Browsing by Author "สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข"
Now showing items 1-20 of 59
-
AEC กับพลวัตการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาค(จบ)
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2016-02-22)
ประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนยังต้องเตรียมตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศภูมิภาค -
LTF เลิกดี หรือไม่เลิกก็ดี?
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (โพสต์ พับลิชชิง, 2014-11-03)
มีกระแสความคิดเห็นเกี่ยวกับกองทุนการลงทุนระยะยาว LTF ซึ่งเป็นเครื่องมือการออมที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐโดยการอนุญาตให้สามารถนำเงินออมที่ลงทุนกับกองทุนนี้มาหักลดหย่อนภาษีได้ กระแสความคิดเกี่ยวกับ LTF ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นไปในทิศทางที่อยากจะเสนอให้ยกเลิกการหักลดหย่อนในกองทุนนี้ โดยมีเหตุผลสำคัญว่า มันเป็นประโยชน์กับคนรวยมากกว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนจน และเป็นการทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้ในส่วนนี้ไป แต่หากมองในแง่ของเศรษฐศาสตร์ที่คำนึงถึงประโยชน์ของประเทศโดยรวมอย่างรอบด้าน มาตรการหักลดหย่อนภาษีสำหรับการลงทุนใน LTF สามารถก่อให้เกิดผลกระทบภายนอกในเชิงบวกได้ -
Thailand 4.0 ความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาที่ยั่งยืน
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2016-09-19)
Thailand 4.0 เป็นกรอบแนวคิดของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในก้าวย่างต่อไปของกระบวนการพัฒนา ที่เน้นความให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างสมรรถนะทางเศรษฐกิจของประเทศในการสรางมูลค่าเพิ่มโดยอาศัยการยกระดับองค์ความรู้ นวัตกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มุ่งไปสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น -
กลไกและเครื่องมือการควบคุมราคา
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2019-01-21)
การควบคุมราคาสินค้าหรือบริการในระบบเศรษฐกิจนั้น มีความสุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เพราะการควบคุมราคาเป็นมาตรการที่มีลักษณะฝืนการทำงานของกลไกตลาด การใช้มาตรการลักษณะนี้มักจะต้องมีเหตุผลเพียงพอที่จะมาอธิบายได้ว่า กลไกตลาดไม่สามารถทำงานได้ จึงต้องอาศัยบทบาทของรัฐเข้าไปเป็นผู้ควบคุมหรือกำหนดราคา -
กับดัก'ยากระตุ้น'
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2014-09-15)
การดำเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น ควรจะต้องพิจารณาถึงเหตุผล ความจำเป็นที่รัฐจะต้องเข้ามาแทรกแซงในระบบเศรษฐกิจ เพราะในการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐต้องเสียงงบประมาณแผ่นดินไปโดยที่อาจจะไม่มีความจำเป็นเลยก็เป็นได้ ฉะนั้นการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็เหมือนกับการใช้ยาโด๊ป ซึ่งผลสืบเนื่องของการใช้ยาโด๊ปก็ย่อมมีผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาวได้เช่นเดียวกัน -
การกระจายอำนาจทางการคลังกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2016-10-17)
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาไม่นานนี้และในอีกหลายปีข้างหน้า เชื่อว่าเราคงจะได้รับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 ข้อของสหประชาชาติกันมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับประเทศไทย เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศในโลกที่ตั้งเป้าหมายการพัฒนาประเทศไว้โดยหวังว่า จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ทั้งหมด แต่การจะบรรลุเป้าหมายต่างๆ ให้ได้นั้น ภาครัฐจะต้องใช้เครื่องมือหลายอย่างด้วยกันในการขับเคลื่อนการพัฒนาภายในประเทศ แนวทางการกระจายอำนาจเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายอำนาจทางการคลัง -
การจัดสรรและความเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2017-06-19)
ในระบบเศรษฐกิจที่มีโครงสร้างความเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่ไม่สมดุล หรือมีโอกาสในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่ไม่เท่าเทียมกัน ทำให้การใช้ประโยชน์หรือการจัดสรรปัจจัยการผลิตด้อยระสิทธิภาพไป การพัฒนาทางเศรษฐกิจจะล่าช้าหรือถดถอยลง และอาจเลวร้ายไปถึงขั้นที่ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศได้ -
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ความท้าทายของไทยและอาเซียน
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2015-12-21)
เมื่อระบบเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง แนวทางในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อให้สามารถรัมือกับการเปลี่ยนแปลง จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการในการปรับตัว เพื่อให้เศรษฐกิจโดยรวมสามารถสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมใหม่ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป -
การพัฒนาประเทศมีต้นทุน
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2018-07-02)
ในกระบวนการพัฒนาประเทศล้วนแต่มีต้นทุนทั้งสิ้น และก็ด้วยเหตุนี้เองที่เครื่องมือหรือมาตรการของภาครัฐที่จะใช้เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนานั้น จำเป็นต้องมีความละเอียดถี่ถ้วน โปร่งใส เปิดให้มีการมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง -
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2018-07-16)
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ถูกใช้สนับสนุนให้เกิดการเติบโตของกระแสโลกาภิวัตน์อย่างรวดเร็วในรูปแบบที่ง่ายและคุ้นเคยกันมากที่สุดคือ การจัดต้งเป็นเขตการค้าเสรี -
การลงทุนภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2016-11-21)
