ความแปลกแยกของคนในชุมชนแออัดกับการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน : ศึกษากรณีชุมชนวังโสม กรุงเทพมหานคร
Publisher
Issued Date
1994
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[12], 168 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุกัญญา ถมยา (1994). ความแปลกแยกของคนในชุมชนแออัดกับการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน : ศึกษากรณีชุมชนวังโสม กรุงเทพมหานคร. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1761.
Title
ความแปลกแยกของคนในชุมชนแออัดกับการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน : ศึกษากรณีชุมชนวังโสม กรุงเทพมหานคร
Alternative Title(s)
Alienation of people in crowded communities participated in community's activities : a case study of Wangsoam community in Bangkok
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาระดับความแปลกแยกของคนในชุมชนแออัด และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ 4 ด้านของความแปลกแยก คือ ความรู้สึกไร้อำนาจ ความรู้สึกไร้ความหมาย ความรู้สึกไร้บรรทัดฐาน ความรู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคม รวมทั้งตัวแปรอื่น ๆ คือทัศนคติมุ่งรักษาวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ของชุมชน ทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมา บทบาทของคนใกล้ชิดในการเข้าร่วมกิจกรรม และการติดต่อสื่อสารภายในชุมชน กับตัวแปรตามได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมการรักษาความสะอาดและกิจกรรมการกุศลประจำปี ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่าง ๆ ของความแปลกแยกกับการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน เมื่อควบคุมตัวแปรอิสระอื่น ๆ.
การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ในชุมชนวังโสมที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีการคัดเลือกตัวแปรอิสระแบบ Forward Selection และ Enter โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS PC.
ผลการศึกษาพบว่า.
1. คนในชุมชนวังโสมส่วนใหญ่ประมาณ 98 มีความแปลกแยกอยู่ในระดับกลางส่วนที่เหลือมีความแปลกแยกอยู่ในระดับต่ำ.
2. ความรู้สึกไร้ความหมายเป็นมิติเดียวของความแปลกแยกที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการเข้าร่วมกิจกรรในชุมชน โดยสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของการเข้าร่วมกิจกรรมการักษาความสะอาดชุมชนได้ร้อยละ 5.67 และการเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลประจำปีได้ร้อยละ 7.14 นอกจากนี้พบว่า บทบาทของคนใกล้ชิดในการเข้าร่วมกิจกรรม และการติดต่อสื่อสารภายในชุมชน มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมการรักษาความสะอาดชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ร้อยละ 13.58 และ 3.29 ตามลำดับ ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลประจำปี คือ บทบาทของคนใกล้ชิดในการเข้าร่วมกิจกรรม ทัศนคติมุ่งรักษาวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ของชุมชน และการติดต่อสื่อสารภายในชุมชน ซึ่งสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวได้ร้อยละ 11.47, 9.90 และ 3.92 ตามลำดับ.
3. เมื่อควบคุมตัวแปรอิสระทีละตัวพบว่า ความรู้สึกไร้ความหมายเป็นเพียงมิติเดียวที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมการรักษาความสะอาดในชุมชน และกิจกรรมการกุศลประจำปี ส่วนความรู้สึกไร้บรรทัดฐานมีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลประจำปีเมื่อควบคุมตัวแปรทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมา และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่าง ๆ ของความแปลกแยกกับการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนทั้ง 2 กิจกรรม โดยควบคุมตัวแปรอิสระอื่น ๆ ทั้ง 4 ตัว พบว่า ความรู้สึกไร้ความหมายเป็นตัวแปรเพียงมิติเดียวที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมการรักษาความสะอาดชุมชนโดยอธิบายค่าความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.26 และมีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลประจำปี โดยอธิบายค่าความแปรปรวนได้ร้อยละ 8.32.
4. ความแปลกแยกรวมทุกมิติไม่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนทั้งสองกิจกรรม
โดยสรุปจะเห็นได้ว่า ตัวแปรอิสระที่สำคัญลำดับแรกในการอธิบายตัวแปรตามการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนทั้งสองกิจกรรม ได้แก่ บทบาทของคนใกล้ชิดในการเข้าร่วมกิจกรรม รองลงมาคือการติดต่อสื่อสารภายในชุมชน ส่วนความรู้สึกไร้ความหมายเป็นมิติเดียวของความแปลกแยกที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนได้
การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ในชุมชนวังโสมที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ด้วยวิธีการคัดเลือกตัวแปรอิสระแบบ Forward Selection และ Enter โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS PC.
ผลการศึกษาพบว่า.
1. คนในชุมชนวังโสมส่วนใหญ่ประมาณ 98 มีความแปลกแยกอยู่ในระดับกลางส่วนที่เหลือมีความแปลกแยกอยู่ในระดับต่ำ.
2. ความรู้สึกไร้ความหมายเป็นมิติเดียวของความแปลกแยกที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการเข้าร่วมกิจกรรในชุมชน โดยสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของการเข้าร่วมกิจกรรมการักษาความสะอาดชุมชนได้ร้อยละ 5.67 และการเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลประจำปีได้ร้อยละ 7.14 นอกจากนี้พบว่า บทบาทของคนใกล้ชิดในการเข้าร่วมกิจกรรม และการติดต่อสื่อสารภายในชุมชน มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมการรักษาความสะอาดชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ร้อยละ 13.58 และ 3.29 ตามลำดับ ส่วนตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลประจำปี คือ บทบาทของคนใกล้ชิดในการเข้าร่วมกิจกรรม ทัศนคติมุ่งรักษาวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ของชุมชน และการติดต่อสื่อสารภายในชุมชน ซึ่งสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนของการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวได้ร้อยละ 11.47, 9.90 และ 3.92 ตามลำดับ.
3. เมื่อควบคุมตัวแปรอิสระทีละตัวพบว่า ความรู้สึกไร้ความหมายเป็นเพียงมิติเดียวที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมการรักษาความสะอาดในชุมชน และกิจกรรมการกุศลประจำปี ส่วนความรู้สึกไร้บรรทัดฐานมีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลประจำปีเมื่อควบคุมตัวแปรทัศนคติเกี่ยวกับกิจกรรมในชุมชนที่ผ่านมา และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่าง ๆ ของความแปลกแยกกับการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนทั้ง 2 กิจกรรม โดยควบคุมตัวแปรอิสระอื่น ๆ ทั้ง 4 ตัว พบว่า ความรู้สึกไร้ความหมายเป็นตัวแปรเพียงมิติเดียวที่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมการรักษาความสะอาดชุมชนโดยอธิบายค่าความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.26 และมีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมการกุศลประจำปี โดยอธิบายค่าความแปรปรวนได้ร้อยละ 8.32.
4. ความแปลกแยกรวมทุกมิติไม่มีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนทั้งสองกิจกรรม
โดยสรุปจะเห็นได้ว่า ตัวแปรอิสระที่สำคัญลำดับแรกในการอธิบายตัวแปรตามการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนทั้งสองกิจกรรม ได้แก่ บทบาทของคนใกล้ชิดในการเข้าร่วมกิจกรรม รองลงมาคือการติดต่อสื่อสารภายในชุมชน ส่วนความรู้สึกไร้ความหมายเป็นมิติเดียวของความแปลกแยกที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนได้
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2537.