การตรวจราชการในหน้าที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย
Publisher
Issued Date
1966
Issued Date (B.E.)
2509
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
119 หน้า.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
จำนงค์ บุญชู (1966). การตรวจราชการในหน้าที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1007.
Title
การตรวจราชการในหน้าที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย
Alternative Title(s)
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการปกครองท้องที่ การบำบัดทุกข์บำรุงสุข การป้องกันสาธารณภัย และการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ นับว่าเป็นกระทรวงที่ปฏิบัติภารกิจสำคัญเพื่อสร้างความมั่นคงแก่ชีวิตประจำวันของชาวไทยทั่วประเทศ ฉะนั้น จึงจำเป็นที่กระทรวงมหาดไทยจะต้องจัดให้มีการตรวจสอบควบคุมการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น รวมทั้งการให้คำแนะนำชี้แจงแก่ผู้รับการตรวจด้วย ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการแต่งตั้งผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทยขึ้น
จากผลการศึกษาค้นคว้า ผู้เขียนเห็นว่ายังมีปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่ควรจะได้รับการแก้ไข ปรับปรุง ปัญหาต่าง ๆ ได้แก่.-
1. ปัญหาเกี่ยวกับการคัดเลือกตัวบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจราชการ ผู้ตรวจการควรจะเป็นผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับงานในสาขาต่าง ๆ ของกระทรวงมหาดไทย และควรต้องมีคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น มีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขาวิชาปกครอง เคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี และมีประวัติดีเด่นในราชการฯ.
2. ปัญหาเกี่ยวกับการมอบงานพิเศษให้ผู้ตรวจราชการฯ ไม่ควรให้มากเกินไป งานส่วนใหญ่ควรเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ของผู้ตรวจตามปกติ และควรมอบหมายงานที่เห็นว่าจำเป็นจริง ๆเพราะไม่มีคนอื่นสามารถปฏิบัติได้ดีเท่า.
3. ปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มพูนสมรรถภาพของผู้ตรวจราชการฯ ควรจะจัดทำโดยจัดทำคู่มือผู้ตรวจราชการ จัดให้มีสัมมนาผู้ตรวจราชการ แจ้งแผนงานและโครงการดำเนินงานต่าง ๆ ของกระทรวงมหาดไทย ส่งสำเนารายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ตรวจแต่ละคนให้ผู้ตรวจอื่นที่เกี่ยวข้องทราบ และจัดทำเอกสารวิชาการเกี่ยวกับเทคนิคใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานตามหลักวิชาการบริหารงานสมัยใหม่
4. ปัญหาเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลงานที่รับการตรวจ ควรจะได้กำหนดแบบพิมพ์สำหรับใช้ในการติดตามและประเมินผลงานให้รัดกุม
5. ปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการตรวจราชการ การตรวจราชการโดยเฉพาะการตรวจราชการตามโครงการดำเนินงานต่าง ๆ ของกระทรวงมหาดไทยตามส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ควรจะได้มีการวางแผนการตรวจไว้ล่วงหน้าเป็นขั้น ๆ.
จากผลการศึกษาค้นคว้า ผู้เขียนเห็นว่ายังมีปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่ควรจะได้รับการแก้ไข ปรับปรุง ปัญหาต่าง ๆ ได้แก่.-
1. ปัญหาเกี่ยวกับการคัดเลือกตัวบุคคลที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจราชการ ผู้ตรวจการควรจะเป็นผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับงานในสาขาต่าง ๆ ของกระทรวงมหาดไทย และควรต้องมีคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น มีความรู้ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีในสาขาวิชาปกครอง เคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี และมีประวัติดีเด่นในราชการฯ.
2. ปัญหาเกี่ยวกับการมอบงานพิเศษให้ผู้ตรวจราชการฯ ไม่ควรให้มากเกินไป งานส่วนใหญ่ควรเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ของผู้ตรวจตามปกติ และควรมอบหมายงานที่เห็นว่าจำเป็นจริง ๆเพราะไม่มีคนอื่นสามารถปฏิบัติได้ดีเท่า.
3. ปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มพูนสมรรถภาพของผู้ตรวจราชการฯ ควรจะจัดทำโดยจัดทำคู่มือผู้ตรวจราชการ จัดให้มีสัมมนาผู้ตรวจราชการ แจ้งแผนงานและโครงการดำเนินงานต่าง ๆ ของกระทรวงมหาดไทย ส่งสำเนารายงานผลการปฏิบัติงานของผู้ตรวจแต่ละคนให้ผู้ตรวจอื่นที่เกี่ยวข้องทราบ และจัดทำเอกสารวิชาการเกี่ยวกับเทคนิคใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานตามหลักวิชาการบริหารงานสมัยใหม่
4. ปัญหาเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลงานที่รับการตรวจ ควรจะได้กำหนดแบบพิมพ์สำหรับใช้ในการติดตามและประเมินผลงานให้รัดกุม
5. ปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการตรวจราชการ การตรวจราชการโดยเฉพาะการตรวจราชการตามโครงการดำเนินงานต่าง ๆ ของกระทรวงมหาดไทยตามส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ควรจะได้มีการวางแผนการตรวจไว้ล่วงหน้าเป็นขั้น ๆ.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2509.