Show simple item record

dc.contributor.advisorฑิตยา สุวรรณะชฎ, 2474-, อาจารย์ที่ปรึกษาth
dc.contributor.authorเจือ จันทร์เพ็ญth
dc.date.accessioned2014-05-05T09:17:29Z
dc.date.available2014-05-05T09:17:29Z
dc.date.issued1968th
dc.identifier.urihttp://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1132th
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.th
dc.description.abstractปัญหาเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเข้าเหล่าทัพต่าง ๆ ณ โรงเรียนเตรียมทหารสืบเนื่องมาจากผลของการรวมโรงเรียนเตรียมในราชการกองทัพบก เรือ อากาศ และปัจจุบันรวมการศึกษาของนักเรียนเพื่อเตรียมเข้าศึกษาในชั้นสูงของทหารและตำรวจถึง 6 เหล่า อาชีพทั้ง 6 นี้ มีลักษณะของงาน วิถีทางในการดำเนินชีวิต เกียรติภูมิ สถานะในทางสังคม เศรษฐกิจ และอำนาจต่างกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อมีการคัดเลือกเข้าเหล่าทัพต่าง ๆ แล้ว มักมีการสับเปลี่ยนเหล่าระหว่างนักเรียนอยู่เสมอ การคัดเลือกก็ไม่อาจปฏิบัติไปตามหลักการความสามารถ และหลักการบรรจุอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะความต้องการของหน่วยงานมีจำกัด ไม่ได้ส่วนสัดกับจำนวนนักเรียนที่สมัคร ฉะนั้นผู้เขียนจึงมุ่งศึกษาว่าปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ทางราชการแก้ไขอย่างไรหรือไม่ มีมาตรการในการคัดเลือกเหล่าทัพไว้อย่างไร ได้ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้โดยเคร่งครัดหรือไม่ และในการคัดเลือกเข้าเหล่าทัพนั้น ๆ ได้ฝืนความสมัครใจของนักเรียนมากน้อยเพียงใด และจะมีผลเกิดขึ้นในภายหลังอย่างไร.th
dc.description.abstractหลังจากที่ได้ทำการศึกษาตามหัวข้อดังกล่าวโดยละเอียดแล้วปรากฏว่า ภายใต้เงื่อนไขการเลือกเหล่าทัพในปัจจุบันทางราชการไม่มีทางแก้ไขปัญหาการขาดจำนวนผู้สมัครอันดับหนึ่งของกองทัพอากาศ และตำรวจน้ำได้ ทั้งนี้เนื่องจากนักเรียนมีทัศนคติเกี่ยวกับความนิยมชมชอบของเหล่าทัพต่าง ๆ อยู่ก่อนเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร อันเป็นทัศนคติที่บิดามารดามีอิทธิพลอยู่ด้วย อย่างไรก็ดีผู้เขียนได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงเกี่ยวกับความสมัครใจของนักเรียน กับความต้องการของเหล่าทัพซึ่งอาจเลือกปฏิบัติวิธีใดวิธีหนึ่งใน 2 วิธี คือ.-th
dc.description.abstract1. ให้เลิกเงื่อนไขความสมัครใจโดยสิ้นเชิง คือ ให้แจกจ่ายนักเรียนแก่เหล่าทัพต่าง ๆ โดยยึดถือความเหมาะสมของทางราชการเป็นหลักth
dc.description.abstract2. ยังไม่เลิกเงื่อนไขความสมัครใจโดยสิ้นเชิง แต่ยังไม่ให้นักเรียนระบุความนิยมชมชอบในตอนรับสมัคร ปล่อยให้นักเรียนอยู่ร่วมกันระยะหนึ่ง แล้วจึงให้เลือกเหล่าทัพต่าง ๆ อาจให้มีการทดสอบความสามารถพิเศษของนักเรียนว่าเหมาะสมจะอยู่เหล่าทัพใด นอกจากนี้ผู้เขียนเสนอให้ปรับปรุงการศึกษาให้สมบูรณ์โดยกำหนดวัตถุประสงค์และวิธีการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ในด้านการศึกษาอย่างชัดแจ้ง และเปิดเผยเหล่าทัพที่เกี่ยวข้องให้ทราบโดยละเอียด เพราะจะช่วยให้นักเรียนใช้วิจารณญานในการเลือกเหล่าทัพได้ถูกต้อง วิธีการรับสมัครและสิทธิพิเศษ ตลอดจนระบบการบริหารของโรงเรียนก็ควรจะได้รับการปรับปรุงแก้ไขในด้านการเพิ่มคะแนนพิเศษ หลักเกณฑ์ที่ใช้เพิ่มคะแนนในด้านกิจกรรมนอกหลักสูตร และในด้านการส่งเสริมความสามัคคีของนักเรียน.th
dc.description.provenanceMade available in DSpace on 2014-05-05T09:17:29Z (GMT). No. of bitstreams: 2 nida-ths-b10737.pdf: 4404787 bytes, checksum: 7393502ca6e8a3c50c2018453fee3dff (MD5) nida-ths-b10737ab.pdf: 188522 bytes, checksum: e285aaf2186ecf670ef2a7b04fd63f76 (MD5) Previous issue date: 1968th
dc.format.extent206 หน้า.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
dc.rightsผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)th
dc.subject.lccU 660 .T3 จ6111th
dc.subject.otherนักเรียนเตรียมทหารth
dc.titleทัศนคติของนักเรียนเตรียมทหารในการเลือกเหล่าทัพth
dc.typeTextth
mods.genreวิทยานิพนธ์th
mods.physicalLocationสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนาth
thesis.degree.nameพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตth
thesis.degree.levelปริญญาโทth
thesis.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์th
thesis.degree.grantorสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์th
thesis.degree.departmentคณะรัฐประศาสนศาสตร์th


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record