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จึงต้องอาศัยการกระตุ้นด้วยการลงทุนของภาครัฐ ซึ่งก็เน้นให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และคาดหวังว่าการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาครัฐนี้จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นได้ต่อไป -
การออกใบอนุญาตกับการทุจริตคอร์รัปชั่น มุมมองในทางเศรษฐศาสตร์ (2)
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2015-11-23)
ได้มีการกล่าวถึงเรื่องการออกใบอนุญาตกับการทุจริตคอร์รัปชั่น : มุมมองในทางเศรษฐศาสตร์ โดยได้กล่าวถึงการพิจารณาถึงความจำเป็นของการมีระบบการออกใบอนุญาตให้ดำเนินการได้ และยังมีหัวข้อที่สำคัญอีก 2 หัวข้อ คือ การพิจารณาหน่วยทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง และต้นทุนในการกำกับดูแลเพื่อให้กระบวนการออกใบอนุญาตและการใช้ประโยชน์จากใบอนุญาต -
ความท้าทายของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย : เก่งแค่ไหน
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (บริษัท บางกอกโพสต์, 2020-02-18)
หากจะบอกว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าในประเทศจีนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย แล้วเรียกร้องให้ภาครัฐต้อดำเนินมาตรการเพื่อช่วยเหลือนั้น ในแง่ความเป็นธรรมของการดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจก็ดูเหมือนจะไม่ใช่เงื่อนไขของการดำเนินนโยบายจริงๆ -
ความไม่สมดุลและความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในระยะยาว
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2015-06-15)
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เช่น มาตรฐานการให้บริการด้านสาธารณสุข บริการการศึกษา การสร้างความมั่นคงปลอดภัยในสังคมที่ดีขึ้น เรียกได้ว่าเศรษฐกิจกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ ซึ่งการตัดสินใจดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวก็มีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจ"ความไม่สมดุล"ที่กำลังดำเนินอยู่ -
ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้กับต้นทุนทางเศรษฐกิจ
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2015-10-19)
ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและจำเป็นต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้การกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการเป็นหนี้มีความเป็นธรรมและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน -
ความเสี่ยงเเละการบริหารความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (สำนักพิมพ์บางกอกโพสต์, 2017-01-16)
ประเด็นเรื่องความเสี่ยงเเละการบริหารจัดการความเสี่ยงทางเศรษฐกิจน่าจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความพยายามในการขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของไทยมีการขยายตัวในอัตราที่เหมาะสม สำหรับปี 2560 นี้ มีปัจจัยทั้งภายในประเทศเเละต่างประเทศ ที่จะมีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของไทยได้ทั้งในเเง่ของการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น-ลดลงของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การขาดเสถียรภาพทางด้านราคา การขาดเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งผู้บริหารเศรษฐกิจจำเป็นจะต้องตระหนัก เเละเตรียมการในการรับมือกับความเสี่ยงทางเศราฐกิจเหล่านี้จากปัจจัยต่างๆให้ดี -
คิิดถึง LTF
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (บริษัท บางกอกโพสต์, 2020-03-17)
ในช่วงเวลาที่ยากลำบากทั้งทางด้านเศรษฐกิจและความเสี่ยงทางด้านสุขอนามัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก ตอกย้ำอีกครั้งให้เห็นถึงความสำคัญของการออม และการบริหารจัดการทางการเงินของครัวเรื่อน ซึ่งเป็นหน่วยเศรษฐกิจย่อยในระบบเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้พัฒนาก้าวไปข้างหน้าได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เหตุการณ์หลายเหตุการณ์ทีไม่ได้คาดคิดไว้ล่วงหน้าเกิดขึ้นได้เสมอ ครัวเรือนมีความเปราะบางมากขึ้น มีโอกาสที่จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้น -
จัดระเบียบสังคมอย่างไรให้ยั่งยืน
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (โพสต์ พับลิชชิง, 2014-11-06)
ในการจัดระเบียบสังคมให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ประชาชนในประเทศหรือในสังคมนั้นต้องมีส่วนร่วมปรับเปลี่ยนทัศนคติในการตัดสินใจที่จะไม่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว แต่ให้คำนึงถึงผลกระทบต่อสาธารณะโดยรวมด้วย และต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมการกระทำของตนเองและผลกระทบของพฤติกรรมนั้นต่อสังคมด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องสร้างและปลูกฝังให้เกิดขึ้นในประเทศหรือในสังคมนั้น -
ต้นทุนการใช้น้ำที่แท้จริง
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (โพสต์ พับลิชชิง, 2014-11-17)
เรามักคิดว่าน้ำจะต้องเป็นของฟรีหรือของถูกเสมอ อัตราค่าบริการน้ำประปาในปัจจุบันก็ต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเพราะคิดเฉพาะต้นทุนการผลิต ไม่ได้คิดรวมเอาต้นทุนในการบำบัดน้ำเสียเข้าไปด้วย จึงทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้น้ำอย่างไม่มีประสิทธิภาพ -
ต้นทุนสำคัญของการต่อสู้ทางการเมือง
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (โพสต์ พับลิชชิง, 2014-10-28)
สังคมไทยในปัจจุบันเป็นช่วงระเยะเวลาของการเปลี่ยนผ่าน และเกิดการต่อสู้ทางการเมืองการปกครองระหว่าง 2 ขั้วอำนาจ จนเป็นผลทำให้เศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวลง ปัญหาเรื่องค่าครองชีพเป็นปัญหาหนึ่งที่จะเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงในสังคมได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยที่มีความเปราะบางต่อปัญหานี้ คือ เป็นเศรษฐกิจที่มีปัญหาการกระจายรายได้ มีช่องว่าระหว่างรายได้ประชากรมาก ปัญหาการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ต้นทุนทางเศรษฐกิจในการต่อสู้ทางการเมืองสูงขึ้นเป็นทวีคูณ