สัดส่วนผู้ถือหุ้นอาเซียนในประเทศไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorดนัยพงศ์ ขจรกิตติยุทธth
dc.date.accessioned2022-02-08T12:00:02Z
dc.date.available2022-02-08T12:00:02Z
dc.date.issued2016th
dc.date.issuedBE2559th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559th
dc.description.abstractการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทยนั้นนักลงทุนต่างชาติ ที่เข้า มาลงทุนในประเทศจะมีสถานะเป็นคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยกฎหมายฉบับนี้กําหนดให้คนต่างด้าวถือหุ้นในกิจการได้ไม่เกินร้อยละ 49 ซึ่งสัดส่วน ดังกล่าวนั้น นับเป็นอุปสรรคต่อการเปิดเสรีการลงทุนอาเซียนเป็นอย่างมาก ฉะนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงได้ค้นคว้าและวิจัยเพื่อหาแนวทางหรือมาตรการในการแก้ไขปัญหา ข้อกฎหมายว่าด้วยสัดส่วนผู้ถือ หุ้นต่างด้าวนี้ ในการกําหนดสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างด้าวของไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นมีปัญหา หลักๆ ที่สําคัญอยู่ 3 ประการ ดังนี้ 1) คํานิยามคนต่างด้าว กฎหมายไทยที่ใช้หลักเกณฑ์ในการกําหนดความเป็นนิติ บุคคลต่างด้าวโดยพิจารณาจากจํานวนหุ้นเพียงอย่างเดียวโดยมิได้คํานึงถึงอํานาจในการบริหารจัดการ ที่แท้จริงนั้นทําให้คนต่างด้าวอาศัยช่องว่างของกฎหมายโดยการให้บุคคลสัญชาติไทยประกอบกิจการ โดยใช้ชื่อของตนแทนคนต่างด้าว (Nominee) ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้เป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของ กฎหมายเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ หากนําคํานิยามคนต่างด้าวของประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์มาเปรียบเทียบกับไทยแล้วพบว่ากฎหมายของทั้ง 3 ประเทศไม่ได้มีการกล่าวถึงอํานาจ ใน การควบคุมและบริหารจัดการนิติบุคคลไว้อย่างชัดเจน เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีนโยบายเปิดเสรีให้ คนต่างด้าวสามารถเข้ามาลงทุนในกิจการได้เต็มสัดส่วนหุ้น (100%) จึงไม่มีปัญหาในเรื่องตัวแทนอํา พรางหรือ Nominee เช่นเดียวกับไทย 2) สัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างด้าว กฎหมายไทยห้ามมิให้คนต่างด้าวถือหุ้นในกิจการเกิน สัดส่วนร้อยละ 49 ซึ่งเป็นการปิดช่องทางไม่ให้มีการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน ในขณะที่กฎหมายของสิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์นั้นมีข้อจํากัดในเรื่องสัดส่วนการ ลงทุนเพียงไม่กี่สาขาและเป็นการจํากัดสัดส่วนการลงทุนในกิจการหลักๆ เท่านั้น ทั้งนี้ เพราะประเทศ เหล่านี้ต้องการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ ส่วนประเทศไทยนั้นเป็น ประเทศเดียวในอาเซียนที่ห้ามคนต่างชาติเข้ามาลงทุนในทุกสาขาบริการทั้งยังจํากัดสัดส่วนผู้ถือหุ้นใน ปริมาณที่น้อยซึ่งไม่สอดรับกับภาวะการลงทุนระหว่างประเทศในปัจจุบัน 3) สัญชาติผู้ถือหุ้นอาเซียน มีการตีความสัญชาติผู้ถือหุ้นอาเซียนเป็น 2 แนวทาง ดังน (1) แนวทางแรก หมายถึง คนชาติของประเทศสมาชิก (Party) (2) แนวทางที่สอง หมายถึง คนชาติของประเทศสมาชิก (Party) และคนชาติ ของรัฐอื่นที่ไม่ใช่ประเทศสมาชิกแต่เข้ามาจัดตั้งสํานักงานหรือประกอบกิจการในประเทศสมาชิก อาเซียน (Non-Party) อย่างมีนัยสําคัญ (Substantial Business Operation: SBO) ในการตีความสัญชาติผู้ถือหุ้นนั้นประเทศไทยมีความเห็นสอดคล้องกับแนวทางแรกที่จํากัด สัญชาติผู้ถือหุ้นควรมีเพียง 10 ชาติสมาชิกเท่านั้น ส่วนประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ มีความเห็นสอดคล้องกับแนวทางที่สองที่เห็นว่าสัญชาติผู้ถือหุ้นควรขยายให้ครอบคลุมถึงคนชาติของ รัฐอื่น (Non-Party) ที่เข้ามาลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย จากการศึกษาและวิเคราะห์พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และ ความตกลงระหว่างประเทศภายใต้ AEC รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องแล้วสามารถสรุป แนวทางหรือมาตรการในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกําหนดสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างด้าวของไทยได้ ดังนี้ 1) คํานิยามคนต่างด้าว แก้ไขความหมายของคํานิยามให้ครอบคลุมถึงที่มาของหุ้น ในนิติบุคคลไม่ว่าจะเป็นหุ้นทางตรงในสัดส่วนร้อยละ 49 (การถือหุ้นของคนต่างด้าวเอง) และ หุ้น ทางอ้อมในสัดส่วนร้อยละ 51 (การถือหุ้นของคนต่างด้าวโดยผ่านบุคคลสัญชาติไทย) 2) สัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างด้าว ควรปรับเพิ่มสัดส่วนผู้ถือหุ้นในกฎหมายให้สามารถถือ หุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 60 เพื่อเป็นการผ่อนปรนจากสัดส่วนเดิม (ไม่เกินร้อยละ49) ที่ใช้บังคับอยู่ 3) สัญชาติผู้ถือหุ้น การตีความสัญชาติผู้ถือหุ้นตามความตกลง ACIA นั้นควรจํากัด เฉพาะนักลงทุนจากชาติสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเท่านั้นth
dc.format.extent165 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb194167th
dc.identifier.urihttps://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5480th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherผู้ถือหุ้น -- สถานภาพทางกฎหมาย -- ไทยth
dc.subject.otherนักลงทุนต่างประเทศth
dc.titleสัดส่วนผู้ถือหุ้นอาเซียนในประเทศไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนth
dc.title.alternativeASEAN shareholder’s proportion in Thailand under the framework of AEC blueprintth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b194167.pdf
Size:
12.61 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
Collections