• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะรัฐประศาสนศาสตร์
  • GSPA: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ปัญหาการบริหารงานส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อมในประเทศไทย

by ศิริ ผาสุก

Title:

ปัญหาการบริหารงานส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อมในประเทศไทย

Author(s):

ศิริ ผาสุก

Advisor:

ไพเราะ ไพรอนันต์, อาจารย์ที่ปรึกษา

Degree name:

พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

ปริญญาโท

Degree discipline:

รัฐประศาสนศาสตร์

Degree department:

คณะรัฐประศาสนศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

1968

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

เป็นการศึกษาการบริหารงานอุตสาหกรรมขนาดย่อมของรัฐ เฉพาะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมอุตสาหกรรม ทั้งในรูปที่เป็นตัวบทกฎหมายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ศึกษาการบริหารงานตามแผนทั้งในรูปคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และศึกษาการบริหารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งมีหน้าที่โดยตรงต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อมเท่านั้น ส่วนปัญหาการบริหารอื่น ๆ ผู้เขียนมิได้นำมากล่าวถึง.
จากผลการศึกษาปรากฏว่า เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศเป็นเกษตรกรรมทำให้อุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากผลิตผลเกษตรเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก อุตสาหกรรมเหล่านี้แทบทั้งหมดเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อมซึ่งมักประสบปัญหาต่าง ๆ ทั้งด้านตลาด เงินทุน และเทคนิค ฯลฯ ทำให้ต้นทุนสูง รัฐจึงจำเป็นต้องให้การช่วยเหลือส่งเสริม แต่ในการบริหารงานส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อมของรัฐก็มีอุปสรรคและปัญหาหลายประการ คือ.-
1. ปัญหาเกี่ยวกับนโยบาย ปัญหานี้เกิดขึ้นเนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติได้แสดงความมุ่งหมายส่งเสริม โดยการช่วยเหลือทางวิชาการ การเงิน ตลาดและอื่น ๆ โดยมีพระราชบัญญัติให้สิทธิพิเศษแก่อุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในด้านการยกเว้นภาษีเงินได้และลดภาษีการนำวัตถุดิบและเครื่องจักรเข้า ส่วนอุตสาหกรรมขนาดย่อมซึ่งเกิดขึ้นเองและมีขนาดต่ำกว่าที่ระบุไว้ไม่ได้รับการยกเว้นเลย นอกจากนี้การกู้เงินต้องมีอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันทำให้อุตสาหกรรมขนาดย่อมจำนวนมากไม่สามารถกู้ยืมได้ สมควรที่รัฐบาลจะได้ยกเว้นภาษีอากร และหาทางช่วยในด้านการเงินแก่อุตสาหกรรมประเภทนี้ด้วย ควรจะได้มีการสำรวจวิจัยทางอุตสาหกรรม ทั้งในด้านวัตถุดิบ ทางเกษตรกรรม ทางตลาดและอุปสรรคในการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรม ตลอดทั้งการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านนโยบายอื่น ๆ ซึ่งผู้เขียนได้เสนอแนะไว้อย่างละเอียดในวิทยานิพนธ์
2. การบริหารงานในรูปคณะกรรมการ เนื่องจากงานส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อมเกี่ยวข้องกับทุกส่วนราชการ การบริหารงานจึงจำเป็นต้องจัดทำในรูปของคณะกรรมการ เพื่อให้มีการประสานงานกันอย่างดี แต่มีคณะกรรมการพิเศษเฉพาะกรณีหลายคณะกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้ทำงานซ้ำกันอยู่มาก ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเวลา ควรยุบเพื่อรวมกันเป็นคณะกรรมการเดียวและควรให้มีผู้แทนของสมาคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ร่วมเป็นกรรมการด้วย.
3. การแบ่งส่วนราชการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมยังไม่เหมาะสม ควรจะได้มีการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการเสียใหม่ เพื่อให้สามารถดำเนินงานโดยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งผู้เขียนก็ได้เสนอแนะรายละเอียดเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการไว้ในวิทยานิพนธ์นี้แล้ว.

Description:

วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2511.

Subject(s):

ธุรกิจขนาดย่อม -- ไทย
การส่งเสริมอุตสาหกรรม -- ไทย -- การบริหาร
อุตสาหกรรม -- ไทย

Keyword(s):

อุตสาหกรรม
การบริหาร
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม -- การจัดส่วนราชการ
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

168 หน้า.

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1159
Show full item record

Files in this item (EXCERPT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b7690ab.pdf ( 85.18 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • nida-ths-b7690.pdf ( 4,026.03 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSPA: Theses [297]

Related items

Showing items related by title, author, creator and subject.

  • Thumbnail

    การปรับตัวของสตรีชนบทที่เข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม : ศึกษาเฉพาะกรณีแรงงานสตรีในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เขตสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

    ภารดี นามวงศ์; สุรสิทธิ์ วชิรขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1996)

    งานวิจัยนี้ มุ่งศึกษา 1) ระดับการปรับตัวของสตรีชนบท ที่เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม โดยจำแนกการปรับตัวออกเป็น ด้านสรีระวิทยา/ร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์/ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านความสัมพันธ์พึ่งพาระหว่างกัน 2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยภายใน ของสตรีชนบทที่เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ฐานะทางเศรษฐกิจ ภาระทางครอบครัว ประสบการณ์การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม และความทันสมัยที่มีผลต่อระดับการปรับตัวของสตรีชนบท 3) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยภายนอกของสตรีชนบทที่เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย ...
  • Thumbnail

    การปรับตัวของแรงงานในอุตสาหกรรมสิ่งทอจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี : ศึกษาเฉพาะกรณีอุตสาหกรรมปั่นด้าย-ทอผ้า และอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 

    พนิดา สุจริตกุลธร; วิชัย รูปขำดี, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1995)
  • Thumbnail

    บทบาทของรัฐบาลในการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อม : ศึกษาเฉพาะกรณีการบริหารงานตามโครงการเงินกู้เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อม 

    เสถียร ลำสมุทร; สุระ สนิทธานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1968)

    ส่วนใหญ่ของวิทยานิพนธ์ เป็นการศึกษางานในหน้าที่ของสำนักงานเงินกู้เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารกรุงไทยจำกัด และกระทรวงการคลัง เนื่องจากการบริหารงานตามโครงการเงินกู้นี้ หน่วยราชการและหน่วยงานดังกล่าวมีหน้าที่ร่วมกัน และประสานงานปฏิบัติหน้าที่โดยมีคณะกรรมการพิจารณาเงินกู้เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อม แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาดการให้เงินกู้ ออกระเบียบกฎเกณฑ์ และมีอำนาจกำหนดประเภทอุตสาหกรรม อยู่นอกหรือในวงที่ต้องการช่วยเหลือ

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×