Now showing items 1-7 of 7

  • Thumbnail

    กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น 

    วิวิธ วงศ์ทิพย์; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)

    ภายใต้ยุทธศาสตร์การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community: AEC)  ประกอบกับเหตุผลและความจำเป็นที่ประชาคมอาเซียนจะต้องมีการคุ้มครองและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในภูมิภาค ภูมิปัญญาท้องถิ่นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและจะมีบทบาทต่อการเสริมสร้างระบบทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียน รัฐสมาชิกอาเซียนซึ่งเป็นภูมิภาคที่เป็นแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงจำเป็นจะต้องมีมาตรการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นตามที่ปรากฏในพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พ.ศ. 2568  (ASEAN Economic Community Blueprint 2025) และแผนปฏิบัติการทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียน ...
  • Thumbnail

    การดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นท่ามกลางการแข่งขันในระบบตลาดเสรี : กรณีศึกษางานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัว ตำบลนาเรือง อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี 

    พระสมัคร สิริปญฺโญ (วงศ์ประเทศ); สุวิชา เป้าอารีย์ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภูมิหลังความเป็นมาและองค์ประกอบของภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัว 2) ศึกษาการดำรงอยู่และเงื่อนไขการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัวท่ามกลางการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดในปัจจุบัน 3) วิเคราะห์แนวโน้มในอนาคตของการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถกรรมทอผ้ากาบบัว
  • Thumbnail

    การประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการดำรงชีพในการขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 

    พฤทธิ์พงศ์ ไชยพหล; อาแว มะแส (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การศึกษาการดำรงชีพในชนบทควรคำนึงถึงบริบทของท้องถิ่นและพลวัตทางสังคมและสิ่งแวดล้อมระดับชุมชน รวมทั้งการเรียนรู้ของคนในชุมชน เพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่มาสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์ ผ่านการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เหมาะกับยุคสมัย การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพในชุมชนคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช  2) ศึกษาการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนคีรีวงสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็ง และ 3) วิเคราะห์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ชนชนเข้มแข็งของชุมชนคีรีวง ...
  • Thumbnail

    การสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาและการสืบสานการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนบ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย  

    ภคพล รอบคอบ; พัชนี เชยจรรยา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)

    งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาและการสืบสานการทอผ้าพื้นเมืองของชุมชนบ้านนาป่าหนาดหมู่ 12 อำเภอเชียงคานจังหวัดเลย ศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดการสนทนากลุ่ม รวมถึงการสังเกตุการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ด้วยวิธีการดังกล่าวนำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ช่างทอผ้า กลุ่มผู้สูงวัยและกลุ่มผู้ใหญ่ รวมถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ในชุมชน  ผลการศึกษาการถ่ายทอดภูมิปัญญาพบว่า (1)ด้านผู้ส่งสาร พบว่า การสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดภูมิ ...
  • Thumbnail

    การอนุญาตให้ใช้สิทธิในภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย 

    เนตรนภางค์ นำจิตรไทย; วริยา ล้ำเลิศ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาวิทยาการ และภูมิปัญญา (Knowledge) ของมนุษยชาติ ซึ่งความรู้และภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นผลมาจากกระบวนการค้นคว้าและ คิดค้นที่สั่งสมมาอย่างต่อเนื่อง จนได้รับการยอมรับจากสาธารณะชนทั่วไปว่าวิทยาการความรู้ และ ภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นนี้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น (Traditional Knowledge) ที่เกิดขึ้นเฉพาะในแต่ละพื้นที่ หรือเขตภูมิศาสตร์ อันเป็นองค์ความรู้ที่เกิดมาจากการใช้ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ ของคนใน ชุมชนหรือท้องถิ่นในการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการดารงชีวิตและมีการสืบทอดจากคนรุ่น หนึ่งไปสู่ค ...
  • Thumbnail

    ภูมิปัญญาข้าวกับความมั่นคงทางอาหารในประเทศไทย 

    จิรัญภรณ์ เกตสมิง; หลี่ เหรินเหลียง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษานี้เพื่อ 1) ศึกษาภูมิปัญญาในการทํานาของชุมชนบ้านข้าวงาม อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และรวบรวมเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาข้าว 2) ศึกษาผลของภูมิปัญญาข้าวในท้องถิ่นต่อความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านข้าวงาม อําเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ จากการใช้ภูมิปัญญาข้าวใน ท้องถิ่ นต่อความมันคงทางอาหาร โดยใช้วิธีสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเจาะจงกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สําคัญ 15 คน เป็นผู้นําชุมชน สมาชิกในชุมชนที่ประกอบอาชีพและ/หรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทํานา ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุมชนปลูกข้าวเจ้าเป็นหลัก ...
  • Thumbnail

    รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา 

    กนกพร ฉิมพลี; สากล จริยวิทยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2012)

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมามีวิธีดําเนินการวิจัยโดย การศึกษาจากเอกสารอ้างอิงและการศึกษาภาคสนามในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสานหมวกใบตาลบ้านคล้า อําเภอพิมาย 2) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มจัก สานผักตบชวา อําเภอจักราช 3) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบิงมิตรภาพ อําเภอโนนสูง และ 4) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์จากใบตาลบ้านยายพา อําเภอชุมพวง การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสังเกตแบบมีส่วนรวมและไม่มีส่วนร่วม ...