Now showing items 2361-2380 of 3464

  • Thumbnail

    ความเป็นธรรมของการเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีอาญา 

    ระชานันท์ เฉลิมกิจ; วราภรณ์ วนาพิทักษ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีอาญา คือ กระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงก่อนการพิจารณา คดี ซึ่งคู่ความแต่ละฝ่ายจะได้ล่วงรู้ถึงพยานหลักฐานที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งประสงค์จะอ้างอิงเป็น พยานหลักฐานของตน การเปิดเผยพยานหลักฐานก่อนการพิจารณาคดีอาญา จึงเป็นกระบวนการหนึ่ง ของวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งพัฒนาแนวความคิดพื้นฐานจากหลักการของกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญาที่สําคัญ เป็นการยืนยันถึงหลักประกันแก่ผู้ต้องหาหรือจําเลยในการได้รับการพิจารณาคดี อย่างเป็นธรรม (Fair Trial) ประเทศไทยใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ (Civil Law) การดําเนินคดีอาญาเป็นไปตามหลักการ ดําเนินคดีอาญาโดยรัฐ (State ...
  • Thumbnail

    ความเป็นธรรมในทัศนะของชาวชุมชนมุสลิม : กรณีศึกษา ชุมชนธรณีคำ แขวงโคกแฝก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 

    วุฒิชัย สายบุญจวง; สุพรรณี ไชยอำพร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและลักษณะของความเป็นธรรมการ เสริมสร้างความเป็นธรรมในวิถีชุมชน และปัญหาอุปสรรคตลอดจนแนวทางแก้ไข้ ข้อเสนอแนะใน การเสริมสร้างความเป็นธรรม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลที่ สำคัญ (Key-informant)จำนวน 15คน ประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา ผู้อาวุโสในชุมชน ตัวแทนสตรี และตัวแทนเยาวชนที่มีบทบาทในงานพัฒนาชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลได้ยึดหลัก ตรรกะเทียบเคียงแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องควบคู่บริบท (Context) โดยใช้สถิติพรรณนา ประกอบ ผลการศึกษา พบว่า ความหมายของความเป็นธรรม คือ ...
  • Thumbnail

    ความเป็นเมืองและภูมิภาคนิยมกับพฤติกรรมการเลือกตั้งในประเทศไทย : แบบจำลองเชิงพื้นที่ 

    สุทธาสินี ลำภาษี; อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเมือง ความเป็นภูมิภาคนิยม กับพฤติกรรมการเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 โดยใช้ตัวแบบวิเคราะห์ถดถอยเชิงพื้นที่ (Spatial Error Regression Model) ดัชนีความเป็นเมืองพัฒนาจากการวิเคราะห์มุขสำคัญ (Principal Component Analysis) ซึ่งประกอบด้วยสองมุขสำคัญคือ ดัชนีเศรษฐกิจและสังคมของเมือง (USEI) และดัชนีความหนาแน่นของเมือง (UDI) การศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งรวบรวมข้อมูลจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยความหลากหลายของผลการเลือกตั้งจะศึกษาด้วยวิธี Normalized Entropy ...
  • Thumbnail

    ความเป็นเลิศในการบริการของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) 

    น้ำเพชร อยู่สกุล; อุดม ทุมโฆสิต, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010)

    การศึกษาวิจัยเรื่อง ความเป็นเลิศในการบริการของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัท การบินไทยจํากัด (มหาชน) ครั้งนี้ ใช้พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของบริษัทการบินไทย (มหาชน) จํากัด เป็นตัวอย่างของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณลักษณะที่สําคัญระหว่างกลุ่มพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ที่มีผลการปฏิบัติงานบริการ ดีเลิศ ปานกลางและต่ำรวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและ ทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของกลุ่มดีเลิศ ปานกลางและต่ำใน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเช ...
  • Thumbnail

    ความเป็นไปได้ด้านการชดเชยทรัพย์สินของโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเชียงใหม่ 

    ถาวร ทันใจ; วิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1996)

    การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการชดเชยทรัพย์สินของโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์คือ / 1. เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ด้านการชดเชยทรัพย์สินของโครงการ / 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่อาศัยอยู่ในแนวเวนคืนต่อโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเชียงใหม่ / 3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเป็นไปได้ด้านโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเชียงใหม่ ขอบเขตการศึกษาครอบคลุมแหล่งข้อมูล 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ประเภทที่สองเป็นข้อมูลสนามได้แก่ ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในแนวเส้นทางที่คาดว่าโ ...
  • Thumbnail

    ความเป็นไปได้ในการสร้างตัวแบบการรวมกลุ่มผ่านองค์กรเสมือนจริงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับร้านค้าปลีกขนาดเล็ก 

    วรรษ์ นาควิบูลย์วงศ์; วิชิต หล่อจีระชุณห์กุล, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2006)
  • Thumbnail

