ปัจจัยทางครอบครัวและโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพุทธศาสนาของนักเรียนในชุมชนที่มีระดับการพัฒนาต่างกัน

dc.contributor.advisorดวงเดือน พันธุมนาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorพูนฤดี สุวรรณพันธุ์th
dc.date.accessioned2014-05-05T09:26:08Z
dc.date.available2014-05-05T09:26:08Z
dc.date.issued1994th
dc.date.issuedBE2537th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ ได้ศึกษาว่าอิทธิพลของครอบครัว โรงเรียน และชุมชนที่แตกต่างกันจะมีผลต่อจิตใจและพฤติกรรมของนักเรียนหรือไม่ โดยมีจุดมุ่งหมายในการวิจัยนี้ 3 ประการคือ ประการแรกเพื่อศึกษาอิทธิพลทางพุทธศาสนาของครอบครัวและโรงเรียนที่มีจิตใจและพฤติกรรมของเด็กประถมศึกษา ประการที่สองเพื่อศึกษาอิทธิพลของชุมชนที่มีระดับการพัฒนาต่างกันที่มีต่อจิตใจและพฤติกรรมของเด็ก ประการที่สามเพื่อศึกษาอิทธิพลร่วมระหว่างครอบครัว โรงเรียนและชุมชนต่อจิตใจและพฤติกรรมของเด็กth
dc.description.abstractกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 จากโรงเรียนจังหวัดสุพรรณบุรี 8 โรงเรียน รวมทั้งหมด 418 คน ซึ่ง 4 โรงเรียนอยู่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนาน้อย และอีก 4 โรงเรียนอยู่ในหมู่บ้านที่มีระดับการพัฒนามาก แล้วแยกประเภทเป็นโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนาน้อย และมากอย่างละ 2 โรงเรียน ตามเกณฑ์ 3 ด้านคือ สถานที่ตั้งอยู่ในหรือใกล้เขตวัด ด้านกิจกรรมพิเศษทางพุทธศาสนา และด้านความเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ในการเรียนการสอน โดยโรงเรียนที่มีลักษณะทั้ง 3 ด้านมาก จัดเป็นโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนามาก ส่วนโรงเรียนที่มีลักษณะทั้ง 3 ด้านน้อย จัดเป็นโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนาน้อย.th
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดและแบบสอบถาม ตัวแปรที่ศึกษาแบ่งเป็น 7 ประเภทคือ 1) ระดับการพัฒนาของชุมชน ใช้เกณฑ์ของคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช 2 ค.ผนวก จบฐ) 2) ความเคร่งพุทธศาสนาของครอบครัว วัดโดยแบบสอบถามมี 10 ข้อ 3) การส่งเสริมพุทธศาสนาในโรงเรียน วัดโดยการสังเกตและสัมภาษณ์หัวหน้าสถานศึกษามีจำนวน 10 ข้อ 4) ลักษณะพื้นฐานของเด็กนักเรียน ได้แก่ ตัวแปรทางด้านชีวสังคมภูมิหลังของนักเรียนผู้ตอบ และรวมทั้งการได้รับประสบการณ์ทางพุทธศาสนาจากโรงเรียน วัดโดยแบบวัด จำนวน 10 ข้อ 5) จิตลักษณะของนักเรียนมี 2 ด้าน ได้แก่ สุขภาพจิต และลักษณะมุ่งอนาคต วัดโดยแบบวัดเรื่องละ 20 ข้อ มีมาตร 6 หน่วยประกอบทุกข้อ 6) พฤติกรรมของนักเรียนมี 2 ด้าน ได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าว และการคบเพื่อนอย่างเหมาะสม วัดโดยแบบวัดเรื่องละ 15, 20 ข้อ มีมาตร 6 หน่วยประกอบทุกข้อ 7) คุณลักษณะทางพุทธศาสนา ในที่นี้คือ ศีล 5 วัดโดยใช้แบบวัด 25 ข้อ ๆ ละ 4 ตัวเลือกth
dc.description.abstractการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 3 ทาง (Threeway Analysis of Variance) การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ และศึกษาความสัมพันธ์ (Pearson's Correlation Coefficient) ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในกลุ่มที่แบ่งย่อยตามลักษณะชุมชนและโรงเรียนของผู้ตอบ.th
dc.description.abstractผลการวิจัยที่สำคัญมี 5 ประการ ประการแรกพบว่านักเรียนที่อยู่ในครอบครัวที่เคร่งพุทธศาสนามากและเรียนในโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนามาก เป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดีกว่า มีพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากกว่าและมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่ากลุ่มอื่น โดยเฉพาะนักเรียนที่อยู่ในครอบครัวที่เคร่งพุทธศาสนามากแต่โรงเรียนส่งเสริมพุทธศาสนาน้อย ซึ่งแสดงว่าถ้าครอบครัวและโรงเรียนมีการเน้นพุทธศาสนามากทั้งสองแห่งพร้อมกัน จะมีผลต่อเด็กมากทั้งทางจิตใจและพฤติกรรม นอกจากนั้นในการวิจัยครั้งนี้ ยังพบว่าโรงเรียนมีอิทธิพลต่อจิตใจและพฤติกรรมของนักเรียนมากกว่าครอบครัว.th
