การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น : ศึกษากรณีการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด

dc.contributor.advisorบรรเจิด สิงคะเนติth
dc.contributor.authorภิรมย์พร ไชยยนต์th
dc.date.accessioned2017-02-14T03:29:33Z
dc.date.available2017-02-14T03:29:33Z
dc.date.issued2014th
dc.date.issuedBE2557th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557th
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการกระจายอานาจการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบการปกครองตนเอง ปัญหาและอุปสรรคของการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย และเพื่อวิเคราะห์แนวทางในการกระจายอานาจการปกครองส่วนท้องถิ่นและรูปแบบการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด โดยมีขอบเขตการศึกษา คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เรื่อง การปกครองส่วนท้องถิ่นและร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องโดยวิเคราะห์โครงสร้าง อานาจหน้าที่ การกำกับดูแล การคลังและงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น ตามแนวคิดการปกครองตนเอง จากการศึกษาพบว่าการปกครองท้องถิ่นไทยมีปัญหาด้านโครงสร้างที่ทับซ้อนกัน ปัญหาด้านอานาจหน้าที่ของท้องถิ่นที่ยังไม่ชัดเจน ปัญหาด้านการกำกับดูแลที่ราชการส่วนภูมิภาคกำกับดูแลท้องถิ่นจนขาดอิสระ ปัญหาด้านการคลัง งบประมาณที่ไม่เพียงพอและขาดการพัฒนา ปัญหาด้านการบริหารงานบุคคลซึ่งขาดการพัฒนาและความก้าวหน้าทางสายอาชีพ และปัญหาด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ประชาชนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นอย่างเพียงพอซึ่งข้อเสนอตามแนวคิดการปกครองตนเองมีดังนี้ เสนอให้ยุบราชการส่วนภูมิภาคให้รวมกับการปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อแก้ปัญหาโครงสร้างโดยให้“จังหวดปกครองตนเอง”เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นระดับจังหวดมีโครงสร้างภายใน 3 ฝ่ายมีสภาพลเมืองที่มาจากตัวแทนของประชาชนที่หลากหลาย ทาหน้าที่นาเสนอข้อเรียกร้องและปัญหาของประชาชนและตรวจสอบการทางานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นมีอานาจหน้าที่อย่างกว้างขวางและเป็นการทั่วไป รัฐส่วนกลางมีอานาจหน้าที่ในเรื่องหลักของประเทศ คือ ด้านการป้องกันประเทศ ด้านการคลังของรัฐและระบบเงินตรา ด้านการศาลหรือการยุติธรรม และด้านความสัมพันธ์ระหวางประเทศเท่านั้น ให้ท้องถิ่นขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีและเป็นการกำกับดูแลภายหลังการกระทาซึ่งให้อิสระแก่ท้องถิ่นมากขึ้น กำหนดอัตราการแบ่งสัดส่วนภาษีให้ท้องถิ่นเก็บไว้ร้อยละ 70 แบ่งให้รัฐส่วนกลางร้อยละ 30 ให้ท้องถิ่นมีอานาจในการกาหนดฐานภาษีท้องถิ่นและจัดเก็บภาษีในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น ให้บุคลากรของท้องถิ่นมีระบบการพัฒนาทางสายงานที่ชัดเจนและมีความเหมาะสมกับพื้นที่ และการมีส่วนร่วมของประชาชนมีการเสนอรูปแบบที่ชัดเจนและเป็นเงื่อนไขในการดำเนินการหรือตัดสินใจของท้องถิ่น ผู้วิจัยเห็นสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองตนเองในระดับจังหวัด ทั้งนี้มีข้อเสนอเพิ่มเติมให้มีกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายแม่บท ส่วนรายละเอียดให้ออกเป็นพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและแนวทางการพัฒนาของแต่ละจังหวัด การปรับโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ให้สภาพลเมืองมีหน้าที่โดยตรงในการสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรเพื่อส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นth
dc.format.extent290 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb186353th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3302th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยth
dc.subject.otherองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- การกระจายอำนาจth
dc.titleการกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น : ศึกษากรณีการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัดth
dc.title.alternativeDecentralization to local administrative agencies : a case study of self-government based upon the will of the people in the provincial levelth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b186353.pdf
Size:
2.85 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description:
Collections