Browsing by Subject "พรรคอนาคตใหม่"
Now showing items 1-10 of 10
-
การเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษา
(ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ, 2563-03-01)
หลังจากพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบเพียงหนึ่งวันการชุมนุมก็เริ่มต้นขึ้นครั้งแรก ซึ่งจัดโดยสหภาพนักเรียน นิสิต และนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ลานปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการชุมนุมในลักษณะเป็น Flash mob มีการกำหนดระยะเวลาเริ่มและสิ้นสุดการชุมนุมอย่างชัดเจน ประเด็นหลักของการชุมนุมคือ การแสดงออกถึงการไม่เห็นด้วยกับการยุบพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งนักศึกษาและผู้เข้าร่วมการชุมนุมเชื่อว่า เป็นการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม และลิดรอนสิทธิและเสรีภาพ ในวันถัดมามีการชุมนุนในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ... -
การเมืองไทยภายใต้ความเปราะบาง
(ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ, 2562-05-25)
ความยากลำบากในการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งเดือนมีนาคม 2562 เป็นผลมาจากความล้มเหลวของทั้งฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐและกลุ่มการเมืองคู่แข่ง ซึ่งต่างฝ่ายก็กระทำสิ่งผิดพลาดและทำให้การเมืองไทยมีความเปราะบางจนอาจพัฒนาไปสู่ความแตกหักและขัดแย้งในอนาคนได้ แม้รัฐบาล คสช. บริหารประเทศเป็นเวลายาวนานถึง 5 ปี แต่ก็ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงทั้งในกระบวนการบริหารและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น รัฐบาลได้ทำให้เห็นถึงการยึดติดอยู่กับระบบพวกพ้องนิยม การไม่ใส่ใจกับหลักของการขัดกันแห่งผลประโยชน์ หลายครั้งยังทำให้เห็นถึงการละเมิดหลักธรรมาภิบาล ขาดความโปร่งใสปิดบังข้อมูลข่าวสาร ... -
การเมืองแห่งการตีความกฎหมายและการร้องเรียน : สูตรคำนวณของ กกต.และคุณสมบัติของธนาธร
(ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ, 2562-04-27)
การเมืองไทยในยุคนี้เป็น "การเมืองของการตีความกฎหมายที่ยุ่งเหยิง" และ "การเมืองของการร้องเรียน" ทำให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญของประเทศชาติ มีการโยนภาระการตัดสินใจกันไปมาระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งมีการร้องเรียนกันในแทบทุกประเด็นที่สามารถร้องได้ ด้วยเหตุผลและแรงจูงใจบางประการ เรื่องที่ถูกทำให้ยุ่งวุ่นวาย คือ การใช้สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งมีการตีความสองแบบ คือ แบบที่ยึดมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญเป็นหลัก กับแบบที่ยึดรัฐธรรมนูญผสมกับมาตรา 128 ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฝ่ายการเมืองและนักวิชาการเกือบทั้งหมดที่แสดง ... -
ธนาธร ปลุกม็อบไม่ขึ้น?
(เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป, 2020-02-20)
ในช่วงสองอาทิตย์ที่ผ่านมา คำถามทางการเมืองที่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนพันธุ์แท้การเมืองไทยพูดถึงมากที่สุดคือ พรรคอนาคตใหม่จะถูกยุบหรือไม่ จากคดีการกู้ยืมเงิน และหากพรรคถูกยุบ ประเทศจะเผชิญกับความขัดแย้งทางการเมือง การชุมนุมประท้วง และจบลงด้วยการรัฐประหารเหมือนที่เกิดขึ้นในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาหรือไม่ -
แนวโน้มการเมืองหลังคำพิพากษา
(ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ, 2562-11-23)
ปฏิกิริยาต่อการตัดสินใจให้นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่สิ้นสภาพความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 มีหลายแง่มุมซึ่งสะท้อนความคิดและจุดยืนทางการเมืองของผู้คนเหล่านั้น และการกระทำทางการเมืองของฝ่ายต่าง ๆ ต่อจากนี้ ก็จะเป็นสิ่งกำหนดสถานการณ์ในอนาคตของการเมืองไทย ผู้มีจุดยืนทางการเมืองตรงข้ามและมองว่านายธนาธรเป็นอันตรายต่อสังคไทยต่างก็เห็นว่าคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญมีความเหมาะสมและเป็นธรรมดีแล้ว ถ้อยคำที่แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกยินดีและสะใจกับสิ่งที่นายธนาธรได้รับมีให้เห็นอย่างแพร่หลายในสื่อสังคมออนไลน์ ... -
