คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Publisher
Issued Date
2008
Issued Date (B.E.)
2551
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
164 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b164276
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กนกวรรณ ชูชีพ (2008). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1122.
Title
คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้
Alternative Title(s)
Quality of work life of the civil servants in the southernmost provinces of Thailand
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการสํารวจสุ่มตัวอย่าง (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการที่ปฏิบัติงานใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยทที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทํางานของ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) เพื่อนําผลการศึกษามาใช้เป็นแนวทาง และข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการที่ปฏิบัติงานใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ วันที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัย ต่างๆ ได้แก่ปัจจัยคาตอบแทน ปัจจัยการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร ปัจจัย ความกาวหน้าในหน้าที่การงาน ปัจจัยธรรมนูญในองค์การ ปัจจัยความสมดุลระหว่างชีวิตงาน กับชีวิตด้านอิ่น ปัจจัยการบูรณาการทางสังคมหรือการทํางานร่วมกัน ปัจจัยสภาพแวดล้อมใน การทํางาน และปัจจัยความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม และส่วนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกยวก ความต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนจากภาครัฐ กลุมตัวอย่าง จังหวัด ๆ ละ 120 คน รวมทั้งสิ้น 600 คน จากประชากร คือ ข้าราชการฝ่าย พลเรือนที่ทํางานในพื้นที่เขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนิยามของรัฐบาล ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลาเฉพาะพื้นที่ (อ.เทพา อ.สะบ้าย้อย อ.นาทวี และ อ.จะนะ) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความแตกตางของร้อยละ สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้ 1. ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเห็นเกยวกบคุณภาพ ชีวิตการทํางานของตนเองในปัจจัยด้านต่าง ๆ ในระดับที่พึงพอใจ เกินร้อยละ 50 จํานวน 7 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยความสัมพันธ์กบหน่วยงานภายนอก ร้อยละ 89.3 รองลงมาคือ ปัจจัยการบูรณาการทางสังคมและการทํางานร่วมกัน ร้อยละ 83.8 ปัจจัยธรรมนูญในองค์การ ร้อยละ 78.0 ปัจจัย สภาพแวดล้อมในการทํางาน ร้อยละ 72.8 ปัจจัยความสมดุลระหวางชีวิตงานกับชีวิตด้านอื่น ร้อยละ 71.3 ปัจจัยการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร ร้อยละ 70.2 ปัจจัยความกาวหน้า ในหน้าที่การงาน ร้อยละ 58.4 ตามลําดับ และไม่พึงพอใจ จํานวน 1 ปัจจัย คือ ปัจจัยคาตอบแทน ร้อยละ 48.8 2. ความต้องการความช่วยเหลือสนับสนุนจากภาครัฐ จากการศึกษาพบว่า สิ่งที่ ข้าราชการเหล่านี้ต้องการมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ อันดับที่ 14 มีความต้องการมากที่สุด ได้แก่ ด้านสวัสดิการพิเศษเรื่องการเพิ่มเบี้ยเลี้ยงหรือเบี้ยเสี้ยงภัย รองลงมาคือ เรื่องอุปกรณ์ป้องกนภัย อันตรายจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ด้านการส่งเสริมขวัญกำลังใจเรื่องการกำหนดระยะเวลาใน การโอนย้ายให้มีความชัดเจนและปฏิบัติได้ และให้มีหน่วยงานกลางในการแจ้งเรื่องราวร้องทุกข์ เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม อันดับที่ 5 ความต้องการมาก คือการให้บุคลากรในหน่วยงานได้รับ การฝึกอบรมที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานอยางน้อยปีละครั้ง แนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการที่ ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แบ่งเป็น 2 แนวทาง คือ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ได้แก่ 1) ส่งเสริมการใช้หลักนิยมให้ข้าราชการมุ่งไปสูการมีเกียรติและศักดิศรีภายใต้หลักการ ดํารงชีวิตแบบเศรษฐกจพอเพียง ส่งเสริมการออมเพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในอนาคตอย่างมี ประสิทธิภาพ 2) มีมาตรการที่สร้างความเป็นธรรมและโปร่งใสในการพิจารณาความดีความชอบ มีหลักการประเมินใหม่ที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม 3) การประสานกันระหว่างหน่วยงานหลักใน การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนอย่างเท่าเทียมกัน 4) ให้รัฐบาลมีนโยบายที่ให้ความสําคัญกับ เรื่องคุณภาพชีวิตการทํางานอย่างจริงจัง การสร้างกลไก ติดตาม ประเมินผล และให้รางวัล ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติ ได้แก่ 1) รัฐต้องจัดสวัสดิการให้แก่ข้าราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ เป็นกรณีพิเศษ 2) รัฐต้องให้การสนับสนุนสงเสริมการศึกษา ฝึกอบรมดูงานในพื้นที่และ นอกพื้นที่ 3) รัฐต้องสามารถให้ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของราชการ เพื่อสร้าง ความอุ่นใจและศักยภาพ โดยควรสร้างความสัมพันธ์อันดีกบผู้นําชุมชนและประชาชน 4) ผู้บริหารสวนราชการควรเปลี่ยนกระบวนทัศน์การบริหารใหม่ โดยการให้คนทํางานมีชีวิตที่มี คุณภาพ คือ การมีความสุขกับทํางานและการใช้ชีวิต ตามหลัก “คนคือศูนย์กลางของการพัฒนา” 5) มีความคาดหวังให้รัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อยในพื้นที่ ชายแดนภาคใต้ได้โดยเร็ว ซึ่งจะนําความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย คุณภาพชีวิต ตลอดจนคุณภาพชีวิต การทํางานของข้าราชการในพื้นที่ที่ดีขึน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2008