การพัฒนาค่านิยมทางการบริหารราชการโดยอาศัยหลักการพุทธศาสนา
Publisher
Issued Date
1968
Issued Date (B.E.)
2511
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
132 หน้า.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สมบูรณ์ ไพรินทร์ (1968). การพัฒนาค่านิยมทางการบริหารราชการโดยอาศัยหลักการพุทธศาสนา. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1071.
Title
การพัฒนาค่านิยมทางการบริหารราชการโดยอาศัยหลักการพุทธศาสนา
Alternative Title(s)
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ความมุ่งหมายของการศึกษาเรื่องนี้ก็เพื่อหาแนวทางในการอบรมเพื่อพัฒนาค่านิยมทางการบริหารราชการ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานในหน้าที่ราชการให้เป็นผลดี มีประสิทธิภาพอำนวยประโยชน์สุขแก่ประชาชนเป็นส่วนรวม ซึ่งในการศึกษาเรื่องนี้ผู้เขียนมุ่งศึกษาประเด็นสำคัญ 2 ประการคือ.-
1. ปัจจุบันความรู้สึกทางค่านิยมในทางบริหารตามแนวความคิดแผนใหม่ของข้าราชการของไทยเราอยู่ในระดับที่น่าพอใจหรือไม่
2. การพัฒนาค่านิยมทางบริหารดังกล่าว จะทำได้โดยใช้หลักพุทธศาสนาเข้ามาเป็นแนวทางได้อย่างไร.
จากผลการศึกษาปรากฏว่า สถานการณ์เกี่ยวแก่ข้าราชการในประเทศไทยปัจจุบันยังมิได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจนัก เพราะมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงกันอยู่ทั่วไป สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการขาดความรู้สึกผิดชอบทางศีลธรรม ควรจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงโดยการนำหลักธรรมะในพุทธศาสนาเข้ามาร่วม โดยการจัดให้มีการอบรมธรรมะแก่ข้าราชการขึ้นอย่างเป็นระบบ ระเบียบติดต่อกัน แต่ก่อนอื่นต้องสำรวจความต้องการในทางบริหารเสียก่อน เพื่อให้การพัฒนาอบรมจิตใจเกิดคุณค่าทางศีลธรรมอันจำเป็นที่สอดคล้องและส่งเสริมให้ข้าราชการมีแนวทางในการที่จะทำให้เทคนิคการบริหารแผนใหม่ได้ผลดียิ่งขึ้น เพื่อความสะดวกในการอบรมจำเป็นต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการในระดับชาติขึ้นเพื่อทำหน้าที่วางโครงการในการฝึกอบรม และอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงาน ส่วนการดำเนินการฝึกอบรมควรให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานกลางเป็นผู้รับผิดชอบต่อเนื่องกัน แต่ในระยะแรกการตั้งหน่วยงานกลางอาจไม่สะดวก ควรให้สำนักฝึกอบรม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับเทคนิคในทางบริหารแผนใหม่ และในส่วนที่เกี่ยวแก่การพัฒนาจิตใจ เพื่อสร้างคุณค่าที่ดีในทางบริหารไปพร้อม ๆ กันด้วย อย่างไรก็ดีผู้เขียนฝากข้อคิดเห็นไว้ในตอนท้ายว่าหลักศาสนา ปรัชญาของพระพุทธเจ้าตรงตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และสามารถนำไปปรับได้ผลดีอย่างยิ่ง แต่ที่คนไทยเรายังนับถือศาสนาด้วยศรัทธา มิใช่ด้วยปัญญานั้นเนื่องจากการดำรงชีวิตของคนไทย ยังขาดหลักการและเหตุผลอยู่มาก และยังเข้าไม่ถึงแก่นแท้ของพุทธศาสนา จึงไม่ได้นำมาใช้ประพฤติปฏิบัติ ที่เป็นเช่นนี้ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเพราะ "ระบบ" ศาสนาที่เป็นมาแล้วและกำลังเป็นอยู่ ยังไม่ตรงตามหลักวิทยาศาสตร์ และเป็นระบบระเบียบเท่าที่ควร ทำให้เกิดความเห็นขัดแยังกันสองฝ่าย คือ ฝ่ายบรรพชิต และฝ่ายหัวสมัยใหม่ ผู้เขียนมั่นใจว่าหากได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบเก่า แล้วนำเอาความคิดของทั้งสองฝ่ายมาผสมกัน จนเกิดเป็นแนวความคิด และการกระทำแนวใหม่ คงจะทำให้ข้าราชการไทยทุกคนได้รับคำสอนทางศาสนาโดยไม่ยากนัก
1. ปัจจุบันความรู้สึกทางค่านิยมในทางบริหารตามแนวความคิดแผนใหม่ของข้าราชการของไทยเราอยู่ในระดับที่น่าพอใจหรือไม่
2. การพัฒนาค่านิยมทางบริหารดังกล่าว จะทำได้โดยใช้หลักพุทธศาสนาเข้ามาเป็นแนวทางได้อย่างไร.
