การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการลุ่มน้ำ : กรณีศึกษาลุ่มน้ำห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
by ชนะบูรณ์ อินทรพันธุ์
Title: | การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการลุ่มน้ำ : กรณีศึกษาลุ่มน้ำห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ |
Other title(s): | The community participation in watershed management : a case study of Huay Thap Than Watershed, Si Saket Province |
Author(s): | ชนะบูรณ์ อินทรพันธุ์ |
Advisor: | ไพโรจน์ ภัทรนรากุล |
Degree name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
Degree department: | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2008 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2008.1 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถประสงค์หลัก 3 ประการคือประการแรกเพื่อศึกษารูปแบบการ จัดการลุ่มน้ำห้วยทับทันในพื้นที่จังหวดศรีสะเกษประการที่สองเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของ ชุมชนในการจัดการลุ่มน้ําและประการที่สามเพื่อศึกษาผลสำเร็จของการจัดการลุ่มน้ำห้วยทับทัน ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ กรอบแนวคิดในการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1)รูปแบบการจัดการลุ่มน้ำทมุ่งศึกษาจาก 3 ภาคส่วนคือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในพื้นที่ 2) การมีส่วนรวมของชุมชนศึกษาระดับการมีส่วนรวมใน 5 กระบวนการคือการศึกษาชุมชนการ วางแผนเพื่อจัดการลุ่มน้ำการดำเนินงานจัดการลุ่มน้ําการรับผลประโยชน์และการติดตาม ประเมินผลการจัดการลุ่มน้ํา 3) ผลสำเร็จของการจัดการลุ่มน้ำผู้วิจัยได้กําหนดกรอบการศึกษาเป็น 3 ด้านคือด้านเศรษฐกิจด้านสังคมและด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักและเสริมด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดย เลือกพื้นที่ 3 ตําบลในลุ่มน้ำห้วยทับทันเฉพาะในเขตจังหวัดศรีสะเกษเป็นพื้นที่ศึกษาวิธีการเก็บ ข้อมูลใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งมีกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มคือหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวของผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้นำชุมชนในพื้นที่ข้อมลเชิงปริมาณเพิ่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมใช้การเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นชาวบ้านทั่วไปในพื้นที่ศึกษาทั้ง 3 ตําบล จํานวน 394 ราย ผลการศึกษาพบว่า ลุ่มน้ำห้วยทับทันในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ โครงสรางการบริหาร จัดการที่ประกอบด้วยหน่วยงานและองค์กรที่หลากหลายแต่ไม่มีหน่วยงานเจ้าภาพในการบริหารจัดการ การดำเนินงานยังขาดความเป็นเอกภาพ ไม่สามารถบูรณาการภารกิจต่างๆให้เป็นไปใน ลักษณะแผนงานร่วมได้ การดำเนินงานจัดการโดยภาคส่วนต่างๆพบว่าหน่วยงานราชการยังมีบทบาทสำคัญเพราะเป็นผู้จัดทำภารกิจที่ต้องใช้งบประมาณสูงอีกทั้งต้องใช้เทคโนโลยีและความ เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่วนการดำเนินงานในแต่ละตำบลจะมีวิธีการจัดการที่มีลักษณะโดดเด่น แตกต่างกนไปแต่มีลักษณะรวมกัน 2 ด้านคือการรณรงค์ให้ชาวบานร่วมมือกันกนอนุรักษ์ทรัพยากรดินแหล่งน้ำและผู้นําชมชนของแต่ละชุมชนจะเป็นผู้มีบทบาทสาคัญในการจัดการลมน้ํา ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการลุ่มน้ำมีค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 41.03 ซึ่งอยู่ในระดับ ปานกลาง แต่เมื่อพิจารณาระดับการมีส่วนร่วมในแต่ละกะบวนการพบว่า ชุมชนมีส่วนร่วม ดําเนินงานมากที่สุดร้อยละ 65.33 รองลงมาคือการรับผลประโยชน์ร้อยละ 62.54 การวางแผน ร้อยละ 30.10 การติดตามประเมินผลร้อยละ 23.65 และการศึกษาชุมชนร้อยละ 23.55 สําหรับ การศึกษาเชิงคุณภาพด้านลักษณะการมีส่วนร่วมของแต่ละชุมชนพบว่าสอดคล้องกับการศึกษาเชิง ปริมาณเนื่องจากแต่ละชุมชนยังไม่มีโอกาสได้เข้าไปมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการอย่างเต็มที่ การศึกษาผลสำเร็จของการจัดการลุ่มน้ำห้วยทับทันในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษพบว่าใน ภาพรวมแล้วยังไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากการพิจารณาตวชี้วัดทั้ง 9 ด้านพบว่ามีพียง 4 ด้าน เท่านั้นที่ประสบความสำเรจคือปริมาณผลผลิตทางการเกษตรความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรในลุ่มน้ำอย่างยั่งยืนการรักษาพื้นที่ป่าในลุ่มน้ําและการลดลงของการบุก รุกที่สาธารณะ ข้อเสนอแนะต่อการจัดการลุ่มน้ำห้วยทับทันคือควรปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการ ใหม่โดยจัดให้เป็นรูปแบบของ "โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยทับทัน" โดยกำหนดให้พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทับทันเป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาและองค์กรในรูปแบบคณะกรรมการบริหารโครงการ ที่มีที่มาจากทุกภาคส่วนเพื่อให้สามารถบริหารงานพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทับทันได้อย่างบูรณาการ และเป็นเอกภาพอีกทั้งควรดำเนินการเสิรมสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยทับทันให้เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำเพื่อเป็นการยกระดับการมีส่วนร่วมของ ชุมชนให้มากขึ้นสําหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือภาครัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนในการใช้พื้นที่ ลุ่มน้ำขนาดเล็กเป็นเป้าหมายในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระจายอำนาจให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆเป็นผู้มีบทบาทหลักในการ จัดการและปรับบทบาทหน่วยงานภาครัฐอื่นๆมาเป็นผู้สนับสนุนด้านวิชาการเทคโนโลยีและงบประมาณ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2008 |
Subject(s): | การจัดการลุ่มน้ำ -- ไทย -- ลุ่มน้ำห้วยทับทัน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
การจัดการลุ่มน้ำ -- ไทย -- ศรีสะเกษ การพัฒนาลุ่มน้ำ -- ไทย -- ศรีสะเกษ ลุ่มน้ำห้วยทับทัน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 234 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1074 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|