รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา
Publisher
Issued Date
2012
Issued Date (B.E.)
2555
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
13, 372 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กนกพร ฉิมพลี (2012). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1197.
Title
รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา
Alternative Title(s)
Knowledge management models for local wisdom in wickerwork handicrafts : a case study of local community enterprises in Nakhon Ratchasima Province
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมามีวิธีดําเนินการวิจัยโดย การศึกษาจากเอกสารอ้างอิงและการศึกษาภาคสนามในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสานหมวกใบตาลบ้านคล้า อําเภอพิมาย 2) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มจัก สานผักตบชวา อําเภอจักราช 3) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบิงมิตรภาพ อําเภอโนนสูง และ 4) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์จากใบตาลบ้านยายพา อําเภอชุมพวง การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกตแบบมีส่วนรวมและไม่มีส่วนร่วม ไม่ตํ่ากว่า 3 ครั้ง การสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 20 คน การสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยแบ่งรูปแบบการจัดสนทนากลุ่มเป็น 2 ลักษณะคือ ลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ กลุ่มละประมาณ 3 ครั้งครั้งละ 4-9 คน ผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญรวมทั้งหมด 52 คน จากการศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่อง จักสาน มีองค์ประกอบที่สําคัญ 3 ประการ คือ ความรู้ภูมิปญญาท้องถิน กระบวนการจัดการความรู้และเงื่อนไขที่มีผลต่อการจัดการความรู้ ผลการศึกษาพบว่า 1) ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสานเกี่ยวข้องกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดสืบต่อกันมา จนกลายเป็นองค์ความรู้ประจําท้องถิ่นที่ผ่าน กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมและการปลูกฝังวิธีคิด การดำเนินชีวิตประจำวันให้แก่ลูกหลาน เพื่อ ปฏิบัติสืบต่อกันมา 2) กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรม เครื่องจักสาน ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนที่สําคัญได้แก่ (1) การกําหนดความรู้เกี่ยวกับการกําหนด ผลิตภัณฑ์ผ่านการคัดและตัดสินใจร่วมกันของสมาชิกกลุ่ม จากนั้นจึงนำไปสู่ (2) การแสวงหา และยึดกุมความรู้ที่มาจากภายในกลุ่มและภายนอก เพื่อให้เกิดความรู้เฉพาะของกลุ่ม และ นําไปสู่ (3)การแลกเปลี่ยนความรู้อย่างไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในกลุ่ม เพื่อให้สมาชิกมีความรู้และทักษะในการผลิตมากขึ้น และเป็นที่มาของ (4) การจัดเก็บความรู้ในตัวบุคคลและ (5) การถ่ายทอดความรู้มีรูปแบบการถ่ายทอดอย่างเป็นทางการและไม่เปนทางการโดยกระบวนการจัดการความรู้ดังกล่าวมีลักษณะเป็นวงจรทเมี่อถ่ายทอดความรู้ แล้วสามารถย้อนกลับไปกำหนดความรู้ในรูปแบบอื่นๆ ได้อย่างต่อเนื่องและ 3) เงื่อนไขที่ทําให้การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสานประสบความสำเร็จมี 4 เงื่อนไขที่สําคัญได้แก่ (1) ความรู้ด้านการจัดการความรู้ (2)วัฒนธรรมองค์การ (3) ภาวะผู้นํา และ (4) โครงสรางพื้นฐานรวมไปถึงข้อคนพบสำคญของการวิจัยคือ “การพึ่งตนเอง ” ของ กลุ่มวสาหกจชมชนทผลี่ตเครื่องจักสานซึ่งจากองคประกอบหลักทั้ง 3 ประการนั้นนําไปสู่การพึ่งตนเองของกลุ่มองค์การชุมชนได้อย่างเหมาะสมโดยมหลักการที่สําคัญได้แก่การมีผู้นําที่ เข้มแข็งมีความสามัคคีการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและการมีใจรักในด้านการจักสาน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012