Now showing items 1-4 of 4

  • Thumbnail

    การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรที่มีการแจกแจงล็อกนอร์มอล 

    สุชาดา เพ็ชรขาวเขียว; ประชุม สุวัตถี, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012)

    งานวิจัยนี้ศึกษาการทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรเดียว สองประชากรและประชากรที่ มากกว่าสองประชากรที่มีการแจกแจงล็อกนอร์มอล โดยการแปลงข้อมูลและไม่แปลงข้อมูล ใช้การจำลองประชากรที่มีการแจกแจงล็อกนอร์มอลขนาด 10,000 หน่วยโดยโปรแกรม R แล้วสุ่มตัวอย่างจากแต่ละประชากรโดยให้ตัวอย่าง มีขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จำนวน 1,000 รอบ แล้ว ทดสอบค่าเฉลี่ยที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยคำนวณค่าสถิติทดสอบจากตัวอย่างที่สุ่มได้และจากการ แปลงข้อมูลในตัวอย่างเพื่อให้มีการแจกแจงปรกติตัดสินใจยอมรับหรือปฏิเสธสมมุติฐานว่าง เกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากรที่กำหนดขึ้น เพื่อคำนวณความน่าจ ...
  • Thumbnail

    การประมาณค่าที่เก็บไม่ได้ในการสำรวจด้วยตัวอย่าง 

    ภาคย์ สิทธิผกาผล; ประชุม สุวัตถี, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012)

    งานวิจัยนี้เสนอการเปรียบเทียบวิธีประมาณค่าที่เก็บไม่ได้ 3 วิธีในการสำรวจด้วยตัวอย่าง โดยการจำลองประชากร ขนาด 5,000 หน่วย มีตัวแปรที่ศึกษา Y และตัวแปรช่วย X 6 ตัว มี สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง X กับ Y อยู่3 ระดับคือระดับต่ำ ระดับปานกลางและระดับสูง โดย ใช้โปรแกรมอาร์ สุ่มตัวอย่างซ้ำ 1,000 ครั้งจากแต่ละประชากรให้มีขนาดเล็กขนาดกลางและขนาด ใหญ่สุ่มค่าสังเกต Y ในตัวอย่างทิ้ง 5, 10, 15 และ20 เปอร์เซ็นต์ถือว่าเป็นค่าที่เก็บรวบรวมไม่ได้ ประมาณค่า Y กลับคืนโดยวิธีการถดถอยพหุเชิงเส้น วิธีระยะห่างต่ำสุด และวิธีค่าเฉลี่ย นำค่า Y ที่มี อยู่และที่ประมาณ ...
  • Thumbnail

    การสุ่มตัวอย่างธรรมดาแบบควบคุม 

    ปรีชา ฤทธาคณานนท์; ประชุม สุวัตถี, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1973)

    วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาถึงระเบียบวิธีทางสถิติซึ่งอวาดานิและสุกัตเม (Avadhani and Sukhatme) ได้เขียนไว้ในวารสาร Journal of the Indian Society of Agricultural Statistics (1965) และ The Australian Journal of Statistics (1968) นักสถิติทั้งสองนี้ได้เสนอถึงวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตัวอย่างที่ไม่ชอบ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีการควบคุม (Controlled Sampling) หรืออีกนัยหนึ่งนักสถิติทั้งสองนี้ได้พยายามที่จะแก้ปัญหาในการที่จะทำให้ความน่าจะเป็นของการเลือกที่ไม่มีหน่วยตัวอย่างที่จะทำให้คุณภาพของตัวอย่างด้อยลงมีค่าเพิ่มขึ้น
  • Thumbnail

    ตัวประมาณแบบใช้อัตราส่วนในการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ 

    สิริกานต์ คมวิลาศ; ประชุม สุวัตถี, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012)

    งานวิจัยนี้ศึกษาตัวประมาณค่าเฉลี่ยประชากรที่ไม่เอนเอียงและแบบใช้อัตราส่วน 2 แบบ คือ ตัวประมาณแบบอัตราส่วนแยกกันและตัวประมาณแบบอัตราส่วนร่วมกันในการสุ่มตัวอย่าง แบบแบ่งเป็นชั้น การศึกษาใช้การเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนของค่าประมาณทั้ง 3 แบบ โดยการจำลอง 9 ประชากร แต่ละประชากรประกอบไปด้วยค่าของตัวแปรที่สนใจศึกษาและตัวแปรช่วย 6,000 คู่ให้มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ 0.1, 0.2, 0.3, …, 0.9 แบ่งประชากรแต่ละประชากรออกเป็น 3, 4, 5, ..., 9 ชั้นภูมิ โดยใช้ความถี่ของตัวแปรช่วย แล้วสุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ประมาณค่าเฉลี่ยประชากรและความแปรปรว ...