การเฝ้าระวังทางโภชนาการ : ศึกษากรณีการให้แม่เป็นผู้วัดสัดส่วนของบุตร
Publisher
Issued Date
1993
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
11, 118 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กลาง ศรีทองกุล (1993). การเฝ้าระวังทางโภชนาการ : ศึกษากรณีการให้แม่เป็นผู้วัดสัดส่วนของบุตร. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1728.
Title
การเฝ้าระวังทางโภชนาการ : ศึกษากรณีการให้แม่เป็นผู้วัดสัดส่วนของบุตร
Alternative Title(s)
Nutrition surveillance : a case study of anthropometric measurement by mothers of children
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การดำเนินงานเฝ้าระวังทางโภชนาการ โดยแม่เป็นผู้วัดร่างกายบุตรอายุ0-5 ปี ด้วยตนเอง เป็นรูปแบบการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐาน โดยแม่มีส่วนร่วมในงานโภชนาการ จำนวนแม่ที่ดำเนินการ 174 คน มีวิธีดำเนินการโดยการอบรมแม่ให้มีความรู้อย่างดี เรื่องการเลี้ยงดูบุตรและการเฝ้าระวังทางโภชนาการเป็นเวลา 3 วัน ทำการอบรมที่โรงเรียนในหมู่บ้าน และที่บ้านของกรรมการหมู่บ้านฝ่ายสาธารณสุข ให้แม่รู้จักใช้เครื่องมือในการเฝ้าระวัง และตลอดระยะเวลาดำเนินงาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะวางแผนออกติดตามแม่ แนะนำในการปฏิบัติให้เกิดความถูกต้องและเป็นไปตามที่กำหนด คือ การวัดร่างกายลูก จะวัดส่วนสูง วัดรอบแขนซ้าย และรอบอก ต้องอาศัยความละเอียดและถูกต้องในการอ่านสเกล การมีความชำนาญในการใช้เครื่องมือคาดคะเนสัดส่วนร่างกายเป็นน้ำหนัก การคำนวณอายุของลูก และการบันทึกน้ำหนักลงบัตรบันทึกและอ่านผลภาวะทางโภชนาการ.
ผลการดำเนินการศึกษาทดลอง จากการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติด้วยวิธีไคสแควร์ ปรากฏว่าอัตราส่วนของแม่ที่มีความรู้เรื่องการเฝ้าระวังทางโภชนาการสามารถบอกความหมายของการชั่งน้ำหนัก (หรือการวัดสัดส่วนของร่างกาย) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเช่นเดียวกันอัตราส่วนของแม่ที่สามารถวัดสัดส่วนร่างกายของลูกและลงบัตรบันทึกการเจริญเติบโต พบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 และแม่สามารถอ่านแปรผลสภาวะโภชนาการของบุตรจากบัตรบันทึกการเจริญเติบโตได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้แสดงว่าแม่สามารถใช้เครื่องมือคะเนน้ำหนักของลูกจากผลการวัดร่างกาย นอกจากนี้ผลกระทบที่ออกมามีแนวโน้มที่จะลดอัตราการขาดสารอาหารระดับ 1-2-3 ให้น้อยลงได้ด้วย.
ในการศึกษาทดลองครั้งนี้ เป็นผลดีในการปฏิบัติงานสาธารณสุข ในแง่ที่ว่าเป็นการกระจายความครอบคลุมเด็กในการเฝ้าระวังทางโภชนาการที่สำคัญ แม่จะได้รับความรู้ในเรื่องโภชนาการ การเลี้ยงลูกถูกต้อง มีแนวโน้มทำให้สภาวะการขาดสารอาหารลดลง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่จะได้มีเวลาปฏิบัติงานอื่นได้มากขึ้น แทนที่จะมาชั่งน้ำหนักเด็ก
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยจะเป็นผู้ออกเยี่ยมแนะนำเป็นประจำ นอกจากจะได้ผลทางเฝ้าระวังโภชนาการแล้ว ยังสามารถแนะนำด้านภูมิคุ้มกันโรคของเด็ก การดูแลด้านสาธารณสุขอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย.
ผลการดำเนินการศึกษาทดลอง จากการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติด้วยวิธีไคสแควร์ ปรากฏว่าอัตราส่วนของแม่ที่มีความรู้เรื่องการเฝ้าระวังทางโภชนาการสามารถบอกความหมายของการชั่งน้ำหนัก (หรือการวัดสัดส่วนของร่างกาย) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเช่นเดียวกันอัตราส่วนของแม่ที่สามารถวัดสัดส่วนร่างกายของลูกและลงบัตรบันทึกการเจริญเติบโต พบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.001 และแม่สามารถอ่านแปรผลสภาวะโภชนาการของบุตรจากบัตรบันทึกการเจริญเติบโตได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้แสดงว่าแม่สามารถใช้เครื่องมือคะเนน้ำหนักของลูกจากผลการวัดร่างกาย นอกจากนี้ผลกระทบที่ออกมามีแนวโน้มที่จะลดอัตราการขาดสารอาหารระดับ 1-2-3 ให้น้อยลงได้ด้วย.
ในการศึกษาทดลองครั้งนี้ เป็นผลดีในการปฏิบัติงานสาธารณสุข ในแง่ที่ว่าเป็นการกระจายความครอบคลุมเด็กในการเฝ้าระวังทางโภชนาการที่สำคัญ แม่จะได้รับความรู้ในเรื่องโภชนาการ การเลี้ยงลูกถูกต้อง มีแนวโน้มทำให้สภาวะการขาดสารอาหารลดลง นอกจากนี้เจ้าหน้าที่จะได้มีเวลาปฏิบัติงานอื่นได้มากขึ้น แทนที่จะมาชั่งน้ำหนักเด็ก
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยจะเป็นผู้ออกเยี่ยมแนะนำเป็นประจำ นอกจากจะได้ผลทางเฝ้าระวังโภชนาการแล้ว ยังสามารถแนะนำด้านภูมิคุ้มกันโรคของเด็ก การดูแลด้านสาธารณสุขอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม.(พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2536.