ปัญหาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน

dc.contributor.advisorวริยา ล้ำเลิศth
dc.contributor.authorอภินันท์ ศรีศิริth
dc.date.accessioned2018-11-02T06:47:23Z
dc.date.available2018-11-02T06:47:23Z
dc.date.issued2015th
dc.date.issuedBE2558th
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (น.ด.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิด หลักการในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ได้รับ การยอมรับและถือปฎิบัติในระดับสากล กฎหมายและขั้นตอนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของประเทศไทย กับประเทศสมาชิกอาเซียน 2. ศึกษาแนวคิด หลักการในการใช้กฎหมายอาญาเกี่ยวกับการให้ความ ร่วมมือระหว่างประเทศในการส่งคนชาติ และคนไร้สัญชาติเป็นผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศสมาชิกอาเซียน 3. ศึกษาแนวคิดในการรวมกลุ่มภูมิภาคอื่นกับกลไกในการให้ความร่วมมือ ระหว่างประเทศสมาชิกในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตลอดทั้งขององค์การสหประชาชาติด้วย 4. วิเคราะห์ เชิงเปรียบเทียบการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศในทางอาญาในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่าง ประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงกรณี การส่งคนชาติและคนไร้ สัญชาติที่อาศัยอยู่ถาวรในประเทศเป็นผู้ร้ายข้ามแดน 5. เสนอแนะแนวทางในการแก้ไข เพิ่มเติม กฎหมายภายใน และแนวทางในการพัฒนารูปแบบ แนวคิด หลักการการให้ความร่วมมือในการส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนอย่างเป็นรูปธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน ภายใต้บริบทของ การรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน วิธีการศึกษาเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสารทางวิชาการเป็นหลัก โดยอาศัยข้อมูลปฐม ภูมิ เช่น อนุสัญญา สนธิสัญญาและกฎหมายภายใน และวรรณกรรมต่าง ๆ เช่น ตำรา หนังสือ ผลงาน ทางวิชาการ คาพิพากษา ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยสืบค้นข้อมูลมาจากฐานข้อมูลของ องค์การในประเทศและองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยมีขอบเขต ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม และประเทศไทย และยังศึกษาภาพรวมประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศด้วย โดยแบ่งกรอบการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายภายในของ ประเทศสมาชิกอาเซียน ส่วนสอง ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายระหว่างประเทศระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียนกับประเทศ เพื่อให้เข้าใจปัญหา อุปสรรคในการให้ความร่วมมือระหว่างประเทศใน การส่งผู้ร้ายข้ามแดน อันจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบ การกำหนดเงื่อนไขทาง กฎหมายต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยนำการรวมกลุ่มภูมิภาคอื่นของโลก ที่ผู้เขียนเห็น ว่าสำคัญ ได้แก่ ภูมิภาคยุโรป และภูมิภาคแอฟริกา มาประกอบการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผลจากการศึกษา พบว่า ปัญหาความหมาย ขอบเขตของการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ปัญหาภายใต้ สนธิสัญญาทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน ปัญหาสำคัญประการแรก คือ ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการสร้างความร่วมมือระหว่างกันน้อยมาก และสนธิสัญญาที่มีผลใช้บังคับยัง ไม่ทันต่อสถานการณ์ ทั้งมีความแตกต่างกันในส่วนของการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ปัญหาการ กำหนดเงื่อนไขความผิดที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนแก่กันได้ การกำหนดเงื่อนไขโทษประหารชีวิต การส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนแบบย่อ อีกทั้ง กรณีที่มีผลจากแนวคิด