristics of mutual funds had an effect on the growth of mutual funds. Regarding the factors associated with the effectiveness of mutual funds, it was found that higher risk-adjusted returns led to higher growth of mutual funds. Meanwhile, in the aspect of the factors relating to the characteristics of mutual funds, it was apparent that the mutual fund inflows and size contributed to the growth of mutual funds. Alternatively, the annual increase in the fund age was correlated with the decline in the growth of mutual funds. In addition, the foregoing factors were found to have the highest impact on the growth of equity funds and the lowest impact on the growth of foreign investment funds. Upon analysis of the growth of mutual funds on a country-by-country basis, it was evident that the growth of mutual funds in Thailand was higher in those with an equity investment policy or a bond investment policy than those with neither of the policies. Similarly, in Singapore, mutual funds with a bond investment policy exhibited higher growth than those without the said policy. Nonetheless, it was found that the growth of mutual funds in Malaysia was lower in those with an equity investment policy or a mixed investment policy than those without such policy. The second section of this research focused on examining factors that affected the growth of the mutual fund industry in each country. Data were collected as a time series from 2011 to 2015, and regression analysis was conducted on an overall and country-by-country basis. Based on the overall analysis of the three countries, it was found that the increase in inflation rate, stock market capitalization, and money supply resulted in higher growth of the mutual fund industry. Nonetheless, the results indicated that exchange rate contributed to lower growth of the mutual fund industry. When considering the differences between each country, it was evident that the increase in GDP was one of the factors that led to the expansion of the mutual fund industry in Singapore. Likewise, commodity price was instrumental in the growth of mutual funds. Another notable factor that contributed to higher growth of mutual funds in Singapore and Malaysia was the increase in gold price. Furthermore, the increase in crude oil price was found to decelerate the growth of mutual funds in Thailand while accelerating the growth of mutual funds in Malaysia. Such contradiction was accounted for by the difference in the countries’ nature of oil consumption, specifically one being an importer and another being an exporter. Concerning the relationship between the mutual fund industry and economic development, this research examined the long-term correlation, including short-term adjustment and cause-effect relationship, between the growth of the mutual fund industry and the economic development and investment. Data of the mutual fund industry in five ASEAN countries during 2008 to 2015 were collected as a time series on a quarterly basis. According to the results, the mutual fund industry in both Thailand and the Philippines had a long-term correlation with economic development. Although the mutual fund industry in Thailand had a greater impact on economic growth, the Philippines was found to have faster economic adjustment to the long-run equilibrium in response to the growth of the mutual fund industry. With respect to the relationship between the mutual fund industry and investment, the results indicated that the mutual fund industry in Thailand, Malaysia, the Philippines, and Indonesia had a long-term correlation with investment; whereby Thailand was the country with highest investment growth driven by the mutual fund industry, and the Philippines was the country with fastest economic adjustment to the long-run equilibrium in respect of investment. Regarding the cause-effect relationship between the mutual fund industry and economic growth, the results revealed that the mutual fund industry in Thailand and the Philippines was the cause of economic growth. Moreover, it was evident that there was a cause-effect relationship between mutual fund industry and investment in Thailand. Meanwhile, in Malaysia, the Philippines, and Indonesia, the mutual fund industry was the driver of investment growth. The results of this research did not only highlight the importance of the factors affecting the growth of mutual funds and mutual fund industry, but also the effects of the mutual fund industry on economic growth and investment. Indeed, these results are beneficial for asset management companies and the public sector, specifically in achieving sustainable growth of mutual funds and developing the mutual fund industry to serve as the key driver of growth for economic development and investment.th
dc.format.extent83 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb204523th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4383th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subjecte-Thesisth
dc.subjectอาเซียนth
dc.subject.otherกลุ่มประเทศอาเซียนth
dc.subject.otherASEANth
dc.subject.otherกองทุนรวมth
dc.subject.otherการลงทุนth
dc.subject.otherประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนth
dc.subject.otherประชาคมอาเซียนth
dc.subject.otherสมาคมอาเซียนth
dc.subject.otherAECth
dc.subject.otherการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศth
dc.subject.otherการพัฒนาเศรษฐกิจth
dc.titleการเจริญเติบโตและบทบาทของกองทุนรวมต่อเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนth
dc.title.alternativeGrowth and role of mutual fund in ASEAN Economic Communityth
dc.typetext--thesis--master thesis
mods.genreThesis
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาการเศรษฐกิจth
thesis.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์การเงินth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b204523e.pdf
Size:
2.5 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
115 B
Format:
Plain Text
Description:
Collections