แฟลชม็อบ ต้องมีเหตุผล
(เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป, 2020-03-02)
การที่นิสิตนักศึกษาจัดกิจกรรมแฟลชม็อบ รวมถึงติดแฮชแท็กเพื่อต่อต้านรัฐบาล หลังจากผลการตัดสินวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ นักวิชาการ นักการเมืองและสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งเริ่มีความกังวลว่าการจัดแฟลชม็อบของนักศึกษาจะบานปลายกลายเป็นความรุนแรงแบบที่เกิดขึ้นในฮ่องกง ในขณะที่บางกลุ่มบอกว่าเป็นสิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่านักศึกษาจะออกมาด้วยใจบริสุทธิ์หรือแค่ตามกระแสหรือหลงเชื่อในคำยุยงก็ตาม -
สนธยาและรุ่งอรุณของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง 2562 (1)
(ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ, 2562-03-30)
การเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ได้สะท้อนภาพความเป็นจริงของสังคมไทยหลายมิติ คือความถดถอยดั่งตะวันยามสนธยาของพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่พรรคการเมืองใหม่อย่างพลังประชารัฐ อนาคตใหม่ และภูมิใจไทย กลายเป็นดุจตะวันยามรุ่งอรุณ การเลือกตั้งครั้งนี้คะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยลดลงครึ่งหนึ่งจากคะแนนเดิมเมื่อปี 2554 แสดงความถดถอยของพรรคเพื่อไทยยุทธศาสตร์เครือข่ายพรรคคือจัดตั้งพรรคไทยรักษาชาติเพื่อรักษาจำนวน ส.ส.เขตพื้นที่เป็นหลัก ใช้นโยบายประชานิยม องค์ประกอบของพรรคเป็นกลุ่มทายาทนักการเมืองเก่าที่เคยอยู่กับพรรคเพื่อไทย ผสมกับกลุ่ม นปช. ... -
สนธยาและรุ่งอรุณของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง 2562 (4) : พรรคอนาคตใหม่ ผีพุ่งไต้ หรือดาวประกายพฤกษ์
(ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ, 2562-04-20)
พรรคการเมืองที่เพิ่งจัดตั้งโดยไม่เชื่อมโยงกับอำนาจรัฐ คือ พรรคอนาคตใหม่ ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้แต่มีคำถามที่สำคัญคือ พรรคนี้จะสามารถดำรงรักษาความสำเร็จไว้ได้ยาวนานเพียงใด ปัจจัยหลักที่ทำให้พรรคอนาคตใหม่ประสบชัยชนะในการเลือกตั้งเกินความคาดหมายของผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองคือ ทัศนคติและความต้องการทางการเมืองของกลุ่มผู้เลือกตั้งหน้าใหม่ การถูกยุบพรรคของพรรคไทยรักษาชาติ การมีเงินทุนเพียงพอในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง การสร้างภาพลักษณ์ที่มีประสิทธิผลของผู้นำ การใช้ยุทธศาสตร์การหาเสียงเชิงนวัตกรรมและท้าทายอำนาจดั้งเดิม ... -
อนค.พุ่ง-ปชป.พ่าย
(สำนักพิมพ์มติชน, 2019-03-28)
ปรากฏการณ์พรรคอนาคตใหม่ (อนค.)ที่ขายภาพหัวหน้าพรรค ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ สามารถกวาด ส.ส.30 เขต และ 58 ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ รวมกันทะลุ 88 คน ซึ่งในสนามการเมืองเชื่อว่า อนค.ถือเป็นพรรคที่มีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งน้อยที่สุด หากเทียบกับพรรคประชาธิปัตย์ที่ยกตัวเองเป็นสถาบันการเมือง มีอายุเก่าแก่มากที่สุดของประเทศ แต่ได้ ส.ส.แค่ 56 คน แพ้ยับเยินที่สุด จนกลายเป็นเงื่อนไขให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคต้องประกาศลาออกทันที -
อุดมการณ์การเมือง (7) สังคมนิยม ประชาธิปไตยสังคมและวิถีที่สาม
(ผู้จัดการสุดสัปดาห์ 360 ํ, 2562-08-24)
อุดมการณ์สังคมนิยมมีชะตากรรมไม่แตกต่างจากอุดมการณ์อื่น ๆ ที่กล่าวมาก่อนหน้านี้มากนัก นั่นคือ มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตามพัฒนาของสังคม หลักคิดสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์แบบสุดขั้วได้ล้มตายหายไปจนเกือบสูญสลายจากสนามการเมือง ทว่า หลักคิดสำคัญหลายประการของสังคมนิยมยังคงได้รับการนำไปใช้ภายใต้การปรับชื่อใหม่เป็น "ประชาธิปไตยสังคม" หรือ "สังคมนิยมประชาธิปไตย" และต่อมาก็มีการปรับอีกครั้งกลายเป็นอุดมการณ์ที่เรียกว่า "วิธีที่สาม" ซึ่งมีบทบาทในเวทีการเมืองและการพัฒนาระดับโลกอยู่ไม่น้อยในปัจจุบัน แก่นความคิดดั้งเดิมของสังคมนิยมคือการยึดถือความเป็นชุมชน ...