จากผลการศึกษาปรากฏว่า สถานการณ์เกี่ยวแก่ข้าราชการในประเทศไทยปัจจุบันยังมิได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจนัก เพราะมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงกันอยู่ทั่วไป สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการขาดความรู้สึกผิดชอบทางศีลธรรม ควรจะได้มีการแก้ไขปรับปรุงโดยการนำหลักธรรมะในพุทธศาสนาเข้ามาร่วม โดยการจัดให้มีการอบรมธรรมะแก่ข้าราชการขึ้นอย่างเป็นระบบ ระเบียบติดต่อกัน แต่ก่อนอื่นต้องสำรวจความต้องการในทางบริหารเสียก่อน เพื่อให้การพัฒนาอบรมจิตใจเกิดคุณค่าทางศีลธรรมอันจำเป็นที่สอดคล้องและส่งเสริมให้ข้าราชการมีแนวทางในการที่จะทำให้เทคนิคการบริหารแผนใหม่ได้ผลดียิ่งขึ้น เพื่อความสะดวกในการอบรมจำเป็นต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการในระดับชาติขึ้นเพื่อทำหน้าที่วางโครงการในการฝึกอบรม และอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงาน ส่วนการดำเนินการฝึกอบรมควรให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานกลางเป็นผู้รับผิดชอบต่อเนื่องกัน แต่ในระยะแรกการตั้งหน่วยงานกลางอาจไม่สะดวก ควรให้สำนักฝึกอบรม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับเทคนิคในทางบริหารแผนใหม่ และในส่วนที่เกี่ยวแก่การพัฒนาจิตใจ เพื่อสร้างคุณค่าที่ดีในทางบริหารไปพร้อม ๆ กันด้วย อย่างไรก็ดีผู้เขียนฝากข้อคิดเห็นไว้ในตอนท้ายว่าหลักศาสนา ปรัชญาของพระพุทธเจ้าตรงตามหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และสามารถนำไปปรับได้ผลดีอย่างยิ่ง แต่ที่คนไทยเรายังนับถือศาสนาด้วยศรัทธา มิใช่ด้วยปัญญานั้นเนื่องจากการดำรงชีวิตของคนไทย ยังขาดหลักการและเหตุผลอยู่มาก และยังเข้าไม่ถึงแก่นแท้ของพุทธศาสนา จึงไม่ได้นำมาใช้ประพฤติปฏิบัติ ที่เป็นเช่นนี้ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเพราะ "ระบบ" ศาสนาที่เป็นมาแล้วและกำลังเป็นอยู่ ยังไม่ตรงตามหลักวิทยาศาสตร์ และเป็นระบบระเบียบเท่าที่ควร ทำให้เกิดความเห็นขัดแยังกันสองฝ่าย คือ ฝ่ายบรรพชิต และฝ่ายหัวสมัยใหม่ ผู้เขียนมั่นใจว่าหากได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบเก่า แล้วนำเอาความคิดของทั้งสองฝ่ายมาผสมกัน จนเกิดเป็นแนวความคิด และการกระทำแนวใหม่ คงจะทำให้ข้าราชการไทยทุกคนได้รับคำสอนทางศาสนาโดยไม่ยากนัก
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.