dc.description.abstractประการที่สอง นักเรียนในชุมชนที่พัฒนาน้อย มีการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากกว่า แต่กลับมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากกว่านักเรียนในชุมชนที่พัฒนามาก การวิจัยครั้งนี้จึงพบทั้งผลดี และผลเสียของชุมชนที่พัฒนามากต่อเด็กth
dc.description.abstractประการที่สาม เมื่อพิจารณาชุมชน โรงเรียนและครอบครัวไปพร้อมกัน พบว่าในชุมชนที่พัฒนามาก ถ้าโรงเรียนกับครอบครัวของเด็กเน้นพุทธศาสนามากทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว เด็กมีศีล 5 สูงกว่าและมีพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่า และมีการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากกว่าเด็กในโรงเรียนและครอบครัวที่เน้นพุทธศาสนาน้อยทั้งสองฝ่ายพร้อมกัน ผลวิจัยส่วนนี้แสดงว่าการพัฒนาของชุมชนจะไม่ส่งผลเสียต่อเด็ก ถ้าทางโรงเรียนและ/หรือครอบครัวของเด็กมีการปลูกฝังอบรมเด็กทางพุทธศาสนามากth
dc.description.abstractประการที่สี่ การมีศีล 5 สูงของนักเรียนขั้นอยู่กับการที่นักเรียนได้เรียนในโรงเรียนที่ส่งเสริมพุทธศาสนามาก นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง นักเรียนได้รับประสบการณ์ทางพุทธศาสนาจากโรงเรียนมาก เป็นนักเรียนที่มีสุขภาพจิต และการมุ่งอนาคตสูงด้วย นอกจากนั้นการวิจัยครั้งนี้ยังพบว่านักเรียนที่มีศีล 5 สูงนั้นเป็นผู้มีการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมมากด้วย แต่กลับพบว่าศีล 5 ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนth
dc.description.abstractประการที่ห้า จิตลักษณะ 3 ด้านคือ สุขภาพ ลักษณะมุ่งอนาคต และศีล 5 ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมได้มากที่สุด ในนักเรียนที่อยู่ในชุมชนที่พัฒนามากแต่ครอบครัวและโรงเรียนเน้นพุทธศาสนาน้อย (ทำนายพฤติกรรมการคบเพื่อนได้ร้อยละ 47) และพบว่าจิตใจกับพฤติกรรมของเด็กสอดคล้องกันมากในสภาพที่ครอบครัวและโรงเรียนเน้นพุทธศาสนามากและชุมชนพัฒนามาก (ทำนายพฤติกรรมก้าวร้าวได้ร้อยละ 31 และทำนายการคบเพื่อนได้ร้อยละ 27) มากกว่าสภาพที่ครอบครัวและโรงเรียนเน้นพุทธศาสนาน้อยและชุมชนพัฒนาน้อยด้วย (ทำนายพฤติกรรมก้าวร้าวได้ร้อยละ 25 และทำนายพฤติกรรมการคบเพื่อนได้ร้อยละ 15)th
dc.description.abstractจากผลการวิจัยนี้ จึงมีข้อเสนอแนะ 2 ประการคือ หนึ่งโรงเรียนประถมศึกษาต้องตระหนักถึงบทบาทสำคัญของการถ่ายทอดทางพุทธศาสนาให้กับนักเรียน ควรจัดประสบการณ์ทางพุทธศาสนาเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และรับรู้มากที่สุด พัฒนาให้เด็กนักเรียนมีศีล 5 สูง มีลักษณะมุ่งอนาคตสูงและมีสุขภาพจิตที่ดีมากขึ้น เพื่อให้เด็กมีการคบเพื่อนอย่างเหมาะสมและช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวลงได้ และประการที่สองการพัฒนาชุมชนให้เกิดผลดีต่อเยาวชนควรต้องพัฒนาครอบครัวและโรงเรียนให้มีความสอดคล้องกันทางด้านพุทธศาสนา โดยต้องมีการเน้นพุทธศาสนาทั้งครอบครัวและโรงเรียนควบคู่กันไป จึงจะเกิดผลดีต่อตัวเด็กมากที่สุดth
dc.format.extent18, 255 แผ่นth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.identifier.doi10.14457/NIDA.the.1994.32
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1712th
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccBQ 4570 .S6 พ415th
dc.subject.otherพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชนth
dc.subject.otherพุทธศาสนากับการศึกษาth
dc.titleปัจจัยทางครอบครัวและโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพุทธศาสนาของนักเรียนในชุมชนที่มีระดับการพัฒนาต่างกันth
dc.title.alternativeFamily and school factors as correlates of Buddhist characteristics of primary school children in communities with different levels of developmentth
dc.typetext--thesis--master thesisth
mods.genreThesisth
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.departmentคณะพัฒนาสังคมth
thesis.degree.disciplineการจัดการพัฒนาสังคมth
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.levelMastersth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
Files
Original bundle
Now showing 1 - 1 of 1
Thumbnail Image
Name:
nida-ths-b13700.pdf
Size:
4.44 MB
Format:
Adobe Portable Document Format
Description:
Full Text
Collections