อิทธิพลของการอ่านและเขียนชักจูงที่มีต่อการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Publisher
Issued Date
2012
Issued Date (B.E.)
2555
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
277 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b179782
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ณัฐวดี ปัญญาสกุลวงศ์ (2012). อิทธิพลของการอ่านและเขียนชักจูงที่มีต่อการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1199.
Title
อิทธิพลของการอ่านและเขียนชักจูงที่มีต่อการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Alternative Title(s)
Effects of persuasive message and persuasive writing on nuclear power plant acceptance in Thai University students
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยเรื่องอิทธิพลของการอ่านและเขียนชักจูงที่มีต่อการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Study) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึง อิทธิพลของสารชักจูงที่มีต่อปริมาณการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รวมถึงสาเหตุสมทบด้านจิต ลักษณะเดิมและสถานการณ์ของการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และ อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของสารชักจูง สถานการณ์และจิตลักษณะที่มีต่อการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และความเห็นด้วยในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัย Post Test Only With Control Group Design ทําการสุ่มโดยไม่ ลําเอียง (Random Assignment) ในนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 และ 3 ของมหาวิทยาลัย 2 แห่ง จํานวนรวม 491 คน แบ่งเป็นเพศชาย 138 คน (ร้อยละ 28.1) และเพศหญิง 353 คน (ร้อยละ 71.9) มีเกรดเฉลี่ย 2.76 สาขาวิทยาศาสตร์ 215 คน (ร้อยละ 43.8) และสาขาสังคมศาสตร์ 276 คน (ร้อยละ 56.2) โดยสุ่มแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มนักศึกษาที่ได้อ่านสารชักจูงด้านนิวเคลียร์และเขียน สารชักจูงด้านนิวเคลียร์ (n = 135) 2) กลุ่มนักศึกษาที่ได้อ่านสารควบคุมแต่ได้เขียนสารชักจูงด้านนิวเคลียร์ (n = 119) 3) กลุ่มนักศึกษาที่ได้อ่านสารชักจูงด้านนิวเคลียร์แต่ เขียนสารควบคุม (n = 117) และ 4) กลุ่มนักศึกษาที่ได้อ่านสารควบคุมและเขียนสารควบคุม (n = 120) หลังการจัดกระทำแล้ว ให้ตอบแบบวัดตรวจสอบการจัดกระทำและตอบคำถามในแต่ละตัวแปรกลุ่มตวแปรในการวิจัยนี้ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตัวแปรจัดกระทำสาเหตุ คือ การอ่านสารชักจูงและการได้เขียนชักจูง 2) กลุ่มตัวแปรตาม คือ ทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ความพร้อมที่จะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และ ความเห็นด้วยในการให้ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใน สถานที่ต่างๆ 5 แหล่งคือ ประเทศ จังหวัดที่เรียน จังหวัดภูมิลําเนาเดิม อําเภอภูมิลําเนาเดิม และหมู่บ้านภูมิลําเนาเดิม 3)กลุ่มจิตลักษณะเดิม คือลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ความเชื่ออำนาจในต้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธ์ิการรับรู้คุณความดีแผ่นดิน และความกลัวนิวเคลียร์ 4) กลุ่มสถานการณ์คือการ รับรู้ปทัสถานทางสังคมด้านนิวเคลียร์การเปิดรับข่าวสารด้านนิวเคลียร์และความไว้วางใจรัฐและ 5) กลุ่มตัวแปรลักษณะชีวสังคมภูมิหลัง ผลการวิจัยที่สําคัญมีดังนี้ ประการแรก พบผลดีของการอ่านสารชักจูงในทั้ง 7 ตัวแปรตาม โดยพบว่า นักศึกษาที่ได้อ่านสารชักจูงหรือได้เขียนสารชักจูง มีการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มากกว่าและมีความเห็นด้วยในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใน 5 สถานที่ มากกว่า นักศึกษาที่ไม่ได้ อ่านสารชักจูงหรือไม่ได้เขียนสารชักจูง ประการที่ สอง ปัจจัยด้านจิตลักษณะเดิมร่วมกับด้านสถานการณ์รวมเป็น 8 ตัวแปรสามารถ ทํานายทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ 47.6% ซึ่งตัวทำนายที่สําคัญประกอบไปด้วยการรับรู้ ปทัสถานทางสังคมด้านนิวเคลียร์ความกลัวนิวเคลียร์ ความไว้วางใจรัฐ และการรับรู้คุณความดี แผ่นดิน และสามารถทำนายความพร้อมที่จะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในกลุ่มรวมได้ 47.5% ซึ่งตัว ทํานายที่สําคญประกอบไปด้วยการรับรู้ปทัสถานทางสังคมด้านนิวเคลียร์ความกลัวนิวเคลียร์ ความไว้วางใจรัฐและการรับรู้คุณความดีแผ่นดิน นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงเส้น พบว่า 1) ทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุ โดยเรียงลำดับอิทธิพลที่มากไปหาน้อย ได้แก่ ปทัสถานทางสังคมดานนิวเคลียร์ความกลัวนิวเคลียร์ การอ่านสารชักจูงการรับรู้คุณความดีแผ่นดิน ความ ไว้วางใจรัฐ การเปิดรับข่าวสารด้านนิวเคลียร์และการเขียนชกจูงและ 2) ความพร้อมที่จะมีโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ได้รับอิทธิพลทางตรงจากตัวแปรเชิงเหตุ โดยเรียงลำดับอิทธิพลที่มากไปหาน้อยได้แก่ ปทัสถานทางสังคมด้านนิวเคลียร์ การอ่านสารชักจูงและความไว้วางใจรัฐ สําหรับขอเสนอแนะในการพัฒนา จะเห็นได้ว่า สารชักจูงในงานวิจัยนี้มีประสิทธิผลใน การเปลี่ยนทัศนคติและความพร้อมที่จะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ดังน้ันหน่วยงานที่ต้องการสร้าง ความรู้ความเข้าใจทางด้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แก่นักศึกษาปริญญาตรีสามารถใช้สารชักจูงนี้ซึ่งมี ความยาวไม่มากจึงใช้เวลาอ่านไม่นานในการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายประกอบกับกิจกรรอื่นๆ ได้และควรส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ปทัสถานทางสังคมด้านนิวเคลียร์ให้แก่นักศึกษามากยิ่งขึ้น สําหรับการวิจัยในอนาคต ควรพัฒนาสารชักจูงต่อไปโดยการทำวิจัยเพิ่มเติม เพื่อสร้างสารชักจูงที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2555