    ความเป็นไปได้ในการใช้ผักเบี้ยทะเล Sesuvium portulacastrum) บำบัดดินเค็ม 

    วรรณิสา พึ่งแสง; ธวัชชัย ศุภดิษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2009)
  • Thumbnail

    ความเสี่ยงในการเกิดภาวะล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของผู้สูงอายุไทย 

    สมพร เพชตะกร; เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณความเสี่ยงในการเกิดภาวะล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ โดยพิจาราณาในประเด็นของความชุกและความรุนแรงของการเกิดภาวะดังกล่าว นอกจากนี้ยังศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านสิทธิการรักษาพยาบาลและปัจจัยด้านสุขภาพที่มีต่อความเสี่ยงในการเกิดภาวะล้มละลายจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของผู้สูงอายุไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิของแผนงานวิจัยเรื่อง ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุไทย (Well-being of the Elderly in Thailand-HART) รอบที่ 2 จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2560 (WAVE 2)  ตัวอย่างของการศึกษานี้คือผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ...
  • Thumbnail

    ความเหมาะสมของการนำวิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ในการระงับข้อพิพาททางปกครองในศาลปกครอง 

    อมรรัตน์ อำมาตเสนา; บรรเจิด สิงคะเนติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองในศาลปกครอง และศึกษาว่าการนำวิธีการไกล่เกลี่ยมาใช้ระงับข้อพิพาทในคดีปกครองนั้นเหมาะสมหรือไม่หากนำมาใช้ควรจะมีขอบเขต หลักเกณฑ์และกระบวนการไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทในคดีปกครองในศาลปกครองอย่างไร ทั้งนี้การกำหนดหลักเกณฑ์หรือกระบวนการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครองนั้นดำเนินไปโดยถูกต้อง เหมาะสม รักษาไว้ซึ่งหลักการในทางกฎหมายมหาชน อีกทั้งยังจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมในคดีปกครองและคุ้มครองประโยชน์สาธารณะของประชาชนแ ...
  • Thumbnail

    ความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษารายจังหวัดในประเทศไทย 

    หัสนี อับดุลมายิส; ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    บทความนี้เสนอการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำ ของการศึกษาระดับจังหวัดพร้อมกับการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ได้เรียนของประชากรกลุ่มอายุ13 – 18 ปี โดยใช้ทฤษฎีทุนมนุษย์ และแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์เป็นกรอบการวิจัย ใช้ผลการสำรวจครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติปีพ.ศ. 2556 ซึ่งสะท้อนการไม่บรรลุเป้าหมายของดำเนินนโยบายแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่1การวิเคราะห์ขอ้ มูลสถิติและตัวชี้วัดทางการศึกษาที่เป็น ปัจจัยสำคัญต่อการประกอบการตัดสินใจในการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อยกระดับการศึกษา ระดับจังหวัด ผลสรุปสำคัญคือ อัตราการไม่ได ...
  • Thumbnail

    ความเหลื่อมล้ำระหว่างระบบประกันสุขภาพของภาครัฐในประเทศไทย 

    ณวัฒน์ แก้วนพรัตน์; ประสพโชค มั่งสวัสดิ์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    ประเทศไทยมีสิทธิในการรักษาพยาบาลจากภาครัฐที่ให้ความคุ้มครองกับประชาชนอยู่ 3ระบบ คือ 1. ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ 2. ระบบประกันสังคม และ 3. ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เนื่องจาก 3 ระบบนี้มีหน่วยงานต้นสังกัดที่คอยดูแลและให้ความคุ้มครองกับประชาชนที่แตกต่างกัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาหาความเหลื่อมล้ำา ที่เกิดจากความแตกต่างกันระหว่างสิทธิรักษาพยาบาล โดยวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำ ทั้งในเชิงข้อกำหนดและกฎระเบียบ และความเหลื่อมล้ำ ในเชิงคุณภาพของการให้บริการ
  • Thumbnail

    ความแปลกแยกของคนในชุมชนแออัดกับการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน : ศึกษากรณีชุมชนวังโสม กรุงเทพมหานคร 

    สุกัญญา ถมยา; จิระพร บูรณสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1994)

    งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาระดับความแปลกแยกของคนในชุมชนแออัด และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ 4 ด้านของความแปลกแยก คือ ความรู้สึกไร้อำนาจ ความรู้สึกไร้ความหมาย ความรู้สึกไร้บรรทัดฐาน ความรู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคม รวมทั้งตัวแปรอื่น ๆ คือทัศนคติมุ่งรักษาวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ของชุมชน ทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมา บทบาทของคนใกล้ชิดในการเข้าร่วมกิจกรรม และการติดต่อสื่อสารภายในชุมชน กับตัวแปรตามได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมการรักษาความสะอาดและกิจกรรมการกุศลประจำปี ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่าง ๆ ของความแปลกแยกกับการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ...
  • Thumbnail

    ความแปลกแยกของแรงงานในอุตสาหกรรมไทย 

    สมชาย ตระการกีรติ; แสวง รัตนมงคลมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1987)

    จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า แรงงานในอุตสาหกรรมไทยมีความแปลกแยกดำรงอยู่ในระดับสูง เกือบทุกลักษณะของความแปลกแยก อันได้แก่ สภาวะเหินห่างจากตนเอง สภาวะไร้อำนาจ สภาวะไร้ความหมาย สภาวะสิ้นหวัง เว้นแต่สภาวะปรปักษ์เท่านั้นที่ดำรงอยู่ในระดับไม่สูงนัก ลักษณะของความแปลกแยกแต่ละลักษณะมีประเด็นที่ค้นพบแตกต่างกันไปบ้างดังนี้
  • Thumbnail

    ความไม่สอดคล้องในความคาดหวังบริการระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการของสถานบริการการแพทย์และการสาธารณสุขของรัฐ 

    พีระพล เลาหเสรีกุล; ฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1994)
  • Thumbnail

    ความไม่เสมอภาคในการบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิตตามร่างพระราชบัญญัติ การจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. .... 

    ฉัตรชัย เอมราช; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    ร่างพระราชบัญญัติการจดทะเบียนคู่ชีวิต พ.ศ. .... ได้รับการยกร่างขึ้นเพื่อรับรองความเสมอภาคกับครอบครัวของคู่สมรสชายหญิงให้แก่ครอบครัวของของคนข้ามเพศในรูปแบบของการบันทึกทางทะเบียนเป็นคู่ชีวิต แต่อย่างไรก็ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวยังมีข้อบกพร่องบางประการที่อาจก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคขึ้นได้ เป็นเหตุให้ต้องมีการศึกษาถึงความเป็นมาและแนวคิดของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อทราบถึงผลกระทบต่อครอบครัวของคนข้ามเพศในประเด็นความเสมอภาคกับสิทธิหนำที่อันครอบครัวของคู่สมรสชายหญิงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตลอดจนเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของร่างพระราชบ ...
  • Thumbnail

    คุณค่าของพุทธศาสนาในการบริหารราชการ 

    ทินพันธุ์ นาคะตะ; มาลัย หุวะนันทน์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1966)

    วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ คือ.- 1. เป็นการศึกษาหน้าที่และความสัมพันธ์ของศาสนาที่มีต่อสังคมโดยทั่วไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าศาสนาเป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อการบริหารอย่างไร 2. เพื่อแสดงว่าพุทธศาสนามีคุณค่าต่อสังคมโดยส่วนรวม มีอิทธิพลอยู่เหนือจิตใจและการประพฤติปฏิบัติของคนไทย 3. เพื่อศึกษาหลักธรรมที่สำคัญ ๆ ที่มีคุณค่าควรแก่การยึดถือเป็นหลักจริยธรรมในการบริหารทั้งในด้านการใช้ศิลปและเทคนิคในการปฏิบัติราชการ 4. เพื่อศึกษาถึงคุณค่าและอิทธิพลของพุทธปรัชญาที่มีต่อจริยธรรม และพฤติกรรมในการปกครองและการบริหารในทางปฏิบัติที่เป็นอยู่ ...
  • Thumbnail

    คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

    รมิตา อั๋นวงษ์; วิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1999)

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส วุฒิการศึกษาสูงสุด ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ลักษณะสายงาน และระดับตำแหน่ง ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะงาน และปัจจัยพฤติกรรมการทำงานกับเพื่อนร่วมงานที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช / เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ...
  • Thumbnail

    คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

    กนกวรรณ ชูชีพ; พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2008)

    การศึกษาเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการสํารวจสุ่มตัวอย่าง (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการที่ปฏิบัติงานใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทํางานของ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) เพื่อนําผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทาง และข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการที่ปฏิบัติงานใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ วันที่ 1 เป็นแบบสอบถามเก ...
  • Thumbnail

    คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 

    สมพร สังข์เพิ่ม; เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012)

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างหรือองค์ประกอบของดัชนีวัด คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัย เกี่ยวกับงานที่ทำและปัจจัยด้านองค์การของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเอกชนใน กรุงเทพมหานครและปริ มณฑล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของ บุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลบุคลากรสายสนับสนุน ...
  • Thumbnail

    คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ : กรณีศึกษาพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานใหญ่ 

    รณัชฤดี ป้องกันภัย; สุรสิทธิ์ วชิรขจร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    การศึกษาเรื่อง คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติ กรณีศึกษาพนักงาน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงาน การเคหะแห่งชาติผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานใหญ่ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพ ชีวิตการทำงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานใหญ่ 3) เพื่อศึกษาปัจจัย ที่สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานการเคหะแห่งชาติผู้ปฏิบัติหน้าที่ใน สำนักงานใหญ่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานการเคหะแห่งชาติที่ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงาน ใหญ่ จำนวน ...