Browsing by Subject "การมีส่วนร่วมของประชาชน"
Now showing items 1-9 of 9
-
Legal Measures for The Ancient Monuments Preservation
(National Institute of Development Administration, 12/8/2022);
This Master’s thesis aims to study about The Legal Measures for Ancient Monuments Preservation. The research include literature concepts, principles and legal principles of Ancient Monuments Preservation and the authority, As well as problems and obstacles in the Ancient Monuments Preservation from law enforcement. in order to build the right understanding for all sectors to promote and, support the right to participation in the Ancient Monument Preservation. This will lead to a balance between the government section and the people in preserving ... -
Promote and support in Local Governance, Case Studied, Promote the public participation in local development plan of Lakha Subdistrict Municipality
(National Institute of Development Administration, 12/8/2022);
The objectives of this study are to investigate the dynamic of public participation in developmental planning process of lakha subdistrict municipality.The researcher selected lakha subdistrict municipality as studied case. The study was carried out through collection of information by secondary data studies (document data) and in-depth interviews. The research finding are following; 1) There are five level of public participation in developmental planning process of lakha subdistrict municipality : Information acknowledgement ... -
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ: กรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การพัฒนาประเทศในอดีตที่ผ่านมาได้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมและโครงการพัฒนา เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและก่อปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่โครงการอย่างรุนแรง และนำมาสู่ปัญหาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างเจ้าของโครงการกับประชาชนในท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) จังหวัดระยอง เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จ ... -
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
ปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอย่างรุนแรงทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่าง แท้จริง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วม ปัจจัยความสำเร็จปัญหา และอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การนำเสนอแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ประยุกต์หลัก CIPP-I Model มา ทำการศึกษากระบวนการดังกล่าว โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ... -
ความขัดแย้งจากโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ : กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย)
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
ในการaพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศนำไปสู่การขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น อาจทำให้ส่งผลกระทบกับชุมชนใกล้เคียง โดยเฉพาะโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชุมชนและผู้พัฒนาโครงการ งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสาเหตุปัญหาความขัดแย้ง รวมถึงเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ให้ชุมชนและโครงการพัฒนายอมรับที่จะอยู่ร่วมกันได้ กรณีศึกษา นิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้มีส่วนได้เสีย 40 คน จากการศึกษาพบว่าสาเหตุความขัดแย้งต ... -
ความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมกรณีศึกษาเทศบาลเมืองน่าน
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน รวมถึงความสำเร็จในการดำเนินงานดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยนำทฤษฎีระบบการบริหารงานและประเมินผลองค์กร มาใช้ในกระบวนการศึกษาดังกล่าว ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการสิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองน่าน ประกอบด้วยปัจจัยหลายมิติ ได้แก่ มิติด้านการเรียนรู้และพัฒนา ... -
วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม : ศึกษากรณีโครงการสำรวจพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมบนบกของไทย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวความคิดและทฤษฎีการมีส่วนร่วม ของประชาชน โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธรัฐมาเลเซีย วิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเทศไทย ศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 และเพื่อเสนอแนะและหาแนวทางแก้ไขเพิ่มเต ... -
สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองบริเวณพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ประวัติความเป็นมาของสิทธิชุมชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองบริเวณพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ ตลอดจนศึกษาหลักเกณฑ์กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ เช่นกฎหมายประเทศออสเตรเลีย และกฎหมายอินเดีย เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับบริบททางกฎหมายไทย นอกจากนี้ยังมีการศึกษา และวิเคราะห์สภาพปัญหากฎหมายที่เกิดขึ้นในทางสังคมไทย รวมถึงการจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับสถานการณ์กฎหมายในปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยควรมีแนวทาง ... -
แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน : เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนในเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงผสมระหว่างคุณภาพและปริมาณโดยใช้แบบสัมภาษณ์กับตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน และใช้แบบสอบถามกับผู้มีบทบาทในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน 400 ครัวเรือน ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนาและอนุมาน รวมถึงการทำ SWOT Analysis และ TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า 1) เทศบาลนครนครศรีธรร ...