NIDA Wisdom Repository

 

Communities in DSpace

Select a community to browse its collections.

Now showing 1 - 6 of 6
Thumbnail Image

คณะและวิทยาลัย

NIDA Schools and Colleges

Thumbnail Image

สำนักงานอธิการบดี

NIDA Office of the President

Thumbnail Image

ผลงานวิชาการ

NIDA Scholars

Thumbnail Image

หน่วยงาน

NIDA Units

Thumbnail Image

วารสารวิชาการ

NIDA Academic Journals

Thumbnail Image

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

NIDA E-Books

Recent Submissions

Thumbnail Image
Item
การจัดการปกครองแบบร่วมมือกันหลายภาคส่วนของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสงขลา: การวิเคราะห์ที่มา แบบแผนความร่วมมือ และปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือ
ปฏิภาณ ศรีผล; อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาที่มาของการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของ ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสงขลา 2) ศึกษากลไกความร่วมมือรูปแบบ เครือข่ายในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด สงขลา และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการจัดการปกครองสาธารณะแบบร่วมมือกันหลายภาคส่วน ในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสงขลา ผู้วิจัยได้ใช้การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ (Mixed Methods Approach: Qualitative and Quantitative Research Design) โด ย เก็บ รว บ รวม ข้อ มูล จ าก เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักที่ดาเนินงานและบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดสงขลา รวมทั้งเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจานวน 107 ฉบับ ผลการศึกษา พบว่า 1) การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินมีที่มาจากหน้าที่ในการจัดบริการด้าน การแพทย์ฉุกเฉินกับประชาชนในพื้นที่ตามแนวทางการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ รวมทั้งเป็น ผลมาจากกระแสปัญหา กระแสการเมือง และกระแสนโยบายมาบรรจบกันในสภาพแวดล้อมที่ สนับสนุนและเกื้อหนุนให้เกิดการ บริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยเฉพาะผู้บริหาร ท้องถิ่นที่มีวิสัยทัศน์การบริหารงานในรูปแบบ การเมืองนานโยบาย 2) การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสงขลา มีกลไกหรือแบบแผนความร่วมมือ รูปแบบเครือข่ายที่ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (2.1) โครงสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (2.2) ตัวแสดงหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (2.3) กระบวนการก่อตัวและการจัดความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีบทบาท ริเริ่มขับเคลื่อนความร่วมมือ (2.4) การจัดแบ่งบทบาทหน้าที่และการปฏิสัมพันธ์ในกระบวนการสร้าง ความร่วมมือ (2.5) กิจกรรมในการขับเคลื่อนการสร้างความร่วมมือ (2.6) ทรัพยากรต่าง ๆ ที่เป็น ปัจจัยขับเคลื่อนกระบวนการสร้างความร่วมมือ และ (2.7) กระบวนการขยายเครือข่ายการให้บริการ การแพทย์ฉุกเฉิน ที่สนับสนุนให้การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินอยู่ในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือ ดังกรณี คณะอนุกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสงขลาและเครือข่ายการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัด สงขลา และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการจัดการปกครองแบบร่วมมือกันหลายภาคส่วน ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสาเร็จ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจานวน 5 ปัจจัย โดย เรียงลาดับจากปัจจัยที่มีอิทธิพลหรือความสัมพันธ์มากที่สุดไปหาปัจจัยที่มีอิทธิพลหรือความสัมพันธ์ น้อยสุด ได้แก่ ด้านการเห็นพ้องต้องกันในกระบวนการทางาน ด้านความเชื่อมั่นและไว้วางใจ ด้าน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างทางาน ด้านการสนทนาปรึกษาหารือกัน และด้านการมีความเข้าใจตรงกัน
Thumbnail Image
Item
การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน ขององค์กรธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันประเทศไทย
ชยังกูร สิทธิประเวช; ฆริกา คันธา; วิชชุดา สร้างเอี่ยม (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2024)
รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน ขององค์กรธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของวิชา จย 9000 การค้นคว้าอิสระ ตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์ มหาบัณฑิต (ศาสตร์และการจัดการความยั่งยืน) คณะบริหารพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ การศึกษาครั้งนี้ศึกษาถึงการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันประเทศไทย ตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน หรือ United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights (UNGPs) รวมถึงค้นคว้ากรณีศึกษาขององค์กรธุรกิจในอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันต่างประเทศ ที่มีผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนดีเลิศ จากการประเมินโดยองค์กรอิสระ World Benchmarking Alliance เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนแก่องค์กรธุรกิจในโรงกลั่นน้ำมันประเทศไทยและภาคอุตสาหกรรมอื่น ทั้งนี้ผู้จัดทำขอขอบพระคุณ รศ.ดร.วิชชุดา สร้างเอี่ยม และผศ.ดร.ฆริกา คันธา อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้คอยให้คำปรึกษา ความรู้ และแนะแนวทางสำหรับการศึกษาในครั้งนี้ให้เป็นไปได้ด้วยดี ผู้จัดทำหวังว่ารายงานการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน และผู้ที่ต้องการศึกษาในกระบวนการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนขององค์กรธุรกิจ