หลักปฎิบัติจากระบบกฎหมายอันเป็นพื้นฐานที่ แตกต่างกัน ได้แก่ การส่งคนชาติ และคนไร้สัญชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศข้ามแดน ซึ่งหากไม่กำหนด เป็นเงื่อนไขหนึ่งในสนธิสัญญาซึ่งจะมีขึ้นในอนาคต ย่อมเกิดปัญหาเขตอำนาจในทางอาญาซ้อน ส่วน ปัญหาภายใต้สนธิสัญญาพหุภาคีสำหรับความผิดร้ายแรง ได้แก่ การทุจริต อาชญากรรมข้ามชาติที่ จัดตั้งในลักษณะองค์กร และการก่อการร้าย คือ ข้อจำกัดฐานความผิด ไม่ครอบคลุมความผิดอาญาใน ลักษณะอื่น ๆ ส่วนปัญหาภายในกฎหมายภายในของประเทศสมาชิกอาเซียน คือ ล้าสมัย และไม่ สอดคล้องกับแนวปฎิบัติสากล เช่น เหตุปฎิเสธเพราะการเลือกปฎิบัติ การกำหนดโทษประหารชีวิต การนำกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนแบบย่อ อีกทั้ง ลักษณะเฉพาะของระบบการเมืองการปกครอง และแนวคิดของระบบกฎหมายอันเป็นพื้นฐานที่แตกต่างกัน ก็ส่งผลต่อการให้ความร่วมมือระหว่าง ประเทศในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนด้วย และประการสำคัญในปัจจุบัน ภายใต้การร่วมกลุ่มภูมิภาค อาเซียน ยังไม่ข้อตกลงแบบพหุภาคีระหว่างประเทศสมาชิกว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนทั้ง 10 ประเทศ ข้อเสนอแนะ การพัฒนารูปแบบ การกำหนดเงื่อนไขทางกฎหมายในการให้ความร่วมมือ ระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมภายในการรวมกลุ่ม ภูมิภาคอาเซียน ผู้เขียนเห็นว่า ควรจัดทำอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่าง ประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นสนธิสัญญาแบบพหุภาคี โดยมีเงื่อนไขทางกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ ความผิดที่ส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนแก่กันได้ ให้ใช้วิธีการแบบไม่ได้กาหนดฐานความผิดอาญาเฉพาะเจาะจงเป็นหลัก หลัก ความผิดอาญาสองรัฐ หลักการดาเนินคดีเฉพาะเรื่อง หลักการไม่ลงโทษซ้าในความผิดเดียวกัน ความผิดทางการเมือง ความผิดทางการทหาร ความผิดเกี่ยวกับการเงิน การส่งผู้ร้ายข้ามแดนซึ่งเป็น คนชาติและคนไร้สัญชาติ เงื่อนไขโทษประหารชีวิต อายุความในคดีอาญา การส่งผู้ร้ายข้ามแดนต่อ ประเทศที่สาม การจับชั่วคราว การส่งผ่านแดน การปฏิเสธคาร้องขอโดยศาลพิเศษในรัฐผู้ถูกร้องขอ การนิรโทษกรรม เหตุเลือกปฎิบัติ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกระบวน การยุติธรรม และ กระบวนการในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนแบบย่อ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด หลักการที่มีการพัฒนาในระดับ สากลและระดับภูมิภาค ตลอดทั้งต้องตระหนักในการนำแนวคิด หลักการในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนมา ใช้อย่างจริงจัง เพื่อความเป็นเอกภาพในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทุกรูปแบบ ใน ลักษณะเดียวกับสหภาพยุโรปและประชาคมเศรษฐกิจแห่งรัฐแอฟริกาตะวันตกth
dc.format.extent471 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.otherb190074th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3973th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.otherผู้ร้ายข้ามแดนth
dc.titleปัญหาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียนth
dc.title.alternativeProblem of extradition between Thailand and ASEAN member stateth
dc.typetext--thesis--doctoral thesisth
mods.genreDissertationth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะนิติศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelDoctoralth
thesis.degree.nameนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
b190074.pdf
Size:
5.81 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
fulltext
License bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Loading...
Thumbnail Image
Name:
license.txt
Size:
1.71 KB
Format:
Item-specific license agreed upon to submission
Description: